สิวหัวช้าง เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร? ไขสาเหตุพร้อมวิธีดูแล

ความรู้เรื่องสิวหัวช้าง โดยแพทย์ผิวหนัง

หลายคนคงเคยเจอปัญหาสิวหัวช้างที่ดื้อดึง รักษาเท่าไหร่ก็ไม่หายสักที รักษาแบบเร่งด่วนได้จริงหรือไม่? เป็นปัญหาใหญ่ที่ตามหลอกหลอนใครหลายคน ด้วยตุ่มแดงบวมที่เจ็บปวด ทำให้ขาดความมั่นใจ และยิ่งไปกว่านั้น หลายคนพยายามรักษามาหลายวิธีแต่ก็ยังไม่หายขาด

แล้วมีวิธีไหนบ้างที่จะจัดการกับสิวหัวช้างได้อย่างตรงจุดและปลอดภัย? ก่อนไปรู้วิธีรักษาสิวหัวช้างให้หายได้ หมอตาล ลลิษาคลินิกจะพามาทำความเข้าใจกันก่อนถึงสาเหตุสิวหัวช้างที่คอยกวนใจนั้นเกิดจากอะไรกันแน่ค่ะ

ทำความเข้าใจสิวหัวช้าง คืออะไร?

สิวหัวช้าง หรือ(Acne Conglobata) คือประเภทของสิวอักเสบที่มีความรุนแรงสูง ซึ่งเกิดจากการอักเสบในชั้นผิวหนังลึกลงไป ทำให้มีตุ่มขนาดใหญ่ ปวด บวม และแดง ซึ่งสิวหัวช้างจะไม่มีหัว หรืออาจมีหัวเล็ก ๆ จำนวนมากในตุ่มเดียว และเมื่อเป็นแล้วจะรู้สึกเจ็บปวดมากกว่าการเป็นสิวชนิดอื่น ๆ

สาเหตุสิวหัวช้างเกิดจากอะไร?

สิวหัวช้างเกิดจากอะไร

มีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบ และการอุดตันของรูขุมขน จนทำให้กลายเป็นสิวหัวช้าง ดังนี้

  • แบคทีเรีย Cutibacterium acnes: แบคทีเรียชนิดนี้มีอยู่ตามธรรมชาติบนผิวหนัง แต่เมื่อมีการเพิ่มจำนวนมากเกินไป จะทำให้เกิดการอักเสบและเป็นต้นเหตุสำคัญของสิวหัวช้าง
  • การอุดตันของรูขุมขน: สิ่งสกปรก เซลล์ผิวที่ตายแล้ว และน้ำมันจากต่อมไขมันสามารถรวมตัวกันในรูขุมขน ทำให้เกิดสิวอุดตัน ซึ่งอาจพัฒนาไปเป็นสิวหัวช้างได้
  • ฮอร์โมน: การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น การผลิตแอนโดรเจนมากเกินไป สามารถกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการอุดตันและการอักเสบ
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิต: การไม่รักษาความสะอาด เช่น การสัมผัสหน้าบ่อย ๆ หรือการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ไม่เหมาะสม สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดสิวหัวช้างได้เช่นกัน

ลักษณะของสิวหัวช้าง เป็นยังไง

ลักษณะสิวหัวช้าง.jpg

สิวหัวช้างจะมีลักษณะที่สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน โดยมีลักษณะดังนี้

  • ตุ่มนูนใหญ่: มีขนาดใหญ่ บวมแดง และไม่มีหัวหนองเหมือนสิวทั่วไป
  • สีและขนาด: ตุ่มสิวมักมีสีชมพูหรือแดง และมีขนาดใหญ่กว่าปกติ
  • ไม่มีหัวสิว: ไม่มีหัวสีขาวหรือสีดำ ซึ่งแตกต่างจากสิวประเภทอื่น ๆ ที่สามารถกดออกได้

เผยทริค สังเกตอาการของสิวหัวช้าง ด้วยตัวเองเพิ่มเติม

หากดูจากลักษณะแล้วยังไม่แน่ใจ ว่าใช่สิวหัวช้างหรือไม่ หมอตาแนะนำลองมาดูอาการของสิวหัวช้างได้ดังนี้ค่ะ

  • เจ็บปวด: มักจะรู้สึกเจ็บปวดเมื่อสัมผัสบริเวณที่เป็นสิว โดยเฉพาะเมื่อมีการอักเสบมาก
  • อาการอักเสบ: มีอาการแดงรอบ ๆ สิว และอาจมีหนองเกิดขึ้นหากปล่อยทิ้งไว้
  • การเกิดหนอง: หากสิวหัวช้างมีการอักเสบมาก อาจเกิดหนองภายใน ทำให้รู้สึกเหมือนมีของเหลวอยู่ในตุ่ม

สิวหัวช้างมักจะเกิดขึ้นบริเวณไหนบ้าง?

สิวหัวช้างขึ้นบริเวณไหน

สิวหัวช้างสามารถเกิดขึ้นได้หลายบริเวณบนใบหน้าและร่างกาย โดยมีตำแหน่งที่พบได้บ่อยดังต่อไปนี้

  • ที่บริเวณจมูก
  • คาง
  • คอ
  • แก้ม
  • หัว
  • ที่บริเวณหลัง
  • หน้าผาก
  • ปาก
  • หน้าอก

แชร์ วิธีการรักษาสิวหัวช้าง

วิธีรักษาสิวหัวช้าง อาจจะรักษาได้ยากและต้องใช้เวลาในการรักษานาน โดยมีวิธีการรักษาหลายแบบที่สามารถเลือกใช้ได้ตามความรุนแรงของอาการ ดังนี้

1. รักษาสิวด้วยยาทารักษาสิว

ยาทาสิวหัวช้าง

หากเป็นสิวหัวช้างทายาอะไรดี? หมอแนะนำควรใช้ยาทาดังต่อไปนี้

  • Benzoyl Peroxide: ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย P.acne และลดการอุดตันของรูขุมขน
  • Clindamycin: เป็นยาปฏิชีวนะที่ช่วยลดการอักเสบและฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  • Adapalene (Differin): ช่วยผลัดเซลล์ผิวและลดการอุดตัน
  • Salicylic Acid: ช่วยลดการอักเสบของสิวและป้องกันการเกิดสิวใหม่ โดยการทำให้รูขุมขนไม่ถูกอุดตัน
  • Retinoids: ช่วยเร่งการผลัดเซลล์ผิว โดยเฉพาะที่รูขุมขน ทำให้เซลล์ผิวที่ตายแล้วถูกกำจัดออกไป รวมถึงลดโอกาสในการอุดตันในอนาคต

2. รักษาด้วยการฉีดยารักษา

การฉีดยาสเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบและบวมของสิวหัวช้าง ซึ่งสิวจะยุบลงภายในไม่กี่วัน อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดแผลเป็นหรือหลุมสิว ซึ่งข้อดีก็คือสามารถรักษาได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องกรีดหนองออกจากสิว

ทั้งนี้อาจมีอาการเจ็บในขณะฉีดหรือเกิดรอยช้ำชั่วคราว แต่โดยทั่วไปจะหายไปเอง อย่างไรก็ตาม การฉีดยารักษาสิวหัวช้างจะไม่สามารถฉีดได้ทุกตำแหน่ง และควรได้รับการประเมินจากแพทย์ก่อนทุกครั้ง
อ่านเพิ่มเติม: การฉีดสิวเหมาะกับใคร

3. รักษาด้วยการทานยารักษาสิว

การทานยาเพื่อรักษาสิวหัวช้าง เป็นวิธีที่แพทย์วินิจฉัย และจ่ายยาให้เท่านั้น โดยทั่วไปมักจะสั่งจ่ายยาให้กับผู้ที่เป็นสิวหัวช้างที่อักเสบรุนแรง หรือเป็นมานานเรื้อรัง และรักษาไม่หาย

  • Antibiotics: ใช้เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิวและลดอาการอักเสบ
  • Isotretinoin: เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงในการลดการผลิตน้ำมันในผิวหนังและช่วยให้การผลัดเซลล์ผิวเป็นปกติ แต่มีผลข้างเคียงมาก โดยเฉพาะในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์

4. รักษาด้วยการกดสิว

สิวหัวช้างไม่สามารถรักษาได้ด้วยการกดสิวทั่วไปได้ เนื่องจากลักษณะของสิวหัวช้าง จะไม่มีหัวและอยู่ลึกใต้ผิวหนัง จึงไม่แนะนำให้กด เพราะอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อหรือแผลเป็นได้

5. รักษาด้วยการทำเลเซอร์

การรักษาสิวหัวช้างด้วยการทำเลเซอร์รักษาสิวเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและเห็นผลได้เร็ว โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการรักษาอื่น ๆ อย่างการทานยาหรือทายา

6. รักษาโดยการบำบัดด้วยแสง

การบำบัดด้วยแสง LED เป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ในการรักษาสิว โดยแสงจะช่วยกระตุ้นการฟื้นฟูของเซลล์ผิว และลดการผลิตไขมันจากต่อมไขมัน ซึ่งช่วยลดการอักเสบและป้องกันการเกิดสิวใหม่

7. ปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อรักษาสิวหัวช้าง

การปรึกษาแพทย์ผิวหนังเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการรักษาสิวหัวช้าง เพราะแพทย์จะวินิจฉัยสาเหตุและความรุนแรงของสิวได้อย่างแม่นยำ พร้อมวางแผนการรักษาที่เหมาะสมเฉพาะบุคคล ซึ่งจะช่วยให้อาการดีขึ้นเร็วและป้องกันการเกิดแผลเป็นในอนาคต

ที่ลลิษาคลินิก รักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเฉพาะทาง พร้อมเทคโนโลยีทันสมัยในการรักษาสิวทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการใช้เลเซอร์ การฉีดยา หรือทรีตเมนต์เฉพาะจุด โดยคำนึงถึงสภาพผิวและไลฟ์สไตล์ของคนไข้แต่ละราย นอกจากนี้ ยังมีบริการให้คำปรึกษาการดูแลผิวหลังการรักษา เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ

วิธีการป้องกัน มีวิธีอะไรบ้าง

การป้องกันสิวหัวช้างเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อหลีกเลี่ยงการรักษาที่ยุ่งยากในภายหลัง

  1. รักษาความสะอาดใบหน้า: ล้างหน้าให้สะอาด เพื่อขจัดสิ่งสกปรกและน้ำมันที่อาจทำให้เกิดสิวหัวช้าง
  2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า: ไม่ควรใช้มือที่ไม่สะอาดมาถูหรือจับใบหน้า เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ: จะช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูและลดความเครียดซึ่งเป็นปัจจัยที่กระตุ้นการเกิดสิว
  4. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ไม่อุดตัน: ใช้สกินแคร์หรือเครื่องสำอางที่อ่อนโยน และปราศจากส่วนผสมที่ก่อให้เกิดการอุดตันของรูขุมขน
  5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์: เน้นการบริโภคผักและผลไม้เพื่อเสริมสร้างสุขภาพผิว
  6. หลีกเลี่ยงสภาพอากาศร้อนชื้น: สภาพอากาศดังกล่าวสามารถกระตุ้นการผลิตน้ำมันในผิวหนัง
  7. ทำความสะอาดเครื่องนอนและผ้าเช็ดตัวบ่อย ๆ : เพื่อป้องกันการสะสมของแบคทีเรีย

สิวหัวช้างอันตรายไหม?

สิวหัวช้างอันตรายไหม

สิวหัวช้าง เป็นสิวอักเสบที่มีขนาดใหญ่และมีอาการรุนแรง ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพผิวหนังได้ดังนี้

  • การอักเสบ: สิวหัวช้างเกิดจากการอักเสบที่ลึกในผิวหนัง ทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อและการอักเสบที่รุนแรง
  • แผลเป็น: การรักษาสิวหัวช้างไม่ถูกต้องหรือปล่อยให้หายเองอาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นลึก เช่น รอยดำ รอยแดง หรือหลุมสิว ซึ่งรักษาได้ยาก
  • การพัฒนาเป็นฝี: หากไม่รักษา สิวหัวช้างอาจพัฒนาไปเป็นฝี ซึ่งเป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

การดูแลผิวเมื่อเป็นสิวหัวช้าง

การดูแลผิวเมื่อเป็นสิวหัวช้าง

การดูแลผิวเมื่อเป็นสิวหัวช้างนั้นมีความสำคัญมาก ซึ่งการดูแลที่เหมาะสมจะช่วยลดอาการและป้องกันการเกิดรอยแผลเป็นได้

  1. รักษาความสะอาด: ล้างหน้าหรือส่วนอื่น ๆ ที่เกิดสิวให้สะอาดอยู่เสมอ อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการปล่อยให้เหงื่อและความมันสะสม
  2. หลีกเลี่ยงการแต่งหน้า: ในช่วงที่เป็นสิวมาก ควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางที่อาจทำให้รูขุมขนอุดตัน
  3. ใช้ยารักษาสิวตามคำแนะนำ: ทายาหรือครีมรักษาสิวหัวช้างตามที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำ เช่น เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ หรือเรตินอล
  4. พักผ่อนให้เพียงพอ: การนอนหลับช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูและซ่อมแซมเซลล์ผิว
  5. ดูแลเส้นผม: สระผมเป็นประจำและหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมัน
  6. ทำความสะอาดสิ่งของที่สัมผัสใบหน้า: เช่น หมอนและผ้าขนหนู เพื่อป้องกันการสะสมของแบคทีเรีย
  7. ไม่สัมผัสหรือถูใบหน้า: หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าบ่อย ๆ เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อ
  8. ไม่บีบหรือแกะสิว: การบีบสิวหัวช้างอาจทำให้อักเสบมากขึ้นหรือเกิดการติดเชื้อ

(FAQ) คำถามที่พบบ่อย

1. รักษาสิวหัวช้างอย่างไร ไม่ให้เป็นแผลเป็น?

ห้ามแกะหรือบีบสิว และใช้ยารักษาสิวหัวช้างตามแพทย์สั่ง เช่น ยาทาเฉพาะที่หรือยารับประทาน

2. สิวหัวช้างบีบได้ไหม ?

ไม่ควรบีบสิวหัวช้างเด็ดขาด เพราะอาจทำให้การอักเสบรุนแรงขึ้น และเพิ่มโอกาสการเกิดแผลเป็น

3. สิวหัวช้าง สามารถหายเองได้ไหม? กี่วันถึงจะหาย?

สิวหัวช้างสามารถหายเองได้ แต่ใช้เวลานาน ซึ่งบางรายอาจจะใช้เวลาหลายเดือน

4. สิวหัวช้างกับสิวอักเสบเหมือนกันหรือไม่?

ไม่เหมือนกันเพราะสิวหัวช้างเป็นสิวอักเสบชนิดรุนแรง อยู่ลึก มีหนอง มีขนาดใหญ่ แต่สิวอักเสบทั่วไป จะมีขนาดเล็กกว่า อาการอักเสบน้อยกว่า อยู่ตื้นกว่า เจาะลึกสิวอักเสบเพิ่มเติม: สิวอักเสบ เกิดจากอะไร?

5. สิวหัวช้างถ้าหากปล่อยทิ้งไว้จะเป็นรอยสิวไหม?

สิวหัวช้างมีโอกาสสูงที่จะทิ้งรอยแผลเป็นไว้ หากยิ่งปล่อยไว้นาน โอกาสเกิดแผลเป็นยิ่งมากขึ้น ดังนั้น จึงควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาสิวหัวช้างที่เหมาะสม

สรุป

สิวบางชนิดที่ไม่รุนแรง การใช้ยาแต้มอาจช่วยให้อาการดีขึ้นได้ แต่สำหรับ สิวหัวช้าง ซึ่งเป็นสิวอักเสบที่มีการติดเชื้อ ไม่ควรพยายามกด บีบ หรือรักษาด้วยตัวเอง เพราะจะทำให้การอักเสบและการติดเชื้อรุนแรงขึ้น หมอตาลแนะนำควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเพื่อรับการรักษาสิวหัวช้างที่เหมาะสม

ซึ่งหากคนไข้กำลังมีปัญหาเรื่องผิวหนัง อย่าง สิวหัวช้าง ที่ลลิษาคลินิก พร้อมให้คำแนะนำในการดูแลผิวเพื่อกำจัดปัจจัยที่ทำให้เกิดสิว การรักษาความสะอาด และการเสริมความแข็งแรงให้ผิวอย่างถูกวิธี ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสิวหัวช้างซ้ำ วิธีนี้จะให้ผลการรักษาที่ดีและยั่งยืนกว่าการรอให้เกิดสิวแล้วค่อยมารักษา ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเกิดแผลเป็นหรือรอยดำจากสิวได้

แหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับข้อมูลสิวหัวช้าง

healthline. Acne Conglobata: Symptoms, Causes, Treatment, and More. Medically reviewed by Cynthia Cobb, DNP, APRN, WHNP-BC, FAANP. Kristeen Cherney. September 29, 2018.
https://www.healthline.com/health/beauty-skin-care/acne-conglobata

patient. Acne Conglobata and Rarer Forms of Acne. Peer reviewed by Dr Rachel Hudson, MRCGPLast.updated by Dr Colin Tidy, MRCGP. 20 Mar 2023.
https://patient.info/doctor/acne-conglobata-and-rarer-forms-of-acne

ncbi. Acne Conglobata. Wissem Hafsi; David L. Arnold; Michael Kassardjian. June 1, 2023.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK459219/

บทความโดย

ลลิษาคลินิก : คลินิกรักษาสิว ดูแลโดยแพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านผิวหนัง (ตจวิทยา) ที่พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลปัญหาผิว

ใครที่กำลังเผชิญปัญหาผิวหน้า เป็นสิว ทำให้รู้สึกไม่มั่นใจ สามารถเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้มากประสบการณ์ด้านผิวหนังที่ลลิษาคลินิกได้ ฟรี!! ที่ตั้งคลินิก เซ็นทรัลพระราม 9 ชั้น 9 (ติดบันไดเลื่อน)