ฝ้า คืออะไร? มีกี่ชนิด รู้สาเหตุและวิธีรักษาฝ้าให้จางลง

melasma

ฝ้า ปัญหาผิวรอยด่างดำบนใบหน้า ที่ยิ่งทำให้ความมั่นใจลดลงทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นบริเวณโหนกแก้ม หน้าผาก จมูก หรือแม้แต่ริมฝีปากบน ฝ้าเหล่านี้ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อความมั่นใจ แต่ยังเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของเม็ดสีผิว ที่ผลิตออกมามากเกินไป

บทความนี้ หมอตาลจะพามาทำความรู้จักกับฝ้าให้มากขึ้น ว่าฝ้าเกิดขึ้นได้ยังไง? ชอบมากขึ้นตรงไหนของหน้า? แล้วมีกี่แบบ? พร้อมเคล็ดลับป้องกันและวิธีจัดการกับฝ้าแบบตรงจุด เพื่อให้ผิวของเรากลับมาสวยใส มั่นใจได้อีกครั้ง

รู้จัก! ฝ้า คืออะไร

ความหมายของฝ้า

ฝ้า (Melasma) คือภาวะที่ผิวหนังเกิดรอยด่างดำเป็นปื้น สีอาจแตกต่างกันตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนจนถึงน้ำตาลเข้ม สามารถพบได้บ่อยในกลุ่มผู้หญิง โดยเฉพาะผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ มีการใช้ยาคุมกำเนิด หรือรับการรักษาด้วยฮอร์โมน แต่ก็สามารถเกิดกับผู้ชายหรือผู้ที่สัมผัสแสงแดดเป็นประจำได้ มักพบบริเวณหน้าผากและโหนกแก้ม

ฝ้า เกิดจากอะไร?

สาเหตุเกิดฝ้า

ฝ้า เกิดจากการเซลล์สร้างเม็ดสี (melanocyte) ในผิวหนังถูกกระตุ้นให้ผลิตเม็ดสีเมลานินมากผิดปกติ โดยมีสาเหตุ ดังนี้

  1. แสงแดด: รังสีอัลตราไวโอเลต (UVA และ UVB) รวมถึงแสงที่มองเห็นได้ (Visible Light) ในแสงแดดเป็นตัวการสำคัญที่เร่งให้เซลล์สร้างเม็ดสีผลิตเมลานินมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผิวเผชิญกับแสงแดดเป็นเวลานานโดยไม่มีการป้องกัน
  2. ฮอร์โมน: การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนเพศหญิง เช่น เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ในช่วงตั้งครรภ์ การใช้ยาคุมกำเนิด หรือการรักษาด้วยฮอร์โมนเสริม สามารถกระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างเม็ดสีได้
  3. พันธุกรรม: มีแนวโน้มว่าผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นฝ้าจะมีความเสี่ยงในการเกิดฝ้าสูงขึ้น โดยพบว่าประมาณ 33-50% ของผู้ที่เป็นฝ้ามีประวัติคนในครอบครัวเป็นเช่นกัน
  4. อายุ: เมื่ออายุมากขึ้น กลไกการผลัดเซลล์ผิวและการควบคุมการสร้างเม็ดสีอาจทำงานได้ไม่ดีเท่าเดิม ทำให้ผิวมีโอกาสเกิดฝ้าได้ง่ายขึ้น
  5. ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว: การใช้เครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์บางชนิดที่ไม่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือภาวะไวต่อแสง ซึ่งอาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดฝ้าหรือทำให้ฝ้าที่มีอยู่เข้มขึ้นได้
  6. โรคและยาบางชนิด: สภาวะสุขภาพบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับระบบต่อมไร้ท่อ หรือการใช้ยาบางชนิด เช่น ยากันชัก อาจส่งผลให้เกิดฝ้าได้

ฝ้า เป็นลักษณะยังไง

ฝ้าเป็นยังไง? ฝ้าจะเป็นรอยด่างเป็นปื้นใหญ่ ๆ สีจะเข้มกว่าสีผิวปกติของเรา มีตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อน ๆ ไปจนถึงน้ำตาลเข้มมาก ๆ ขนาดก็มีทั้งเล็กและใหญ่ ถ้าไม่ดูแลป้องกัน ฝ้าจะขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ และอาจจะลงลึกไปในผิวหนังด้วย

ฝ้า มีกี่ประเภท ประเภทอะไรบ้าง

ประเภทของฝ้า

ฝ้าไม่ได้มีแค่แบบเดียว แต่สามารถแบ่งออกได้ตามสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิด ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจและดูแลรักษาได้ตรงจุดมากขึ้น

1. ฝ้าแดด

ฝ้าแดด เป็นฝ้าที่เกิดจากการที่ผิวหน้าของเราสัมผัสกับแสงแดดโดยตรงเป็นเวลานาน แสงแดดเป็นอันตรายต่อผิว เพราะมีรังสี UVA และ UVB โดยเฉพาะรังสี UVA ที่สามารถลงลึกไปถึงผิวชั้นใน ทำให้เกิดฝ้าแดดได้ง่าย ดังนั้น การป้องกันผิวจากแสงแดดจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก

2. ฝ้าเลือด

ฝ้าเลือด ฝ้าชนิดนี้เกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดเล็ก ๆ บนใบหน้า สาเหตุหลัก ๆ มักมาจากการใช้เครื่องสำอางหรือยาที่มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ ซึ่งสารเหล่านี้จะทำให้เส้นเลือดฝอยแตกและมีเลือดคั่งอยู่ใต้ผิวหนังชั้นลึก ทำให้เกิดเป็นรอยฝ้าสีน้ำตาลแดง ฝ้าเลือดถือเป็นฝ้าที่รักษายาก และมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากฮอร์โมนในร่างกายผู้หญิงมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่า ซึ่งเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดฝ้าเลือดได้

3. ฝ้าตื้น

ฝ้าตื้น ฝ้าชนิดนี้จะเกิดที่ผิวหนังชั้นบนสุด หรือที่เรียกว่าชั้นหนังกำพร้า ลักษณะของฝ้าตื้นจะมีสีน้ำตาลเข้มไปจนถึงสีเทาดำ และเราจะเห็นขอบเขตของฝ้าได้อย่างชัดเจน

4. ฝ้าลึก

ฝ้าลึก ฝ้าชนิดนี้จะเกิดที่ผิวหนังชั้นที่ลึกลงไป คือชั้นหนังแท้ ซึ่งอยู่ใต้ชั้นหนังกำพร้า ลักษณะของฝ้าลึกจะมีสีน้ำตาลอ่อน สีเทา หรือสีเทาอมฟ้า ที่สำคัญคือขอบเขตของฝ้าจะไม่ชัดเจน จะดูกลมกลืนไปกับผิวหน้าเป็นบริเวณกว้าง

5. ฝ้าผสม

ฝ้าลึก เป็นฝ้าที่เกิดจากการรวมกันของฝ้าตื้นและฝ้าลึก ทำให้มีลักษณะเป็นสีเข้ม แต่ขอบจะดูจาง ๆ การรักษาฝ้าชนิดนี้จึงต้องใช้วิธีการดูแลที่หลากหลาย เพื่อจัดการกับฝ้าทั้งสองชนิดไปพร้อม ๆ กัน

บริเวณไหนบ้างที่มักเกิดฝ้า

หน้าเป็นฝ้า โดยทั่วไปแล้ว ฝ้ามักจะเกิดขึ้นบนผิวหนังส่วนที่โดนแสงแดดเป็นประจำ เนื่องจากแสงแดดเป็นปัจจัยกระตุ้นหลักที่ทำให้เกิดการสร้างเม็ดสีผิวมากขึ้นจนกลายเป็นฝ้า

  • ฝ้าตรงโหนกแก้มทั้ง 2 ข้าง: บริเวณโหนกแก้มเป็นส่วนที่ยื่นออกมาและสัมผัสกับแสงแดดโดยตรงมากที่สุด ทำให้เป็นบริเวณที่พบฝ้าได้บ่อยและเห็นได้ชัดเจน
  • หน้าผาก: เช่นเดียวกับโหนกแก้ม หน้าผากก็เป็นอีกบริเวณหนึ่งที่มักจะได้รับแสงแดดโดยตรง ทำให้เกิดฝ้าขึ้นได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณกลางหน้าผาก
  • จมูก: สันจมูกและบริเวณข้างจมูกก็เป็นส่วนที่สัมผัสแสงแดดได้ง่าย และมักจะเกิดฝ้าขึ้นได้เช่นกัน โดยอาจมีลักษณะเป็นจุดเล็ก ๆ หรือเป็นแผ่น
  • รอบขอบปาก: บริเวณรอบขอบปากก็สามารถเกิดฝ้าได้ โดยเฉพาะบริเวณเหนือริมฝีปากบน ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนร่วมด้วย
  • ลำตัว และแขน: แม้ว่าส่วนใหญ่ฝ้าจะเกิดบนใบหน้า แต่ผิวหนังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายที่สัมผัสกับแสงแดดเป็นประจำ เช่น ลำตัว แขน และหลังมือ ก็สามารถเกิดฝ้าได้เช่นกัน

วิธีรักษาฝ้า ให้ใบหน้ากระจ่างใส

วิธีรักษาฝ้า

ฝ้า รักษายังไง ? การรักษาฝ้ามีหลายวิธี ตั้งแต่การดูแลด้วยตัวเองไปจนถึงการรักษาโดยหมอผิวหนัง ซึ่งแต่ละวิธีจะเหมาะสมกับชนิดและความรุนแรงของฝ้าในแต่ละบุคคล

ใช้ยาทาภายนอก

ในสกินแคร์ที่เราใช้กัน มีสารสำคัญหลายตัว ที่ช่วยจัดการปัญหาฝ้า,กระ และจุดด่างดำให้จางลงได้ มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง และแต่ละตัวช่วยยังไง

  1. อัลฟาอาร์บูติน (Alpha-Arbutin): เหมือนเป็นตัวช่วยบล็อกไม่ให้ผิวสร้างเม็ดสีเมลานินเยอะเกินไป ทำให้ฝ้าและจุดด่างดำค่อย ๆ จางลง แถมยังช่วยให้ผิวดูใสขึ้นด้วย
  2. ไนอะซินาไมด์ (Niacinamide): ช่วยลดรอยดำ รอยแดง ทำให้สีผิวดูสม่ำเสมอขึ้น แถมยังทำให้ผิวแข็งแรงขึ้น
  3. โคจิก แอซิด (Kojic Acid): ตัวนี้ก็ช่วยยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานิน ทำให้ฝ้าและจุดด่างดำดูอ่อนลง
  4. กรดไกลโคลิก (Glycolic Acid หรือ AHA): เหมือนเป็นตัวผลัดเซลล์ผิวเก่าที่มีฝ้าออกไป ทำให้ผิวใหม่ที่สดใสขึ้นมาแทนที่
  5. สารสกัดจากรากชะเอมเทศ (Licorice Extract): ช่วยยับยั้งการสร้างเม็ดสี ลดการอักเสบ และยังช่วยให้ผิวชุ่มชื้นด้วย
  6. วิตามินซี (Vitamin C): เป็นเหมือนสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยให้ผิวใสขึ้น ลดฝ้าและจุดด่างดำได้
  7. ทราเนซามิก แอซิด (Tranexamic Acid): ตัวนี้ช่วยลดการสร้างเม็ดสีเมลานินได้ดี ทำให้ฝ้าจางลงอย่างเห็นผล
  8. เรตินอล (Retinol): ช่วยกระตุ้นให้ผิวสร้างเซลล์ใหม่ ผลัดเซลล์ผิวเก่า ลดฝ้า ริ้วรอย และทำให้ผิวเรียบเนียนขึ้น
  9. เซราไมด์ (Ceramides): ตัวนี้อาจจะไม่ได้ลดฝ้าโดยตรง แต่ช่วยฟื้นฟูเกราะป้องกันผิว ลดการระคายเคือง ทำให้ผิวแข็งแรงขึ้น ซึ่งก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนเป็นฝ้าด้วย

ใช้เลเซอร์รักษาฝ้า

เป็นการใช้พลังงานแสงจากเลเซอร์ที่มีความยาวคลื่นเฉพาะเจาะจง เพื่อเข้าไปรักษาหรือปรับสภาพผิวบริเวณที่เป็นฝ้า โดยแสงเลเซอร์จะส่งพลังงานไปที่เซลล์เม็ดสีที่มีปัญหา ทำให้เม็ดสีเหล่านั้นแตกตัวและถูกกำจัดออกไป

การขัดเซลล์ผิวหนังเพื่อผลัดเซลล์ผิว

วิธีนี้คือการใช้สารเคมีในการผลัดเซลล์ผิวชั้นบนที่มีเม็ดสีฝ้าออกไป เป็นการรักษาที่ต้องดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเท่านั้น เพราะหากลอกผิวลึกเกินไปอาจทำให้เกิดแผลเป็นถาวรได้ ที่สำคัญคือหลังการรักษา ผิวบริเวณนั้นจะไวต่อแสงแดดมาก จึงต้องหลีกเลี่ยงแสงแดดโดยเด็ดขาด

การรักษาฝ้าโดยการฝังเข็ม

เป็นวิธีการฟื้นฟูผิวบริเวณที่เป็นฝ้าทั่วทั้งใบหน้า โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดการกระจายตัวของฝ้า ทำให้ฝ้าจางลง ช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ได้อย่างปลอดภัย รวมถึงช่วยลดการสร้างเม็ดสีเมลานินและลดการคั่งของเลือดเสียในบริเวณที่เป็นฝ้า

ฝ้า อันตรายไหม

แม้ว่า ฝ้า (Melasma) จะไม่ได้เป็นโรคที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยตรง แต่ก็เป็นภาวะผิวหนังที่อาจส่งผลกระทบต่อความรู้สึกมั่นใจและสภาพจิตใจของผู้ที่มีปัญหาผิวนี้ได้ เนื่องจากลักษณะที่เป็นรอยปื้นสีเข้มหรือดำบนใบหน้า โดยทั่วไปแล้ว ฝ้าจะไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือกลายเป็นโรคร้ายแรง

แนวทางดูแลผิวเมื่อเป็นฝ้า

แนวทางดูแลผิวเมื่อเป็นฝ้า

ใครที่กำลังเจอปัญหาฝ้าและอยากให้ผิวหน้ากลับมาใส ลดโอกาสเป็นซ้ำ ลองทำตามวิธีดังนี้

  • ทาครีมกันแดด: แสงแดดตัวร้ายทำให้เกิดฝ้า เลือกครีมกันแดด SPF 30 ขึ้นไป และมี PA+++ ทาทุกวันก่อนออกจากบ้าน
  • เลี่ยงความร้อน: นอกจากแดดแล้ว พวกไอร้อนจากเตา หรือรังสีจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ก็กระตุ้นฝ้าได้เหมือนกัน
  • เลือกครีมลดฝ้า: มองหาครีมที่มีส่วนผสมช่วยลดฝ้า เช่น วิตามินซี, กรดโคจิก, อาร์บูติน, AHA หรือไทอามิดอล พวกนี้จะช่วยลดเม็ดสีและทำให้สีผิวสม่ำเสมอขึ้น
  • เลี่ยงไฮโดรควิโนน: ครีมที่มีไฮโดรควิโนนควรใช้ภายใต้การดูแลของคุณหมอเท่านั้น เพราะอาจทำให้ผิวเป็นด่างหรือระคายเคืองได้
  • ล้างหน้าตามแนวรูขุมขน: ช่วยลดสิ่งอุดตันและกระตุ้นการไหลเวียนเลือด

หมอแชร์ต่อ! วิธีง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ “ฝ้า” มาเยือน

วิธีป้องกันฝ้า

ใคร ๆ ก็ไม่อยากมีฝ้า มาดูวิธีป้องกันง่าย ๆ ที่จะช่วยลดความเสี่ยงกัน ดังนี้

  1. เลี่ยงแดดจัด ๆ โดยเฉพาะช่วง 10 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็น แดดแรงสุด ๆ
  2. เลือก SPF 30+ และ PA+++ ป้องกันทั้ง UVA และ UVB ทาก่อนออกจากบ้าน 30 นาที และถ้าอยู่นาน ๆ ก็ทาซ้ำทุก 2-3 ชั่วโมง
  3. เติมความชุ่มชื้น ใช้ครีมบำรุงที่มีส่วนผสมของกรดไฮยาลูรอน ช่วยให้ผิวแข็งแรงขึ้น
  4. นอนหลับให้พอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน ลดความเครียด เพราะฮอร์โมนไม่สมดุลก็ทำให้เกิดฝ้าได้
  5. กินของดีมีประโยชน์ เน้นอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น มะเขือเทศ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ และปลาแซลมอน ช่วยปกป้องผิวจากแดด
  6. ยาคุมหรือฮอร์โมน ถ้าต้องใช้ยาคุมหรือฮอร์โมน ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อเลือกวิธีที่เหมาะสม จะได้ไม่กระตุ้นให้เกิดฝ้า
  7. ครีมลดความเสี่ยงฝ้า ลองใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกรดผลไม้ หรือไวท์เทนนิ่งครีม เพื่อให้สีผิวสม่ำเสมอขึ้น
  8. ดื่มน้ำเยอะ ๆ วันละ 8 แก้ว ช่วยให้ผิวชุ่มชื้นและแข็งแรง

คำถามที่พบได้บ่อย (FAQs)

ใครมีโอกาสเป็นฝ้ามากที่สุด?

คนที่เจอกับแสงแดดบ่อย ๆ โดยไม่ทาครีมกันแดดป้องกันผิว มีโอกาสเป็นฝ้ามากที่สุด แต่ผู้ชายก็เป็นฝ้าได้เหมือนกัน

ฝ้าจะหายเองได้ไหม?

ฝ้าไม่หายเอง แต่จะจางลงได้ถ้าหลีกเลี่ยงแสงแดดและใช้ครีมกันแดดเป็นประจำ นอกจากนี้ การใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ช่วยให้ผิวแข็งแรงก็ช่วยป้องกันไม่ให้ฝ้ากลับมาเป็นซ้ำได้

ฝ้ารักษาให้หายขาดได้ไหม?

ฝ้าเป็นปัญหาผิวที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพราะบางชนิดมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ ทำได้แค่รักษาให้ฝ้าจางลง การลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ก็ช่วยป้องกันไม่ให้ฝ้ากลับมาเป็นอีกได้ สำหรับคนที่เริ่มเป็นฝ้าหลังจากกินยาคุมกำเนิด ลองเปลี่ยนวิธีคุมกำเนิดดู บางคนอาการดีขึ้นหลังจากเลี่ยงแดดมาก ๆ หรือหยุดกินยาคุม

รักษาฝ้าด้วยตัวเอง ได้ไหม

รักษาฝ้าด้วยตัวเอง? การดูแลตัวเองเบื้องต้นสามารถช่วยให้ฝ้าจางลงได้บ้าง เช่น ใช้สมุนไพรอย่างขมิ้น มะนาว ใบบัวบก หรือว่านหางจระเข้ พอกหน้า รวมถึงใช้สกินแคร์ที่มีส่วนผสมลดเม็ดสีและทาครีมกันแดดสม่ำเสมอ แต่ฝ้ามักจะหายยากและกลับมาใหม่ได้ จึงต้องดูแลต่อเนื่อง

ผู้ที่เป็นฝ้าขาดวิตามินอะไร

คนที่เป็นฝ้าอาจเกี่ยวข้องกับการขาดวิตามินที่สำคัญต่อผิว เช่น วิตามินเอ ช่วยฟื้นฟูผิวและลดเม็ดสี วิตามินซีช่วยให้ผิวกระจ่างใส และวิตามินอีช่วยบำรุงและต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งพบได้ในธรรมชาติ เช่น หัวไชเท้าและน้ำผึ้ง

ฉีดสลาย ฝ้า กับเลเซอร์อันไหนดีกว่ากัน

เลเซอร์มักเป็นที่นิยมกว่าการฉีดสลายฝ้า เพราะควบคุมผลลัพธ์ได้ดีกว่าและมีประสิทธิภาพในการทำลายเม็ดสี แต่ต้องทำโดยหมอผู้เชี่ยวชาญและต้องป้องกันแสงแดดหลังทำอย่างเคร่งครัด ส่วนการฉีดสลายฝ้าต้องระวังผลข้างเคียงและควรปรึกษาหมอก่อนตัดสินใจ

คนท้องใช้ครีมทาฝ้าได้ไหม?

คนท้องสามารถใช้ครีมทาฝ้าได้ แต่ต้องปรึกษาคุณหมอก่อนและอยู่ในความดูแลของคุณหมออย่างใกล้ชิด

รักษาฝ้านานแค่ไหนถึงจะเห็นผล?

ระยะเวลาในการรักษาฝ้าขึ้นอยู่กับชนิดของฝ้าและสาเหตุที่ทำให้เกิด โดยส่วนใหญ่จะใช้เวลาตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป และต้องดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าฝ้าจะจางลงแล้วก็ต้องดูแลและป้องกันตัวเองเพื่อไม่ให้ฝ้ากลับมาอีก

สรุป

ฝ้าเป็นรอยดำบนใบหน้าที่เกิดจากการผลิตเม็ดสีเมลานินมากเกินไป มีหลายประเภททั้งฝ้าเลือด ฝ้าแดด ฝ้าตื้น ฝ้าลึก และฝ้าผสม การรักษามีตั้งแต่การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมอย่างวิตามินซี ไนอะซินาไมด์ หรือทราเนซามิกแอซิด ไปจนถึงการรักษาด้วยเลเซอร์ ทั้งนี้การปรึกษาหมอผิวหนังก่อนรักษาเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะด้วยความเชี่ยวชาญที่สามารถวินิจฉัยชนิดของฝ้าได้อย่างแม่นยำและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมเฉพาะบุคคล ช่วยให้คุณกลับมามีผิวใสไร้ฝ้าได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ สามารถปรึกษาปัญหาฝ้า ได้ที่ ลลิษาคลินิก รักษาปัญหาผิวหนังโดยแพทย์ผู้ชำนาญการ

แหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับข้อมูลฝ้า

clevelandclinic.Melasma: Treatment, Causes & Prevention.
https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/21454-melasma

medicalnewstoday. Melasma: Causes, symptoms, pictures & treatment. Medically reviewed by Megan Slomka, MSN, APRN, FNP-C. Written by Jenna Fletcher. February 28, 2025
https://www.medicalnewstoday.com/articles/323715

healthline.Melasma: Symptoms, Diagnosis, and Treatments. Medically reviewed by Cynthia Cobb, DNP, APRN, WHNP-BC, FAANP. Written by Jaime Herndon, MS, MPH, MFA. May 4, 2023
https://www.healthline.com/health/melasma

aad. Melasma: Overview
https://www.aad.org/public/diseases/a-z/melasma-overview

บทความโดย

ลลิษาคลินิก : คลินิกรักษาสิว ดูแลโดยแพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านผิวหนัง (ตจวิทยา) ที่พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลปัญหาผิว

ใครที่กำลังเผชิญปัญหาผิวหน้า เป็นสิว ทำให้รู้สึกไม่มั่นใจ สามารถเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้มากประสบการณ์ด้านผิวหนังที่ลลิษาคลินิกได้ ฟรี!! ที่ตั้งคลินิก เซ็นทรัลพระราม 9 ชั้น 9 (ติดบันไดเลื่อน) และ เซ็นทรัลปิ่นเกล้า ชั้น 4