คลินิกรักษาสิว โดยแพทย์โรคผิวหนังโดยเฉพาะ
รู้สาเหตุ ผิวแพ้ง่าย คืออะไร อาการเป็นอย่างไร ดูแลรักษาอย่างไรให้ผิวแข็งแร็ง
ผิวแพ้ง่าย เป็นปัญหาที่พบบ่อยและเกิดขึ้นกับหลาย ๆ คน โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยมลภาวะและสารเคมีที่อาจทำให้เกิดการระคายเคือง โดยผู้ที่มีผิวแพ้ง่ายมักมีความไวต่อสิ่งกระตุ้น เช่น ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ไม่เหมาะสม สภาพแวดล้อม รวมไปถึงความเครียด
เรามาทำความเข้าใจกันดีกว่าว่าผิวแพ้ง่ายคืออะไร มีอาการและสาเหตุอย่างไร การดูแลและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับคนที่มีผิวแพ้ง่ายนั้นต้องเลือกอย่างไรสามารถติดตามได้ในบทความนี้ครับ
ทำความรู้จัก ผิวแพ้ง่าย คืออะไร
ผิวแพ้ง่าย (Sensitive Skin) คือ ผิวที่มีความไวต่อสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ มากกว่าปกติ เช่น มลภาวะ ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว หรือการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ส่งผลให้ผิวเกิดการระคายเคืองได้ง่าย สาเหตุหลักเกิดจากเกราะป้องกันผิว (Skin Barrier) ที่อ่อนแอ โดยผู้ผิวแพ้ง่ายมักจะมีการตอบสนองต่อปัจจัยภายนอกหรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อคนทั่วไป
อาการของผิวแพ้ง่าย เป็นอย่างไร?
ผิวแพ้ง่าย ดูยังไง ? การสังเกตอาการเป็นสิ่งสำคัญ เพราะผิวแพ้ง่ายสามารถแสดงออกมาได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งอาการที่พบบ่อย ได้แก่
- ผิวแดง ระคายเคืองง่าย มีอาการเมื่อสัมผัสกับผลิตภัณฑ์บางชนิด หรือหลังล้างหน้าด้วยน้ำอุ่นผิวจะแดงขึ้น รู้สึกแสบร้อน
- ผิวแห้งลอกเป็นขุยจากการสูญเสียความชุ่มชื้นและน้ำมันธรรมชาติของผิว
- คัน แสบผิวมักเกิดหลังใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีรุนแรง น้ำหอม หรือแอลกอฮอล์
- ผื่น สิวมีผื่นหรือสิวขึ้นจากการตอบสนองต่อสารกระตุ้น เช่น ฝุ่นหรือสารเคมี
- ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมมีอาการแดงแสบคันเมื่อเจอกับอากาศร้อนจัด เย็นจัด หรือแห้งเกินไป
สาเหตุผิวแพ้ง่าย เกิดจากอะไรบ้าง
ผิวแพ้ง่ายนั้นสามารถเกิดได้จากหลากหลายปัจจัย สามารถแบ่งออกเป็นปัจจัยภายใน เช่น กรรมพันธุ์ ระบบภูมิคุ้มกัน หรือโรคผิวหนังบางชนิด และปัจจัยภายนอกที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมและการดูแลผิวที่ไม่เหมาะสม การรู้จักสาเหตุจะช่วยให้เราสามารถดูแลผิวให้สุขภาพดีขึ้นได้
ปัจจัยภายในที่ทำให้เกิดผิวแพ้ง่าย
- กรรมพันธุ์
ลักษณะผิวที่แพ้ง่ายอาจสามารถถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีปัญหาผิวแพ้ง่ายนั้นโอกาสที่จะมีผิวในลักษณะเดียวกันจะสูงขึ้น - ระบบภูมิคุ้มกันที่ไวเกินไป
การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อสารกระตุ้นบางชนิด เช่น สารเคมีหรือฝุ่นละออง อาจรุนแรงเกินไป ส่งผลให้ผิวระคายเคืองได้ง่าย - ผิวหนังแห้ง
การที่ผิวขาดน้ำมันธรรมชาติและสูญเสียความชุ่มชื้น อาจทำให้ผิวอ่อนแอและไวต่อการระคายเคือง - โรคผิวหนังบางชนิด
โรคผิวหนัง เช่น โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis)
ปัจจัยภายนอกที่ทำให้เกิดผิวแพ้ง่าย
- สภาพอากาศและมลภาวะ
การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ความชื้น หรือการสัมผัสกับมลพิษ เช่น ฝุ่นละออง ควันรถ อาจกระตุ้นให้ผิวเกิดการระคายเคือง - การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสม
ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีรุนแรง เช่น น้ำหอม แอลกอฮอล์ มีสารหลายชนิด หรือสารกันเสีย สามารถทำให้ผิวระคายเคืองได้ - การล้างหน้าหรืออาบน้ำบ่อยเกินไป
การล้างหน้าหรืออาบน้ำบ่อยเกินไป หรือการใช้น้ำอุณหภูมิสูง อาจทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้นและน้ำมันตามธรรมชาติ - UV จากแสงแดด
การสัมผัสแสงแดดโดยไม่มีการป้องกัน อาจทำลายเกราะป้องกันผิวและกระตุ้นให้เกิดการระคายเคือง - ผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน
เช่น สารเคมีในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด หรือเครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐาน เป็นปัจจัยที่สามารถกระตุ้นให้ผิวอักเสบได้
หากเป็นผิวแพ้ง่าย ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อะไรดี
สำหรับคนที่ผิวบอบบางแพ้ง่าย ใช้อะไรดี? หมอแนะนำให้เลือกผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อ เสริมเกาะป้องกันผิว และช่วยให้ผิวกลับมาแข็งแรง พร้อมลดความเสี่ยงของการระคายเคืองเนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในทุกวันสามารถส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพผิวในระยะยาวได้ ซึ่งแพทย์ได้แนะนำผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับปัญหาผิวแพ้ง่ายไว้ดังนี้
- คลีนซิ่งผิวแพ้ง่าย: ใช้คลีนซิ่งสูตรอ่อนโยนที่ไม่มีแอลกอฮอล์และน้ำหอม
- โฟมล้างหน้าสำหรับผิวแพ้ง่าย: ควรเลือกโฟมล้างหน้าสูตรปราศจากน้ำหอม แอลกอฮอล์ และสารระคายเคือง เช่น SLS (Sodium Lauryl Sulfate) เน้นใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า pH ใกล้เคียงกับผิว (pH 5.5) เพื่อคงความสมดุลของเกราะป้องกันผิว
- โทนเนอร์ผิวแพ้ง่าย: ใช้โทนเนอร์ที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และน้ำหอม เพื่อเตรียมผิวสำหรับการบำรุงเลือกสูตรที่ช่วยเสริมความชุ่มชื้นและลดการระคายเคือง เช่น กรดไฮยาลูรอนิก (Hyaluronic Acid)
- เซรั่มผิวแพ้ง่าย: เลือกเซรั่มที่มีส่วนผสมของสารลดการอักเสบ เช่น ไนอาซินาไมด์ (Niacinamide) หลีกเลี่ยงเซรั่มที่มีกรดเข้มข้น เช่น AHA/BHA
- มอยเจอร์ไรเซอร์ผิวแพ้ง่าย: มอยเจอร์ไรเซอร์ที่เหมาะกับผิวแพ้ง่ายควรมีส่วนผสมที่ช่วยปลอบประโลมผิว เช่น เซราไมด์ (Ceramide) และ แพนทีนอล (Panthenol) หลีกเลี่ยงสูตรที่มีน้ำหอม สารระคายเคือง หรือมีส่วนผสมของสารหลายชนิด
- กันแดดผิวแพ้ง่าย: เลือกกันแดดที่เนื้อบางเบาและควรเป็น Physical Sunscreen ซึ่งก่อให้เกิดการระคายเคืองต่ำ หลีกเลี่ยงสูตรที่มีน้ำหอมและสารเคมีป้องกันแดด Chemical Sunscreen
แนวทางการดูแลรักษาตัวเองสำหรับคนผิวแพ้ง่าย ให้ผิวแข็งแรง
ผิวแพ้ง่ายนั้นต้องมีการดูแลอย่างอ่อนโยนและใส่ใจเป็นพิเศษ เพื่อการมีสุขภาพผิวที่แข็งแรง และลดความถี่และโอกาสที่จะเกิดการระคายเคือง
- ล้างหน้าให้ถูกวิธี
ใช้ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่เหมาะสำหรับผิวแพ้ง่าย ปราศจากน้ำหอม หรือมีสารผลัดเซลล์ผิว ล้างหน้าเพียงวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น โดยใช้น้ำอุณหภูมิห้อง เพื่อรักษาความชุ่มชื้นไม่แห้งเกินไป เลือกผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่อ่อนโยนสำหรับผิวแพ้ง่าย - ใช้มอยเจอร์ไรเซอร์
เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและเสริมเกราะป้องกันผิวให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหอม แอลกอฮอล์ หรือสารกันเสีย - ปกป้องผิวจากแสงแดด
ใช้ครีมกันแดดสำหรับผิวแพ้ง่ายที่มีค่า SPF 50 PA+++ สวมหมวกปีกกว้าง และพกร่มเมื่อออกนอกบ้าน - ดื่มน้ำให้เพียงพอ
เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวจากภายใน ใช้เครื่องเพิ่มความชื้นในห้องหากต้องอยู่ในห้องแอร์เป็นเวลานาน ๆ - ลดการสัมผัสกับปัจจัยระคายเคือง
หลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีฝุ่น ควัน หรือมลภาวะสูง ใช้ถุงมือป้องกันเมื่อสัมผัสกับสารเคมีหรือสารทำความสะอาด - ทดสอบผลิตภัณฑ์ใหม่ก่อนใช้งาน
ทดสอบผลิตภัณฑ์โดยการทาลงบนผิวบริเวณท้องแขน จากนั้นสังเกตอาการ 24-48 ชั่วโมง - งดการขัดผิวหรือใช้ผลิตภัณฑ์ผลัดเซลล์ผิว
หากต้องการผลัดเซลล์ผิว ควรเลือกผลิตภัณฑ์สูตรอ่อนโยนที่เหมาะกับผิวแพ้ง่ายและปรึกษาแพทย์ก่อน
คนที่ผิวแพ้ง่าย มักจะเป็นสิวแบบไหนบ้าง ?
สำหรับคนที่มีปัญหาผิวแพ้ง่าย ซึ่งอาจจะทำให้ผิวเกิดปัญหาสิวประเภทต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นกว่าผิวทั่วไป ซึ่งสิวที่เกิดขึ้นจะมีประเภทของสิวดังนี้
- สิวผด
- สิวอักเสบ
- สิวอุดตัน
- สิวจากสารระคายเคือง
- สิวฮอร์โมน
- สิวจากการแพ้
ปัจจัยที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้มีผิวแพ้ง่าย
ผู้ที่มีปัญหาผิวแพ้ง่ายควรหลีกเลี่ยงปัจจัยดังนี้
- การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหอม มีส่วนผสมของสารหลายชนิด หรือสารกันเสีย
- การสัมผัสแสงแดดโดยตรงโดยไม่มีการป้องกัน
- การล้างหน้าบ่อยเกินไป
- การใช้สครับหรือขัดผิวแรงๆ
- การสัมผัสกับฝุ่นละอองและมลภาวะโดยตรง
- การทดลองผลิตภัณฑ์ใหม่โดยไม่ทดสอบก่อน
- การใช้เครื่องสำอางที่หมดอายุหรือไม่สะอาด
- การรับประทานอาหารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ เช่น อาหารที่มีน้ำตาลสูง อาหารทอด หรือแอลกอฮอล์ ซึ่งอาจกระตุ้นให้ผิวไวต่อสิ่งกระตุ้น
- การสัมผัสกับสารเคมีในบ้าน เช่น น้ำยาทำความสะอาดที่มีสารกัดกร่อน ควรใส่ถุงมือป้องกันเมื่อใช้งาน
วิธีการทดสอบอาการผิวแพ้ง่าย
- วิธีสะกิด
นำสารทดสอบการแพ้หยดลงบนผิวและใช้เข็มสะกิดให้สารเข้าไปในผิวหนังเล็กน้อยและดูการตอบสนอง - วิธีปิดสารทดสอบบนผิวหนัง (Patch test)
นำสารทดสอบใส่ในแผ่นทดสอบแล้วแปะไว้ที่แผ่นหลัง จากนั้นเปิดอ่านผลที่วันที่ 3 วันที่ 5 (และวันที่ 7 ในบางกรณี) โดยก่อนเปิดอ่านผลในวันที่ 3 งดโดนน้ำบริเวณที่่ทดสอบ - การตัดชิ้นเนื้อจากผิวหนังส่งตรวจ
สำหรับวิธีการนี้จะใช้ในรายที่มีผื่นที่ต้องวินิจฉัยแยกโรคอื่น ๆ
ผิวแพ้ง่าย อันตรายไหม ?
ผิวแพ้ง่ายไม่ใช่ภาวะที่อันตราย แต่หากดูแลไม่ดี อาจนำไปสู่ปัญหาผิวเรื้อรัง เช่น ปัญหาสิว หรืออาการหน้าแดง คันใบหน้า ดังนั้นการใส่ใจดูแลให้ผิวสุขภาพดีอยู่เสมอจึงมีความสำคัญ
สรุป
การมีผิวแพ้ง่ายไม่ใช่ปัญหาที่น่ากังวลหากดูแลผิวได้ถูกวิธี และหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น เลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผิวจะทำให้มีสุขภาพผิวที่ดีขึ้นได้
แหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับข้อมูลผิวแพ้ง่าย
Medically reviewed by Cynthia Cobb, DNP, APRN, WHNP-BC, FAANP — Written by Corinne O’Keefe Osborn — Updated on August 8, 2019.
https://www.healthline.com/health/skin-disorders/sensitive-skin
By Carrie Madormo, RN, MPH.Madormo is a health writer with over a decade of experience as a registered nurse. She has worked in pediatrics, oncology, chronic pain, and public health.
https://www.verywellhealth.com/what-is-sensitive-skin-5085561
Medically reviewed by Susan Bard, MD — Written by Jon Johnson — Updated on April 26, 2023.
https://www.medicalnewstoday.com/articles/sensitive-skin
Feb. 2, 2022 – Katie McCallum.
https://www.houstonmethodist.org/blog/articles/2022/feb/sensitive-skin-symptoms-common-triggers-how-its-treated/
บทความโดย
ลลิษาคลินิก : คลินิกรักษาสิว ดูแลโดยแพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านผิวหนัง (ตจวิทยา) ที่พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลปัญหาผิว
ใครที่กำลังเผชิญปัญหาผิวหน้า เป็นสิว ทำให้รู้สึกไม่มั่นใจ สามารถเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้มากประสบการณ์ด้านผิวหนังที่ลลิษาคลินิกได้ ฟรี!! ที่ตั้งคลินิก เซ็นทรัลพระราม 9 ชั้น 9 (ติดบันไดเลื่อน)