สิวที่คอเกิดจากอะไร? พร้อมแชร์วิธีแก้และการป้องกันอย่างถูกวิธี

สิวที่คออาจดูเหมือนไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่กลับสร้างความรำคาญใจไม่น้อย หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมสิวถึงขึ้นบริเวณนี้ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้แต่งหน้า หรือใช้สกินแคร์มากมาย ซึ่งความจริงแล้ว พฤติกรรมบางอย่างที่เราทำเป็นประจำ เช่น การใส่เสื้อคอแน่น ๆ ใช้ผลิตภัณฑ์ที่อุดตันผิว ก็อาจเป็นตัวการของสิวที่คอได้

บทความนี้หมอตาลจะอธิบายอย่างเจาะลึกถึงสาเหตุ และวิธีดูแลผิวให้กลับมาเนียนใส ไร้สิวกวนใจ มั่นใจได้อีกครั้งค่ะ

สิวที่คอ คืออะไร? เป็นลักษณะแบบไหน?

สิวที่คอ คือสิวที่เกิดอยู่บริเวณคอซึ่งเกิดจากความผิดปกติของรูขุมขน ซึ่งอุดตันด้วยน้ำมันส่วนเกิน แบคทีเรีย และเซลล์ผิวที่ตายแล้ว รวมถึงปัจจัยอย่าง อากาศอับชื้นและการเสียดสี ทำให้เกิดตุ่มนูนบริเวณลำคอ ท้ายทอย หรือแม้แต่กรอบหน้าและกราม สิวที่พบได้มีทั้ง สิวอุดตัน (หัวเปิดและหัวปิด), สิวอักเสบ และสิวหัวหนอง แม้จะไม่พบบ่อยเท่ากับสิวบนใบหน้า

สาเหตุสิวที่คอ เกิดจากอะไร?

สิวที่คออาจมีสาเหตุและลักษณะบางอย่างที่แตกต่างจากสิวบนใบหน้า หมอตาลจะพามาดูกันว่าปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เกิดสิวบริเวณนี้

ปัจจัยภายในที่ทำให้เกิดสิวที่คอ

สาเหตุสิวขึ้นบริเวณคอ
  • ฮอร์โมนแปรปรวน: มักเกิดในช่วงวัยรุ่น มีประจำเดือน ตั้งครรภ์ หรือจากการใช้ยาสเตียรอยด์
  • ความเครียดและการพักผ่อนไม่เพียงพอ: ทำให้ฮอร์โมนคอร์ติซอลสูงขึ้น กระตุ้นการผลิตน้ำมัน และเพิ่มโอกาสเกิดสิว
  • อาหารและพฤติกรรมการกิน: อาหารที่มีน้ำตาลสูง อาหารทอด นมวัว และอาหารแปรรูป อาจกระตุ้นการผลิตน้ำมันและทำให้เกิดสิว

ปัจจัยภายนอกที่ทำให้เกิดสิวที่คอ

  • ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดการอุดตัน: ครีมอาบน้ำ แชมพู ครีมนวด โลชั่น หรือเครื่องสำอางที่มีน้ำมัน อาจสะสมและอุดตันรูขุมขน
  • เหงื่อและสิ่งสกปรกสะสม: โดยเฉพาะหลังออกกำลังกาย หากไม่อาบน้ำทันที อาจทำให้รูขุมขนอุดตัน
  • เสียดสีจากเสื้อผ้าและเครื่องประดับ: เสื้อคอเต่า ผ้าพันคอ ปลอกหมอนที่ไม่สะอาด หรือเครื่องประดับที่ระคายเคืองผิว
  • สัมผัสคอด้วยมือที่ไม่สะอาด: การจับหรือเกาคอบ่อยๆ นำเชื้อแบคทีเรียและสิ่งสกปรกเข้าสู่รูขุมขน
  • การล้างหน้าและอาบน้ำไม่สะอาด: การละเลยบริเวณลำคออาจทำให้สิ่งสกปรกและน้ำมันสะสม นำไปสู่การเกิดสิว

ประเภทสิวที่มักเกิดขึ้นที่คอ

ประเภทสิวที่มักเกิดขึ้นที่คอ

1. สิวอุดตันที่คอ

เกิดจากการสะสมของเคราติน ไขมัน และสิ่งสกปรกในรูขุมขนที่บริเวณคอ ซึ่งอาจเกิดจากเหงื่อ เครื่องสำอาง แชมพู ครีมนวด หรือเสื้อผ้าที่เสียดสี แบ่งเป็น 2 ประเภท

  • สิวหัวดำที่คอ (Blackheads): เป็นสิวอุดตันบริเวณคอที่มีลักษณะหัวเปิดและมีสีดำ เนื่องจากเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับอากาศ
  • สิวหัวขาวที่คอ (Whiteheads): เป็นตุ่มแดงนูนและมีหนองสีขาว รักษาได้ยากกว่าสิวหัวดำ และอาจพัฒนาเป็นสิวอักเสบได้หากมีการติดเชื้อ

2. สิวอักเสบที่คอ

สิวประเภทนี้มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในรูขุมขนหรือจากการเสียดสีของเสื้อผ้าและเครื่องประดับ ทำให้เกิดการอักเสบ แบ่งตามระดับความรุนแรง

  • สิวตุ่มแดงที่คอ (Papule): เป็นตุ่มนูนแดงขนาดเล็กบริเวณคอ ไม่มีหัวหรือหนอง กดแล้วเจ็บเล็กน้อย
  • สิวหัวหนองที่คอ (Pustule): สิวอักเสบที่มีหนองสีขาวตรงกลาง มักเกิดจากแบคทีเรียสะสมในรูขุมขนบริเวณคอ กดแล้วเจ็บ
  • สิวหัวช้างที่คอ (Nodule): สิวอักเสบขนาดใหญ่ อักเสบลึกลงไปใต้ผิวหนัง กดแล้วเจ็บปวดมาก และอาจทิ้งรอยแผลเป็นถาวรไว้ที่คอ

3. สิวผดที่คอ

สิวผดเป็นผื่นสิวขนาดเล็ก มักเกิดจากความร้อน เหงื่อสะสม หรือการแพ้แสงแดด สิวผดที่คอพบได้บ่อยในช่วงอากาศร้อน หรือเมื่อใส่เสื้อผ้าที่ไม่ระบายอากาศ ทำให้เกิดการอุดตันและระคายเคือง

4. สิวเสี้ยนที่คอ

เกิดจากขนเส้นเล็ก ๆ และเคราตินอุดตันในรูขุมขน ทำให้ดูคล้ายสิวหัวดำ มักเกิดจากการเสียดสีของเสื้อผ้าหรือการโกนหนวดที่บริเวณคอ

5. สิวยีสต์ที่คอ

สิวยีสต์บริเวณนี้เกิดจากเชื้อรากลุ่ม Malassezia ซึ่งเจริญเติบโตได้ดีในที่อับชื้นและมีเหงื่อสะสม ทำให้เกิดตุ่มแดงเล็ก ๆ กระจายทั่วคอ และมักมีอาการคันร่วมด้วย มักเกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมันมากเกินไปหรือการออกกำลังกายแล้วไม่รีบอาบน้ำ

สิวที่คอส่งผลเสียต่อผิวที่คออย่างไรบ้าง?

  1. เจ็บปวดและระคายเคือง สิวอักเสบ โดยเฉพาะสิวหัวหนอง สิวหัวช้าง หรือสิวอักเสบรุนแรง อาจทำให้เกิดอาการปวดและระคายเคืองเวลาขยับคอ หรือสัมผัสเสื้อผ้า
  2. เกิดรอยดำและรอยแผลเป็น การอักเสบของสิว โดยเฉพาะการบีบ กด หรือแกะสิว อาจทิ้งรอยดำ (Post-Inflammatory Hyperpigmentation) หรือรอยแผลเป็นชนิดบุ๋มหรือคีลอยด์ไว้บนผิวหนัง
  3. เสี่ยงติดเชื้อ หากเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น Staphylococcus aureus หรือ P. acnes อาจทำให้สิวลุกลามและกลายเป็นฝี หรือมีการอักเสบที่รุนแรงขึ้น

แชร์วิธีรักษาสิวที่คอ มีวิธีอะไรบ้าง?

รักษาสิวที่คอ

สิวที่คออาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น เหงื่อ สิ่งสกปรก การเสียดสี หรือฮอร์โมน แต่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีที่เหมาะสม มาดูกันว่ามีวิธีไหนบ้างที่ช่วยให้ผิวบริเวณคอกลับมาเรียบเนียนขึ้น

การรักษาสิวที่คอด้วยยาทาและยารับประทาน

  • ยาทาสิวที่ช่วยลดการอุดตันและการอักเสบมีหลายประเภท เช่น อนุพันธ์วิตามินเอ (Tretinoin, Retinol, Adapalene) ที่ช่วยเร่งการผลัดเซลล์ผิวและลดสิวอุดตัน, เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ ที่ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและลดการอักเสบของสิว และ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียเฉพาะที่ (Clindamycin, Azelaic acid) ที่ช่วยลดการอักเสบและรอยดำจากสิว

การใช้ยาควรเริ่มจากความเข้มข้นต่ำและทาครีมกันแดดเป็นประจำเพื่อลดการระคายเคืองและป้องกันผลข้างเคียง

  • สำหรับสิวที่คอรุนแรง อาจต้องใช้ ยารับประทาน เพื่อช่วยลดอาการอักเสบและควบคุมการเกิดสิว เช่น ยาปฏิชีวนะ (Doxycycline, Tetracycline) ที่ช่วยลดการอักเสบและเชื้อแบคทีเรีย, ยากลุ่มอนุพันธ์ของกรดวิตามินเอ (Isotretinoin เช่น Roaccutane, Acnotin) ที่ช่วยลดการผลิตน้ำมันจากต่อมไขมัน หรือในบางกรณีอาจใช้ ยาปรับฮอร์โมน อย่างยาคุมกำเนิดหรือยาในกลุ่ม Anti-Androgenic ที่ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน

อย่างไรก็ตาม ควรใช้ยาเหล่านี้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ และหลีกเลี่ยงในหญิงตั้งครรภ์หรือผู้ที่ให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัย

การฉีดยารักษาสิวที่คอ

สำหรับสิวอักเสบหรือสิวซีสต์ อาจใช้ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) ฉีดเพื่อลดการอักเสบ แต่มีความเสี่ยงทำให้ผิวเป็นรอยบุ๋ม หากทำโดยผู้ที่ไม่เชี่ยวชาญ และไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นเบาหวาน ความดันสูง หรือแพ้ยา บทความเพิ่มเติม : ฉีดสิว ช่วยอะไร

การใช้เวชสำอางและสกินแคร์รักษาสิวที่คอ

การดูแลผิวบริเวณคอเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาสิว ควรเลือก ครีมอาบน้ำสูตรอ่อนโยน ที่ช่วยทำความสะอาดผิวโดยไม่ทำให้แห้งตึง และใช้ ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ Salicylic acid (BHA), AHA, PHA, LHA ซึ่งช่วยผลัดเซลล์ผิว ลดการอุดตันของรูขุมขน นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มี แอลกอฮอล์, น้ำหอม และน้ำมัน เพราะอาจทำให้ผิวระคายเคืองและกระตุ้นการเกิดสิวเพิ่มขึ้น

ทำเลเซอร์รักษาสิวที่บริเวณคอ

หากมีสิวอุดตันจำนวนมาก อาจเลือกการทำเลเซอร์สิวที่คอ ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยลดสิวอุดตัน ลดการอักเสบ และช่วยให้สิวหายเร็วขึ้น โดยใช้เครื่องเลเซอร์ เช่น CO2 Laser เพื่อเปิดหัวสิวและลดการสะสมของแบคทีเรีย นอกจากนี้ เลเซอร์ยังช่วยลดรอยดำ รอยแดงจากสิวได้อีกด้วย เหมาะสำหรับผู้ที่มีสิวเรื้อรังหรือมีรอยสิวที่ต้องการฟื้นฟูผิวให้เรียบเนียนขึ้น

ดูแลปัญหาสิวโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

สำหรับผู้ที่ต้องการการรักษาสิวที่คอที่ได้ผลเร็วและปลอดภัย สามารถเข้ารับคำปรึกษาและรับการรักษาสิวที่ ลลิษาคลินิก ซึ่งมีทีมแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนังที่ให้การดูแลแบบครบวงจร ทั้งการใช้ยา การทำเลเซอร์ และเวชสำอางที่เหมาะกับสภาพผิวของคุณ ติดต่อเพื่อเข้ารับคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่ LINE Official Account @lalizaclinic

บอกต่อวิธีการป้องกันสิวที่คอ

  1. รักษาความสะอาด: ล้างทำความสะอาดคอและผิวหนังโดยรอบอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการสะสมของเหงื่อและสิ่งสกปรก
  2. เลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน: หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางหรือครีมบำรุงที่มีน้ำมันหรือน้ำหอมที่อาจอุดตันรูขุมขน
  3. หลีกเลี่ยงการเสียดสี: หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าหรือเครื่องประดับที่อาจระคายเคืองผิวที่คอ เช่น เสื้อคอเต่าหรือผ้าพันคอแน่น ๆ
  4. การดูแลหลังออกกำลังกาย: อาบน้ำหลังออกกำลังกายเพื่อขจัดเหงื่อและสิ่งสกปรกที่สะสม
  5. ควบคุมความเครียด: พยายามลดความเครียดและพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อป้องกันการเกิดสิวจากการแปรปรวนของฮอร์โมน
  6. หลีกเลี่ยงการสัมผัสคอบ่อย ๆ : มือมักสะสมเชื้อโรคและแบคทีเรีย การสัมผัสคออาจทำให้เกิดสิวได้

สิวขึ้นที่คออันตรายไหม

โดยทั่วไป สิวที่คอไม่ถือว่าอันตราย แต่หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา อาจเกิดการอักเสบและติดเชื้อจนลุกลาม กลายเป็นสิวหัวช้างที่เจ็บปวดหรือทิ้งรอยแผลเป็นไว้

สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อเป็นสิวที่คอ

สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อเป็นสิวที่คอ
  • ห้ามแกะ บีบ หรือกดสิว
    การกดหรือบีบสิวอาจทำให้เชื้อแบคทีเรียแพร่กระจาย และทำให้สิวอักเสบมากขึ้น การบีบสิวอาจทำให้เกิดรอยดำหรือหลุมสิวที่รักษายาก
  • ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่อาจระคายเคืองผิว
    หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์และน้ำหอม ซึ่งอาจทำให้ผิวระคายเคืองและสิวลุกลาม
  • ไม่ใส่เสื้อผ้าหรือเครื่องประดับที่ทำให้ระคายเคือง
    เช่น เสื้อคอเต่า หรือผ้าพันคอที่เสียดสีผิว อาจทำให้สิวอักเสบมากขึ้น ลดการเสียดสีและการสะสมของเหงื่อและแบคทีเรีย
  • ไม่ปล่อยให้คออับชื้นและสกปรก
    ล้างหน้าหรืออาบน้ำหลังออกกำลังกายทันที เพราะเหงื่อที่สะสมอาจทำให้ปัญหาสิวแย่ลงได้
  • ไม่อดนอนและไม่เครียดมากเกินไป
    เพราะอาจกระตุ้นให้ฮอร์โมนไม่สมดุลและทำให้เกิดสิว

รักษาสิวขึ้นที่คอ ที่ไหนดี? ต้องคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้าง

  1. เลือกคลินิกที่มีความเชี่ยวชาญ
    ควรเลือกคลินิกที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาสิว ซึ่งอาจมีสาเหตุและลักษณะการรักษาที่แตกต่างจากสิวที่ใบหน้า
  2. ตรวจสอบรีวิวและความน่าเชื่อถือ
    ก่อนตัดสินใจ ควรตรวจสอบรีวิวจากผู้ที่เคยใช้บริการจากช่องทางออนไลน์ เพื่อความมั่นใจว่าเป็นคลินิกที่เชื่อถือได้
  3. มีการวินิจฉัยและแผนการรักษาที่เหมาะสม
    คลินิกที่ดีจะมีการประเมินสาเหตุของสิวที่คออย่างละเอียด และแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับสภาพผิวและสาเหตุ เช่น การใช้ยาทาภายนอก การทำทรีทเมนต์ หรือการรักษาด้วยเลเซอร์
  4. สถานที่สะอาดและมีมาตรฐาน
    ตรวจสอบความสะอาดของสถานที่และอุปกรณ์ที่ใช้รักษา เพื่อให้มั่นใจว่าได้รับการรักษาอย่างปลอดภัยจากการติดเชื้อหรือปัญหาผิวหนังอื่น ๆ

การเลือกคลินิกสิวที่ดีและมีมาตรฐานในการรักษาสิวที่คอจะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย หากคุณกำลังประสบปัญหาสิวที่บริวณคอหรือจุดอื่น ๆ สามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ ลลิษาคลินิก ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการรักษาสิว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิวที่รุนแรงแค่ไหน ที่ลลิษาคลินิกรักษาวิธีตรวจเชื้อสิวเพื่อหาสาเหตุต้นตอของปัญหาสิว

สรุป

สิวที่คออาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น การอุดตันของรูขุมขน เหงื่อสะสม ฮอร์โมน หรือพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่กระตุ้นให้เกิดสิว การรักษาสามารถทำได้ทั้งการใช้ยาทา ยารับประทาน รวมถึงการดูแลผิวด้วยผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น เช่น เสื้อผ้ารัดแน่นหรือผลิตภัณฑ์ที่อุดตันผิว สำหรับผู้ที่มีสิวเรื้อรัง อาจพิจารณาการทำเลเซอร์เพื่อลดสิวและรอยสิว การดูแลอย่างเหมาะสมจะช่วยให้ผิวกลับมาเรียบเนียนและสุขภาพดีขึ้น

แหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับข้อมูลสิวที่คอ

How to Treat a Pimple on Your Neck. Medically reviewed by Judith Marcin, M.D. Written by Natalie Silver.March 8, 2019
https://www.healthline.com/health/treat-pimple-on-neck

How to Treat Neck Pimples (And Prevent Them From Returning). Written by Rachael Belfield. December 20, 2024.
https://www.skin.software/journal/pimples-on-neck

Pimple on neck: Causes, treatments, and prevention. Medically reviewed by Cynthia Cobb, DNP, APRN, WHNP-BC, FAANP — Written by Jennifer Huizen. July 21, 2023.
https://www.medicalnewstoday.com/articles/322318

บทความโดย

ลลิษาคลินิก : คลินิกรักษาสิว ดูแลโดยแพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านผิวหนัง (ตจวิทยา) ที่พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลปัญหาผิว

ใครที่กำลังเผชิญปัญหาผิวหน้า เป็นสิว ทำให้รู้สึกไม่มั่นใจ สามารถเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้มากประสบการณ์ด้านผิวหนังที่ลลิษาคลินิกได้ ฟรี!! ที่ตั้งคลินิก เซ็นทรัลพระราม 9 ชั้น 9 (ติดบันไดเลื่อน)