คลินิกรักษาสิว โดยแพทย์โรคผิวหนังโดยเฉพาะ
รักษาสิวด้วยตัวเอง กับ หาหมอ แบบไหนดีกว่ากัน? ต่างกันตรงไหนบ้าง?

หาคำตอบ! รักษาสิวด้วยตัวเอง กับ หาหมอรักษาสิว อันไหนดีกว่ากัน สิวไม่ว่าจะเม็ดเล็กเม็ดใหญ่ ผุดขึ้นมาทีไรก็ชวนให้กังวลใจทุกที พอสิวบุก หลายคนก็เริ่มลังเลว่าจะจัดการเองดี หรือไปให้คุณหมอช่วยรักษาสิวดีกว่า บทความนี้ หมอตาลจะมาเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัด ๆ ว่าการรักษาสิวด้วยตัวเองกับการไปหาหมอมีข้อดี-ข้อเสียต่างกันยังไงบ้าง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบให้คนไข้ทุกคนได้ตัดสินใจเลือกวิธีที่เหมาะกับตัวเองที่สุด
บอกลาปัญหาสิว ด้วย 3 วิธีรักษาด้วยตัวเองที่บ้าน

สำหรับคนที่มีสิวที่ไม่รุนแรงมากนัก เช่น สิวอุดตัน สิวหัวดำ หรือสิวที่เพิ่งเริ่มอักเสบ สามารถดูแลรักษาด้วยตัวเองได้ โดยมีวิธีง่าย ๆ ที่สามารถทำตามได้ดังนี้
1. การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ช่วยรักษาสิว
การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มุ่งเน้นการรักษาสิว ต้องดูส่วนประกอบสำคัญที่มีคุณสมบัติในการจัดการกับสิวโดยเฉพาะ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.1 ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า (Cleanser)
ควรเลือกผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่อ่อนโยนต่อผิว ไม่ทำให้ผิวแห้งตึงจนเกินไป เนื่องจากผิวที่แห้งอาจกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสิวได้
- Benzoyl Peroxide เป็นสารที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Cutibacterium acnes (เดิมชื่อ Propionibacterium acnes) ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดสิวอักเสบ นอกจากนี้ยังช่วยลดการอุดตันของรูขุมขนและผลัดเซลล์ผิวอย่างอ่อนโยน
- Salicylic Acid (BHA) เป็นกรด Beta Hydroxy Acid ที่สามารถแทรกซึมเข้าไปในรูขุมขนเพื่อขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว น้ำมันส่วนเกิน และสิ่งสกปรกที่อุดตันรูขุมขน จึงช่วยลดการเกิดสิวอุดตัน (สิวหัวขาวและสิวหัวดำ) และมีฤทธิ์ต้านการอักเสบเล็กน้อย
- Tea Tree Oil เป็นน้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ซึ่งอาจมีประโยชน์ในการลดการอักเสบและจำนวนเชื้อแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องกับการเกิดสิว อย่างไรก็ตาม ความเข้มข้นและประสิทธิภาพอาจแตกต่างกันไปในแต่ละผลิตภัณฑ์
1.2 ผลิตภัณฑ์แต้มสิวเฉพาะจุด (Spot Treatment)
ผลิตภัณฑ์แต้มสิวมักมีความเข้มข้นของสารสำคัญในการรักษาสิวสูงกว่าผลิตภัณฑ์ล้างหน้า ทำให้สามารถออกฤทธิ์โดยตรงและรวดเร็วบริเวณที่เป็นสิว ซึ่งสารสำคัญที่ควรพิจารณา ดังนี้
- Benzoyl Peroxide มักมีความเข้มข้นตั้งแต่ 2.5% ถึง 10% ควรเริ่มต้นจากความเข้มข้นต่ำก่อนเพื่อลดความเสี่ยงของการระคายเคือง
- Salicylic Acid มักมีความเข้มข้นตั้งแต่ 0.5% ถึง 2% ช่วยในการผลัดเซลล์ผิวและลดการอุดตันเฉพาะจุด
- Tea Tree Oil มักอยู่ในรูปแบบเจลหรือน้ำมันแต้มสิว ควรเจือจางก่อนใช้หากเป็นน้ำมันบริสุทธิ์ เนื่องจากอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองได้
ทาผลิตภัณฑ์แต้มสิวเฉพาะบริเวณที่เป็นสิว หลังจากทำความสะอาดผิวหน้าและเช็ดให้แห้ง ควรทาในปริมาณเล็กน้อยและหลีกเลี่ยงบริเวณรอบดวงตาและริมฝีปาก
1.3 ยาทาสิว (Topical Medications)
ยาทาสิวมักมีความเข้มข้นของตัวยาที่สูงกว่าผลิตภัณฑ์ดูแลผิวทั่วไป และอาจมีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะหรืออนุพันธ์ของวิตามินเอ (Retinoids) ซึ่งต้องได้รับการสั่งจ่ายหรือแนะนำจาก หมอหรือเภสัชกร
- Topical Antibiotics เช่น Clindamycin, Erythromycin ช่วยลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนังและลดการอักเสบ
- Topical Retinoids เช่น Tretinoin, Adapalene, Tazarotene ช่วยในการผลัดเซลล์ผิว ลดการอุดตันของรูขุมขน และลดการอักเสบ
- Combination Products ยาบางชนิดมีการผสมผสานของสารสำคัญหลายชนิด เช่น Benzoyl Peroxide ร่วมกับยาปฏิชีวนะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา
อย่างไรก็ตาม การใช้ยาทาสิวควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของ หมออย่างเคร่งครัด เนื่องจากอาจมีผลข้างเคียงและต้องใช้ในระยะเวลาที่เหมาะสม
2. การบำรุงผิวด้วยครีมบำรุงที่อ่อนโยนและเหมาะกับสภาพผิว
การทามอยส์เจอไรเซอร์เป็นสิ่งสำคัญ แม้ว่าจะเป็นคนผิวมัน เพราะจะช่วยให้ผิวไม่แห้งและลดการผลิตน้ำมันออกมามากเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดสิว ควรเลือกสูตรที่อ่อนโยนและไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน
3. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและอาหาร
การดูแลตัวเองจากภายในก็สำคัญไม่แพ้กัน ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ล้างหน้าให้สะอาดอย่างถูกวิธี ไม่สัมผัสใบหน้าโดยไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงหรือลดอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง และดื่มน้ำสะอาดให้มากขึ้น เพื่อช่วยให้ร่างกายและผิวพรรณอยู่ในสภาพที่ดีขึ้น
ข้อดีและข้อเสียของการรักษาสิวด้วยตนเอง

ข้อดี
- ประหยัดค่าใช้จ่าย การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิวทั่วไปตามร้านค้าหรือร้านขายยามีราคาถูกกว่าการทำหัตถการทางการแพทย์อย่างเห็นได้ชัด
- สะดวกสบาย สามารถดูแลรักษาสิวได้ด้วยตัวเองทุกที่ทุกเวลาตามต้องการ
- ส่งเสริมการดูแลผิวระยะยาว การรักษาสิวด้วยตนเองกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลผิวทั้งภายในและภายนอกอย่างต่อเนื่อง
ข้อเสีย
- ไม่เหมาะกับสิวรุนแรง ผู้ที่มีปัญหาสิวอักเสบขนาดใหญ่ สิวจากการติดเชื้อ สิวฮอร์โมน หรือสิวเรื้อรัง ควรได้รับการวินิจฉัยและรักษาจากหมอผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
- เสี่ยงต่อการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสม อาจเกิดการระคายเคือง ผิวอักเสบ และทำให้สิวแย่ลงหากเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ไม่ถูกต้อง
- อาจเกิดผลข้างเคียง การรักษาสิวด้วยตนเองอาจนำไปสู่ปัญหาผิวอื่น ๆ เช่น ผิวแห้งลอก รอยหลุมสิว หรือรอยแผลเป็นจากสิว
การรักษาสิวกับแพทย์ (แพทย์ผิวหนังเฉพาะทาง)

การเลือกไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่คลินิกรักษาสิว เพื่อรักษาสิว เป็นอีกทางเลือกที่ดี ด้วยการรักษาสิวกับกับแพทย์ แพทย์จะหาสาเหตุของสิวอย่างละเอียด และแนะนำการรักษาที่เหมาะสมกับสภาพผิวของคนไข้ และขั้นตอนต่าง ๆ ของแพทย์ที่คลินิกสิว จะประกอบไปด้วยวิธีการเหล่านี้ค่ะ
- ตรวจเชื้อสิว
ในบางครั้งที่สิวเป็นหนัก รักษาไม่หาย หรือคุณหมอสงสัยว่าอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ธรรมดา คุณหมออาจจะเก็บตัวอย่างจากสิวไปตรวจดูในห้องแล็บ เพื่อดูว่าเป็นเชื้ออะไรและจะได้เลือกยาที่เหมาะสมมาใช้รักษาให้ตรงจุด (สำหรับคนไข้ที่ยังการตรวจเชื้อสิว สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ ตรวจเชื้อสิว เหมาะกับใคร ราคาเท่าไหร่ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? ) - กดสิว
การกดสิวเหมาะสำหรับสิวที่ไม่อักเสบ เช่น สิวหัวขาวและสิวหัวดำ คุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญจะใช้เครื่องมือที่สะอาด เปิดหัวสิวออกเบา ๆ แล้วกดเอาสิ่งอุดตันข้างในออกมา วิธีนี้จะช่วยลดโอกาสที่สิวจะอักเสบและทำให้ผิวเรียบเนียนขึ้น แต่ก็ต้องระวัง เพราะถ้าทำไม่ถูกวิธีอาจจะทิ้งรอยดำ รอยแดง หรือเป็นแผลเป็นได้ - ฉีดสิว
สำหรับสิวอักเสบเม็ดใหญ่ ๆ หรือสิวที่มีหนอง การฉีดสิวก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง โดยคุณหมอจะฉีดยาในกลุ่มสเตียรอยด์ที่เจือจางแล้วเข้าไปที่หัวสิว เพื่อให้สิวยุบตัวเร็ว ลดบวมและลดการอักเสบ แต่การฉีดสิวก็ต้องทำโดยคุณหมอที่ชำนาญ เพราะถ้าฉีดผิดวิธีอาจจะทำให้เกิดรอยบุ๋มหรือแผลเป็นถาวรได้ - เลเซอร์สิว
การใช้เลเซอร์รักษาสิวเป็นการใช้พลังงานแสงเพื่อจัดการกับต้นเหตุของสิว ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ลดการอักเสบ ควบคุมความมัน หรือกระตุ้นให้ผิวสร้างคอลลาเจนใหม่ ซึ่งจะช่วยลดทั้งสิวอักเสบ สิวหนอง และลดโอกาสการเกิดสิวใหม่ได้ แต่ผลลัพธ์ก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละคน และอาจจะต้องทำหลายครั้งถึงจะเห็นผลชัดเจน หลังทำอาจมีรอยแดงหรือผิวลอกบ้างเล็กน้อย และควรทำโดยคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น - ฉายแสงรักษาสิว
การฉายแสงเป็นการใช้แสงสีฟ้าหรือแสงพิเศษอื่น ๆ เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของสิว ลดการอักเสบ และช่วยให้สิวแห้งเร็วขึ้น วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่มีสิวอักเสบเรื้อรัง หรือคนที่ใช้ยาแล้วไม่ค่อยได้ผล ซึ่งมีผลข้างเคียงน้อยและไม่ทำให้ผิวบางลง


ข้อดีและข้อจำกัดของการรักษาสิวภายใต้การดูแลของแพทย์
ข้อดี

- การวินิจฉัยที่แม่นยำและการรักษาเฉพาะบุคคล
ทีมหมอผิวหนังผู้เชี่ยวชาญจะทำการวินิจฉัยหาสาเหตุของสิวอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาฮอร์โมน หรือโรคผิวหนังอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่ตรงจุดและเหมาะสมกับสภาพผิวของคุณโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นยาทา ยารับประทาน การกดสิวอย่างถูกวิธี หรือเทคโนโลยีเลเซอร์ที่ทันสมัย - ลดโอกาสการกลับมาของสิวและป้องกันผลกระทบระยะยาว
การรักษาภายใต้การดูแลของหมอ ไม่เพียงแต่ช่วยรักษาสิวในปัจจุบัน แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดสิวใหม่ในอนาคต พร้อมทั้งป้องกันปัญหารอยหลุมสิวและรอยแผลเป็นที่อาจเกิดขึ้น - ดูแลปัญหาสุขภาพที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง
หากสิวของคุณมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) หรือความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ หมอสามารถตรวจพบและวางแผนการรักษาควบคู่กันไปได้อย่างเหมาะสม - รับคำแนะนำดูแลผิวและป้องกันสิวอย่างถูกวิธี
หมอผิวหนังจะให้คำแนะนำในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่เหมาะสมกับสภาพผิวของคุณ รวมถึงวิธีป้องกันการเกิดสิวในระยะยาว เช่น การเลือกใช้ครีมกันแดดสูตร Oil-free และหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่อาจก่อให้เกิดการอุดตันรูขุมขน
ข้อเสีย
- ค่าใช้จ่ายในการรักษา
การรักษาสิวกับหมอผิวหนังอาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการซื้อยาด้วยตนเอง - ความร่วมมือในการรักษา
การรักษาสิวให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เข้ารับการรักษาในการใช้ยาและดูแลผิวตามคำแนะนำของหมออย่างเคร่งครัด
คำถามพบบ่อย (FAQs)
รักษาสิว ไม่กินยา ทำได้หรือไม่
สามารถรักษาสิวโดยไม่จำเป็นต้องรับประทานยาได้ ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของสิว
รักษากับคลินิกรักษาสิว ราคากี่บาท
ค่าใช้จ่ายในการไปพบหมอผิวหนังเพื่อรักษาสิวมีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ค่ายา ค่าหัตถการทางการแพทย์ และจำนวนครั้งในการเข้ารับการรักษา

สรุป
การรักษาสิวด้วยตนเองเหมาะกับสิวขั้นเบาถึงปานกลาง โดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมเช่น Benzoyl Peroxide, Salicylic Acid หรือ Tea Tree Oil ควบคู่กับการปรับพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิต แต่หากสิวรุนแรง อักเสบ หรือรักษาเองแล้วไม่ดีขึ้น ควรพบหมอผิวหนัง เพื่อรักษา ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะสามารวินิจฉัยหาสาเหตุเฉพาะบุคคล และนำเสนอวิธีการรักษาที่เหมาะสม ไม่เพียงแก้ปัญหาสิวปัจจุบัน แต่ยังช่วยป้องกันการเกิดสิวใหม่และรอยแผลเป็นในระยะยาว พร้อมให้คำแนะนำการดูแลผิวอย่างถูกวิธีตามความต้องการเฉพาะตัว
บทความโดย
ลลิษาคลินิก : คลินิกรักษาสิว ดูแลโดยแพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านผิวหนัง (ตจวิทยา) ที่พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลปัญหาผิว
ใครที่กำลังเผชิญปัญหาผิวหน้า เป็นสิว ทำให้รู้สึกไม่มั่นใจ สามารถเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้มากประสบการณ์ด้านผิวหนังที่ลลิษาคลินิกได้ ฟรี!! ที่ตั้งคลินิก เซ็นทรัลพระราม 9 ชั้น 9 (ติดบันไดเลื่อน) และ เซ็นทรัลปิ่นเกล้า ชั้น 4