เป็นสิวที่หัว ขึ้นเต็มไปหมด เกิดจากสาเหตุอะไร รักษาและป้องกันอย่างไร

สิวที่หัวเกิดจากอะไร มีวิธีรักษาอย่างไร

สิวที่หัว หรือปัญหาสิวที่หนังศีรษะ เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วมักมีอาการทั้งคัน ทั้งเจ็บ หากเผลอไปโดนเข้าอาจจะทำให้น้ำตาเล็ดกันเลย อีกทั้งยังสร้างความไม่มั่นใจให้กับรูปลักษณ์อีกด้วย จะจัดทรงผมอย่างไรไม่ให้เห็นสิวที่หัว? แล้ววิธีรักษาจะต้องทำอย่างไร? บทความนี้จะพาคุณไปไขข้อข้องใจเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดสิวที่หัว พร้อมกับวิธีรักษาอย่างถูกจุดไม่ให้ปัญหาสิวที่เจ็บแสบกลับมากวนใจคุณได้อีกครั้ง

สิวที่หัว คืออะไร

สิวที่หัวเป็นอย่างไร

สิวขึ้นที่บนหัว (Scalp Acne) คือ การเกิดสิวบริเวณหนังศีรษะที่มีสาเหตุมาจากรูขุมขนสะสมน้ำมันส่วนเกิดออกมาจนทำให้อุดตัน หรือหนังศีรษะไม่มีสะอาด ส่งผลให้เกิดเม็ดตุ่มเล็ก ๆ หรือใหญ่ สิวที่หิวจะมีอาการเจ็บหรือรู้สึกคัน หรือบางครั้งอาจจะมีสิวที่เป็นตุ่มหนองอีกด้วย โดยจะรักษายากกว่าสิวที่เกิดขึ้นบริเวณอื่น เนื่องจากศีรษะถูกปกคลุมด้วยเส้นผมที่ทำให้เกิดความอับชื้นและยากต่อการมองเห็นเพื่อรักษา

สิวที่หัวเกิดจากอะไรได้บ้าง

สิวที่หัวเกิดจากอะไร

สิวที่หัวเกิดจากได้จากสาเหตุหลายปัจจัยซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อหนังศีรษะโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยจากสภาพแวดล้อมภายนอก การดูแลสุขอนามัย การทำความสะอาดร่างกาย รวมถึงปัญหาสุขภาพภายใน ซึ่งสามารถแบ่งสาเหตุหลักของการเกิดสิวที่หัว ได้ดังนี้

ความมันบนหนังศีรษะ

อีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดสิว คือ ความมันบนหนังศีรษะ ซึ่งเกิดจากน้ำมันที่ขับออกมาจากรูขุมขนผสมรวมกับสิ่งสกปรกและเซลล์ผิวที่ตายแล้ว จนทำให้เกิดเป็นก้อนอุดตันในรูขุมขน ส่งผลให้เกิดตุ่มสิวตามมา

ฮอร์โมน

ฮอร์โมน สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดสิวทั่วร่างกาย ไม่เว้นแม้กระทั่งบนหนังศีรษะ ซึ่งจะมีความแตกต่างระหว่างฮอร์โมนผู้ชายและฮอร์โมนผู้หญิง ดังนี้

  • ฮอร์โมนผู้ชาย คือฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) มักจะเป็นฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น โดยจะกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากขึ้น ทำให้น้ำมันส่วนเกินเกิดการอุดตันในรูขุมขนจนทำให้เกิดสิวที่หัวตามมา
  • ฮอร์โมนเพศหญิง คือฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่ทำงานลดลง ทำให้ต่อมไขมันทำงานหนักมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการเกิดสิวที่หิว มักพบได้ในช่วงก่อนมีประจำเดือน หลังคลอด หรือวัยทอง

การอักเสบ

สาเหตุของการเกิดสิวที่หัวอีกหนึ่งอย่าง คือ การอักเสบของรูขุมขนบนหนังศีรษะซึ่งมาจากพฤติกรรมที่ทำในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับเส้นผม เช่น การมัดผมที่แน่นจนเกินไป การโกนผม หรือการแคะ แกะเกาจนทำให้เกิดแผลเล็ก ๆ บนหนังศีรษะ จนทำให้เชื้อราและแบคทีเรียสามารถซึมเข้าสู่รูขุมขนได้ ส่งผลให้เกิดการอักเสบ และทำให้เกิดสิวบนหัว

การอุดตันของรูขุมขน

การอุดตันของรูขุมขนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดสิว โดยการอุดตันสามารถเกิดได้จากการสะสมสิ่งสกปรก ความมันบนหนังศีรษะ และเซลล์ผิวที่ตายแล้ว อาจจะมาจากการสระผมไม่สะอาด หรือไม่ค่อยสระผม จนทำให้รูขุมขนอุดตันได้ ส่งผลให้ต่อมไขมันสะสมอยู่ภายในไม่สามารถขับออกได้ และกลายเป็นสิวที่หัวได้

การติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา

สาเหตุต่อมาที่ทำให้เกิดสิวที่หัวได้ คือ การติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา โดยเกิดจากเมื่อรูขุมขนเกิดการอุดตัน มีสิ่งสกปรกสะสมอยู่ เชื้อแบคทีเรียจะเกิดการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้หนังศีรษะเกิดการอักเสบ และกลายเป็นสิวขึ้นได้

ปัจจัยอื่น ๆ

นอกจากสาเหตุข้างต้นที่ทำให้เกิดสิวที่หัวแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมายที่ทำให้เกิดสิวได้ ได้แก่

  • พันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นสิว ก็อาจจะมีโอกาสในการเกิดสิวได้ง่ายขึ้น เนื่องจากพันธุกรรมอาจส่งต่อการทำงานของต่อมไขมัน
  • ความเครียด สาเหตุของการเกิดสิวอีกหนึ่งอย่าง เนื่องจากความเครียดจะกระตุ้นการหลังฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ทำให้ต่อมไขมันทำงานอย่างหนัก ส่งผลให้เกิดสิวขึ้นได้
  • ความอับชื้นจากการสวมหมวก สำหรับใครที่ชอบสวมหมวกหรือชอบใช้ผ้าโพกศีรษะ มีโอกาสในการเกิดสิวได้ง่ายขึ้น เนื่องจากมีเสียดสีและความอับชื้นของเหงื่อขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุในการเกิดสิว
  • การรับประทานอาหาร สำหรับอาหารที่มีไขมันสูง หรือผลิตภัณฑ์จากนม สามารถทำให้เกิดสิวที่บริเวณศีรษะได้เช่นกัน
  • การแพ้สารเคมี สำหรับใครที่แพ้สารเคมีบางชนิดอาจทำให้เกิดการระคายเคืองและเกิดการอุดตันของรูขุมขน ส่งผลให้เกิดสิวตามมา

ชนิดสิวที่มักจะเกิดขึ้นที่หัว

ชนิดสิวที่มักจะเกิดขึ้นที่หัว

สิวที่หัว จะมีลักษณะเป็นตุ่มนูน มีอาการคันและเจ็บร่วมด้วย บางรายอาจจะเกิดหนองบริเวณศีรษะได้ โดยสิวที่หัวสามารถแบ่งออกได้ ดังนี้

  • สิวหัวดำ: สิวหัวดำที่หัวเกิดจากการทับถมของน้ำมันของต่อมไขมัน และเซลล์ผิวที่ตายแล้ว เมื่อสัมผัสกับอากาศภายนอกส่งผลให้กลายเป็นตุ่มนูนเม็ดเล็กลักษณะสีดำ เป็นสิวหัวเปิดที่สามารถมองเห็นได้ อีกทั้งสิวชนิดนี้ไม่มีอาการเจ็บ และไม่มีรอยแดง
  • สิวหัวขาว: สิวหัวขาวที่หัวเกิดจากการอุดตันของรูขุมขนที่มีไขมันและเซลล์ที่ตายแล้วสะสมอยู่ ส่งผลให้เกิดตุ่มนูนเม็ดเล็กลักษณะสีขาวหรือสีเนื้อ เป็นสิวหัวปิดที่ไม่มีรูเปิดให้เห็นหัวสิว หากไม่รักษาอาจจะเกิดการติดเชื้อและอักเสบได้
  • สิวตุ่มแดง: สิวตุ่มแดงที่หัวเป็นสิวอักเสบขนาดเล็ก ซึ่งเป็นสิวที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียทำให้เกิดการอักเสบตามมา มีลักษณะเป็นตุ่มนูนแดง หากไม่รีบรักษาอาจส่งผลให้เกิดการระคายเคือง และกลายเป็นสิวอักเสบเม็ดใหญ่ได้
  • สิวหัวหนอง: สิวหัวหนองที่หัวเป็นสิวที่เกิดมาจากสิวอักเสบที่มีสาเหตุจากร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดขาวมากขึ้นเพื่อกำจัดเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาสู่ร่างกาย มักมีลักษณะเป็นตุ่มนูน บวมแดง และยังมีหนองสีเหลืองหรือสีขาวอยู่ใต้ผิวหนัง หากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ อาจส่งผลให้หนังศีรษะล้าน หรือผมร่วงได้
  • สิวหัวช้าง: สิวหัวช้างที่หัวเป็นสิวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด สาเหตุเกิดจากการติดเชื้ออย่างรุนแรง ลักษณะเป็นตุ่มนูนใหญ่ มีอาการบวมแดง และมีอาการเจ็บร่วมด้วย หากปล่อยทิ้งไว้ จะส่งผลให้ผมร่วงและศีรษะล้านเช่นกัน
  • สิวอักเสบขนาดใหญ่: สิวอักเสบขนาดใหญ่ที่หัวเป็นสิวที่เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ลึกใต้ผิวหนัง มีการอักเสบเรื้อรังและใช้เวลาในการรักษายาวนาน มีลักษณะเป็นตุ่มนูนแดง เป็นไตแข็ง ๆ ไม่มีหัวหนองให้เห็นจากภายนอก เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บและปวดร่วมด้วย

5 อาการที่มักเกิดร่วมกับสิวที่หัว

อาการที่มักจะเกิดร่วม

สิวที่หัว ไม่เพียงแค่อาการเจ็บที่สร้างความรำคาญใจเท่านั้น แต่สิวบริเวณศีรษะมักจะมาพร้อมกับอาการอื่น ๆ ร่วมอยู่ด้วย ซึ่งทำให้หลายคนเกิดความไม่มั่นใจในรูปลักษณ์ของตัวเองในการใช้ชีวิตประจำวันได้ โดยจะมีอาการต่าง ๆ ดังนี้

  1. อาการคันหนังศีรษะ
    สิวที่หัวอาจทำให้มีอาการคันระคายเคือง ซึ่งมาจากการอุดตันของรูขุมขนจากสิ่งสกปรกและน้ำมันส่วนเกิน ส่งผลให้หนังศีรษะบริเวณนั้นแห้งและระคายเคืองมากขึ้น ดังนั้นหากยิ่งเกา อาจจะทำให้อาการแย่ลง เพราะไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบมากกว่าเดิม
  2. อาการบวมและแดง
    เมื่อเกิดสิวที่หัว มักจะมีอาการบวมและแดงตามมา อีกทั้งยังรู้สึกเจ็บในบริเวณที่เป็นสิวได้ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันพยายามป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Propionibacterium acnes หรือ P.acnes เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งส่งผลให้เกิดการอักเสบ และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดและแดงขึ้นมาได้
  3. การติดเชื้อ
    เมื่อสิวที่หัวมีอาการอักเสบ ส่งผลให้มีการติดเชื้อถึงต่อมไขมัน ทำให้หนังศีรษะมีผื่นบวมแดง และรู้สึกแสบคันมากขึ้น โดยอาการนี้จะเกิดจากความร้อน ความชื้น หรืออาหารบางชนิดที่ทานเข้าไปแล้วกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ จนทำให้ติดเชื้อตามมา
  4. ผมร่วงผิดปกติ
    อาการต่อมาเมื่อเกิดสิวที่หัว คือ อาการผมร่วงที่ผิดปกติ เนื่องจากเกิดการอักเสบและระคายเคืองบริเวณหนังศีรษะอย่างรุนแรง ทำให้รากผมถูกทำลาย จนทำให้ผมร่วง หรือเกิดหัวล้านขึ้นมาได้
  5. รอยแผลเป็น
    อาการสุดท้ายเมื่อเกิดสิวขึ้นที่หัว คือ รอยแผลเป็นที่ตามมาจากสิวที่มีการอักเสบและติดเชื้อ ซึ่งรอยแผลเป็นนี้จะทำให้ผิวหนังบนศีรษะไม่เรียบเนียน อีกทั้งอาจจะปรากฏรอยดำและรอยแดงไว้ดูต่างหน้า ส่งผลให้หลายคนเกิดความไม่มั่นใจตามมา

วิธีการรักษาสิวที่หัว มีวิธีอะไรบ้าง

สิวที่หัวรักษายังไง? วิธีที่รักษาสิวที่หัวให้หายขาดนั้นมีหลากหลายวิธีด้วยกัน ซึ่งขึ้นอยู่ตามอาการที่เป็นและความรุนแรงของสิวบริเวณศีรษะ โดยมีการรักษา ดังนี้

รักษาความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ

การรักษาความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยป้องกันในการเกิดสิว โดยควรสระผม 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ และสระผมอย่างถูกวิธี เพื่อรักษาสมดุลของน้ำมันบนหนังศีรษะ

เลือกใช้แชมพูที่ดูแลปัญหาหนังศีรษะ

วิธีต่อมา คือ การเลือกใช้แชมพูที่คอยดูแลปัญหาหนังศีรษะ โดยหากไม่มีอาการที่รุนแรงสามารถใช้แชมพูที่มีส่วนผสมที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับหนังศีรษะ เพื่อรักษาความสมดุลน้ำมันบนหัวได้ และป้องกันหนังศีรษะลอกอีกด้วย หรือหากมีอาการสิวที่รุนแรง อาจจะต้องใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของการฆ่าเชื้อ เพื่อลดการอักเสบบนหนังศีรษะ

หลีกเลี่ยงการบีบ แกะ เกา สิวที่หัว

อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยในการรักษาสิวที่หิว คือ ควรหลีกเลี่ยงการบีบ การแกะ หรือการเกาที่ส่งผลให้สิวบริเวณนั้นเปิด และทำให้เชื้อแบคทีเรียสามารถเข้าไปได้จนทำให้เกิดการอักเสบตามมา

การใช้ยารักษาสิวที่หัว

สำหรับใครที่มีสิวที่หัวอย่างรุนแรง จำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา ซึ่งมีทั้งแบบยาทานและยาทา โดยแพทย์จะทำการวินิจฉัย และสั่งจ่ายยาอย่างเหมาะสมตามอาการที่เป็น

ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง

ปัญหาสิวเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิด ซึ่งบางครั้งก็ไม่สามารถรักษาด้วยตัวเองได้ อีกทั้งการรักษาที่ผิดวิธีก็สามารถทำให้สิวที่เป็นกลับมาเป็นใหม่ หรือบางรายอาจจะมีอาการที่รุนแรงกว่าเดิม ซึ่ง Laliza Clinic คลินิกสิว เข้าใจถึงปัญหาเรื่องสิวของทุกคนเป็นอย่างดี เพราะที่นี่จะมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเฉพาะทางที่จบทางด้านตจวิทยา หรือแพทย์โรคผิวหนัง คอยให้คำปรึกษา การดูแล และการรักษาอย่างใกล้ชิด สามารถวินิจฉัยสาเหตุอย่างตรงจุด มาพร้อมด้วยเทคนิคที่ทันสมัยที่ช่วยให้สิวสามารถลดลงได้ กลับมามีความมั่นใจได้อีกครั้ง

มีวิธีการป้องกัน อย่างไรบ้าง

วิธีการป้องกัน

วิธีป้องกันสิวไม่ให้เกิดที่หัว สามารถทำได้ ดังนี้

  1. ทำความสะอาดปลอกหมอน หมวกอยู่เสมอ ควรซักปลอกหมอน หมวก หรืออุปกรณ์ที่สัมผัสกับศีรษะให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการสะสมสิ่งสกปรกและแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิวได้
  2. ทำความสะอาดเส้นผมเป็นประจำ วิธีป้องกันไม่ให้เกิดสิวที่หัว คือการหมั่นสระผมหนังศีรษะให้สะอาด เพื่อลดการอุดตันของรูขุมขนที่ทำให้เกิดสิวขึ้นได้
  3. หลีกเลี่ยงการใช้หมวกขณะผมเปียก เพราะการใส่หมวกขณะผมเปียก เป็นการเพิ่มความอับชื้นให้กับหนังศีรษะ ซึ่งทำให้อาจเกิดสิว หรือตุ่มขึ้นได้ ควรให้ผมแห้งสนิทเสียก่อนจึงค่อยสวมใส่
  4. เลือกยาสระผมที่ช่วยแก้ปัญหาหนังศีรษะ การเลือกแชมพูที่ช่วยขจัดรังแคให้หนังศีรษะสะอาดเป็นอีกหนึ่งวิธีป้องกันในการเกิดสิว
  5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควรเลือกรับประทานผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่บำรุงหนังศีรษะ เช่น แครอท ฟักทอง มะม่วง และผักใบเขียว เป็นต้น
  6. ถนอมผมด้วยการหวีผมเบามือ อีกหนึ่งวิธีป้องกันไม่ให้เกิดสิว คือ การหวีผมอย่างเบามือซึ่งจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบนหนังศีรษะ ส่งผลให้มีการเกิดสิวน้อยลง

สิวที่หัวอันตรายไหม

สิวที่หัว หรือสิวบนหนังศีรษะ โดยทั่วไปแล้วไม่เกิดอันตรายร้ายแรง แต่หากเมื่อปล่อยไว้นานจนเรื้อรังหรือไม่ได้รับการรักษาดูแลที่เหมาะสม อาจจะเกิดความรุนแรงและส่งผลต่อหนังศีรษะได้ อย่างเช่น ผมร่วง การติดเชื้อ เป็นต้น

ดังนั้นควรหมั่นดูแลรักษาความสะอาดของเส้นผม และหนังศีรษะอย่างถูกต้อง หากมีความรู้สึกกังวลเกี่ยวกับสิวที่หิว ควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อให้คำปรึกษาและคำแนะนำที่เหมาะสมในการรักษาอย่างตรงจุด

คำถามที่พบบ่อย (FAQs)

สิวที่หัว รักษาเองได้หรือไม่?
สิวที่หัวสามารถรักษาเองได้เบื้องต้น ซึ่งหากมีอาการรุนแรงควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาอย่างตรงจุด

สิวที่หัวเป็นสาเหตุของผมร่วงใช่หรือไม่
สิวที่หัว สามารถทำให้ผมร่วงได้แต่ไม่ถาวร หากไม่รับการรักษาเป็นระยะเวลานาน ส่วนใหญ่จะผมร่วงเมื่อเกิดสิว และจะกลับมางอกใหม่อีกครั้งเมื่อรักษาสิวหายแล้ว

สิวที่หัวรักษากี่วันถึงจะหาย?
สิวอักเสบเล็กน้อย หรือสิวอุดตัน จะใช้ระยะเวลารักษาประมาณ 1-2 สัปดาห์ ส่วนสิวอักเสบที่มีความรุนแรงจะต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาเป็นเดือนถึงจะหาย ซึ่งหากรักษาด้วยตัวเองแล้วไม่ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ ควรรีบเข้ามาพบแพทย์เพื่อรับการรักษา

สิวที่หัว เจ็บมาก เพราะสาเหตุอะไร แก้ยังไงดี?
สิวที่หัวอาจทำให้รู้สึกเจ็บได้ ซึ่งมีสาเหตุได้จากการอักเสบของรูขุมขนทำให้เกิดตุ่มแดงและมีอาการเจ็บเมื่อสัมผัส หรือการติดเชื้อที่มาจากการเกาหรือบีบสิวทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายได้ รวมถึงความมันบนหนังศีรษะที่เกิดการอุดตันจากไขมัน และเมื่อเกิดสิวจะส่งผลให้มีอาการเจ็บตามมา

โดยวิธีรักษา คือ หมั่นทำความสะอาดเส้นผมอยู่เสมอเพื่อขจัดความมันและสิ่งสกปรกไม่ให้อุดตันรูขุมขน หลีกเลี่ยงการแกะ บีบบริเวณที่เกิดสิว ใช้ยาแต้มสิวเพื่อลดอาการเจ็บหรืออักเสบ รวมถึงรีบพบแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษา

เป็นสิวที่หัวนานแค่ไหน ที่ต้องพบแพทย์?
เมื่อเป็นสิวที่หัว แล้วเกิดมีหนอง หนังศีรษะมีแผลเปิด หรือมีผื่นแดงกระจายตัวไปทั่วบริเวณ มีอาการคันอย่างรุนแรง รวมถึงมีอาการผมร่วง ควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางอย่างเร่งด่วน เพื่อให้แพทย์ได้วินิจฉัยหาสาเหตุ และรักษาอย่างถูกต้อง

ตุ่มขึ้นที่หัว ใช่สิวที่หัวหรือไม่?
ตุ่มขึ้นที่หัวอาจจะเป็นสิวที่หัวได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของตุ่ม และสาเหตุของการเกิดตุ่มที่หัว โดยตุ่มที่เกิดขึ้นอาจจะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นบริเวณหนังศีรษะ เช่น สะเก็ดเงิน รูขุมขนอักเสบ หรือการขึ้นผื่นแพ้ต่อมไขมัน สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ง่าย ๆ อย่างถ้าเป็นสิวที่หัว ตุ่มอาจมีหัวหนองหรือมีความรู้สึกเจ็บ หรือหากมีอาการคันหรือเป็นขุย อาจจะเป็นโรคผิวหนังได้

สรุป

สิวที่หัวเป็นปัญหาของใครหลายคน ทั้งนี้สามารถเกิดได้หลายสาเหตุปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการอุดตันของไขมัน พฤติกรรมการใช้ชีวิต การแพ้สารเคมี รวมถึงสิ่งสกปรกบนหนังศีรษะ ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดสิวที่หัว คือ ต้องการดูแลทำความสะอาดอยู่เสมอ อีกทั้งหลีกเลี่ยงการบีบ แกะ หรือเกาเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่อาจส่งผลต่อความรุนแรงในระยะยาว รวมถึงต้องมีสังเกตอาการอยู่เสมอ หากมีความรุนแรงควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางอย่างเร็วที่สุด เพื่อได้รับการรักษา เช่นเดียวกับ ลลิษาคลินิก ที่พร้อมให้คำปรึกษาและวินิจฉัยอย่างตรงจุดเพื่อแต่ละคนโดยเฉพาะ ผ่านทีมแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนังตจวิทยาโดยตรง มาพร้อมด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยและมีความปลอดภัย เพื่อให้คุณสามารถรักษาสิวที่หัวให้หายขาดได้

แหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับข้อมูลสิวที่หัว

Scalp acne: Treatment, causes, and prevention.December 6, 2023.Raechele Cochran Gathers, MD — Jon Johnson and Kristina Iavarone
https://www.medicalnewstoday.com/articles/320968

clevelandclinic.10/30/2022.Pimples & Acne on Scalp: Causes, Shampoo & Other Treatments
https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/24397-scalp-pimples-acne

บทความโดย

ลลิษาคลินิก : คลินิกรักษาสิว ดูแลโดยแพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านผิวหนัง (ตจวิทยา) ที่พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลปัญหาผิว

ใครที่กำลังเผชิญปัญหาผิวหน้า เป็นสิว ทำให้รู้สึกไม่มั่นใจ สามารถเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้มากประสบการณ์ด้านผิวหนังที่ลลิษาคลินิกได้ ฟรี!! ที่ตั้งคลินิก เซ็นทรัลพระราม 9 ชั้น 9 (ติดบันไดเลื่อน)