สิวซีสต์คืออะไร? รักษายังไงให้หาย? รู้ทันอาการพร้อมการป้องกันอย่างถูกวิธี

cysticacne

สิวซีสต์เป็นสิวที่เกิดจากการอุดตันของรูขุมขนและการอักเสบ ซึ่งสามารถพบได้ทั้งบนใบหน้าและส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ที่หลัง หรือก้น หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจทำให้มีแผลเป็นหรืออาการเจ็บปวดได้ บทความนี้เราจะมาดูกันว่า สิวซีสต์เกิดจากอะไร อาการเป็นอย่างไร และวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพที่จะช่วยให้สิวหายเร็วขึ้น หากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง สิวซีสต์อาจทำให้เกิดการอักเสบจนเป็นปัญหาผิวที่รุนแรงขึ้นได้

สิวซีสต์ คืออะไร?

สิวซีสต์คือ

สิวซีสต์ (Cystic Acne) คือ สิวอักเสบชนิดที่มีความรุนแรง มีลักษณะเป็นตุ่มหรือก้อนนูนแดงขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นใต้ผิวหนัง มักพบได้บนใบหน้า หน้าอก และที่หลัง สิวชนิดนี้เกิดจากการอุดตันของรูขุมขนร่วมกับการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดการอักเสบลึกถึงชั้นหนังแท้ ส่งผลให้มีอาการเจ็บ ปวด และอาจทิ้งรอยแผลเป็นหรือหลุมสิวหลังสิวยุบลง

สิวซีสต์ เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง?

สิวซีสต์เกิดจาก

สิวซีสต์เกิดได้จากหลากหลายปัจจัย ทั้งจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และสิ่งแวดล้อม โดยสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสิวซีสต์ ได้แก่

1. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงวัยรุ่น ช่วงมีประจำเดือน หรือระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากเกินไป จนเกิดการสะสมและอุดตันรูขุมขน

2. ความมันของผิว

ผิวมันทำให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากเกินไป ซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำหรับเชื้อ P. acnes ทำให้เชื้อเติบโตและเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อและเกิดสิว

3. การทำความสะอาดผิวไม่เพียงพอ

การทำความสะอาดผิว

การล้างหน้าไม่สะอาดหรือไม่อาบน้ำหลังออกกำลังกายทำให้เซลล์ผิวและสิ่งสกปรกอุดตันรูขุมขน เกิดการติดเชื้อและสิว (สามารอ่านวิธีล้างหน้าที่ถูกต้องได้ที่: ล้างหน้าอย่างไรให้ถูกวิธี)

4. จากการอุดตันของรูขุมขน

การสะสมของน้ำมัน เซลล์ผิวที่ตายแล้ว และสิ่งสกปรกในรูขุมขน ทำให้เกิดการอักเสบลึกในชั้นผิวหนัง

5. การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสม

การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำมัน (Oil-based) โดยเฉพาะในผู้ที่มีผิวมัน จะกระตุ้นให้ผิวหน้ามันมากขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดสิวซีสต์

ลักษณะอาการสิวซีสต์เป็นยังไง

ลักษณะสิวซีสต์
  1. มีลักษณะเป็นตุ่มหรือก้อนบวมแดงขนาดใหญ่ ในบางครั้งอาจมีหัวหนองสีขาวเหลืองอยู่ตรงกลาง
  2. รู้สึกเจ็บเมื่อสัมผัส และในบางกรณีอาจมีอาการคันบริเวณตุ่มสิว
  3. สิวซีสต์เป็นสิวอักเสบรุนแรงที่ส่งผลลึกถึงชั้น Dermis ทำให้รักษาได้ยากและมักทิ้งรอยแผลเป็น
  4. มักเกิดบริเวณใบหน้า ซึ่งมีต่อมไขมันจำนวนมาก แต่สามารถพบได้ที่ลำคอ หน้าอก แผ่นหลัง แขน และก้น
  5. มีของเหลวข้นหรือหนองสะสมอยู่ภายใน และหากสิวแตก อาจทำให้หนองไหลและเสี่ยงต่อการติดเชื้อลุกลาม
  6. เมื่อสิวยุบลง มักทิ้งรอยแดง รอยดำ หรือหลุมสิว เนื่องจากเนื้อเยื่อบริเวณนั้นถูกทำลาย

บริเวณที่มักเกิดสิวซีสต์

สิวซีสต์มักมักเกิดในบริเวณที่ผิวมันมาก เนื่องจากไขมันส่วนเกิน เซลล์ผิวที่ตายแล้ว และเชื้อแบคทีเรียสะสมในรูขุมขนจนเกิดการอุดตัน โดยบริเวณที่มักเกิดสิวซีสต์ มีดังนี้

  • ใบหน้า
  • ที่หน้าอก
  • ที่หลัง
  • แขน
  • ก้น

สิวซีสต์ อันตรายไหม?

สิวซีสต์ถือเป็นสิวอักเสบรุนแรงที่อาจก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางร่างกายและจิตใจ แม้จะไม่อันตรายถึงชีวิต แต่สามารถส่งผลกระทบได้ในหลายด้าน เช่น อาการปวด การติดเชื้อ และการทิ้งรอยแผลเป็นถาวร อีกทั้งอาจส่งผลต่อความมั่นใจ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม จึงควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อการดูแลและป้องกันผลเสียต่อผิวในระยะยาว

วิธีรักษาสิวซีสต์

การใช้ยารักษาสิวซีสต์

ยารักษา
  • ใช้ยาทาฆ่าเชื้อ ยาทาฆ่าเชื้อช่วยลดการอักเสบและกำจัดแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของสิวซีสต์ เช่น เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide), คลินดามัยซิน (Clindamycin) แต่ควรใช้ยาภายใต้คำแนะนำแพทย์ เนื่องจากอาจเกิดผลข้างเคียง เช่น ผิวแห้ง ลอก และไวต่อแสง
  • ยาปฏิชีวนะ แพทย์อาจสั่งยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อและลดการอักเสบของสิวซีสต์ โดยมีทั้งชนิดทและชนิดรับประทาน เช่น ด็อกซีไซคลิน (Doxycycline), มิโนไซคลิน(Minocycline), เตตราไซคลิน (Tetracycline) ยาปฏิชีวนะเหล่านี้มักใช้ในกรณีที่สิวซีสต์มีการอักเสบรุนแรงหรือแพร่กระจาย ขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์ ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น เพื่อป้องกันการดื้อยา
  • ยาฮอร์โมน สำหรับผู้หญิงที่มีสิวซีสต์ที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน การใช้ยาฮอร์โมนสามารถช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนที่ก่อให้เกิดสิวได้ เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด หรือยาสไปโรโนแลคโตน (Spironolactone) แต่ก็มีข้อห้ามสำหรับหญิงตั้งครรภ์หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพบางอย่าง

การรักษาโดยแพทย์ผิวหนัง

วิธีรักษาโดยแพทย์
  • การกรีดระบายหนอง
    แพทย์อาจทำการกรีดสิวซีสต์เพื่อระบายหนองออก ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบและบรรเทาอาการเจ็บ ทำให้สิวยุบลงและฟื้นฟูได้เร็วขึ้น
  • การฉีดยาสเตียรอยด์
    การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าไปในสิวซีสต์โดยตรงจะช่วยลดการอักเสบและทำให้สิวยุบเร็วขึ้น ลดความเจ็บปวดและอาการบวม โดยมักใช้เมื่อสิวซีสต์มีขนาดใหญ่หรืออักเสบมาก
  • เลเซอร์รักษาสิวซีสต์
    สำหรับการใช้เลเซอร์รักษาสิวเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เน้นลดการอักเสบ, ควบคุมการทำงานของต่อมไขมัน และลดรอยแผลเป็นหลังสิว โดยเลเซอร์ที่นิยมใช้มีดังนี้ Pulse Dye Laser (PDL), IPL (Intense Pulsed Light), Blue Light Therapy, Fractional Laser, Carbon Dioxide (CO2) Laser

หากเป็นสิวซีสต์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลผิวและการใช้ยารักษาตามที่แพทย์แนะนำ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อฮอร์โมน หรือเป็นสิวซีสต์เรื้อรัง การรักษาอย่างเหมาะสมจะช่วยให้สิวหายเร็วขึ้นโดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็น โดยที่ ลลิษาคลินิก เรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลผิวของคุณอย่างครบวงจร เพื่อตอบโจทย์กับทุกปัญหาผิวคุณ

การดูแลผิวเมื่อเป็นสิวซีสต์

หากคุณกำลังเป็นสิวซีสต์ สามารถดูแลผิวได้โดยรักษาความสะอาดผิว เพื่อป้องกันการสะสมของแบคทีเรียและลดการอักเสบ งดการบีบสิวหรือกดสิวซีสต์ด้วยตัวเอง เพราะอาจทำให้การติดเชื้อหรืออักเสบรุนแรงมากขึ้น เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ AHA และ BHA เพื่อผลัดเซลล์ผิว ควบคู่กับเจลล้างหน้า ครีมบำรุง และครีมกันแดด โดยเลือกให้เหมาะกับสภาพผิวของแต่ละคน

มีวิธีการป้องกันอย่างไร

แนะนำวิธีการป้องกัน

สามารถทำได้โดยการดูแลผิวหน้าและสุขภาพให้ดี ดังนี้

  1. ทำความสะอาดผิวหน้า: ล้างหน้าวันละ 2 ครั้ง ด้วยผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาพผิว เพื่อลดการอุดตันของรูขุมขน
  2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า: หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงที่ผิวหน้า เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรีย
  3. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำให้เกิดการอุดตัน: เลือกใช้เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ไม่ทำให้รูขุมขนอุดตัน (Non-comedogenic)
  4. รักษาความสะอาดของสิ่งของที่สัมผัสใบหน้า: เช่น โทรศัพท์, ปลอกหมอน, และหน้ากากอนามัย เพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมของสิ่งสกปรกที่อาจทำให้เกิดสิว
  5. หลีกเลี่ยงการบีบหรือแกะสิวด้วยตัวเอง: เพราะอาจทำให้เกิดรอยแผลจากสิว และอาจทำให้เกิดการติดเชื้อจนนำไปสู่การเกิดแผลเป็นถาวรได้
  6. หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองของผิว: เช่น การสครับผิวบ่อยเกินไป การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำหอมหรือแอลกอฮอล์
  7. ควบคุมความเครียดและการพักผ่อน: ความเครียดและการนอนหลับไม่เพียงพออาจกระตุ้นการเกิดสิว ควรหาวิธีผ่อนคลายและพักผ่อนให้เพียงพอ
  8. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์: หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง เช่น เบเกอรี่ ของมัน ของทอด เพราะเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดสิว

รักษาสิวซีสต์ที่ไหนดี?

การเลือกสถานที่สำหรับรักษาสิวซีสต์ควรไปที่คลินิกหรือโรงพยาบาลที่มีแพทย์ผิวหนังผู้เชี่ยวชาญเพื่อการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง ที่ ลลิษาคลินิก มีบริการรักษาไม่ว่าจะเป็นสิวซีสต์หรือปัญหาสิวประเภทอื่น ๆ โดยแพทย์จะทำการวินิจฉัยและแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสม เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะ ยาทาเฉพาะจุด หรือการรักษาด้วยเลเซอร์เพื่อลดการอักเสบและป้องกันการเกิดแผลเป็นในระยะยาว หากสงสัยเกี่ยวกับปัญหาผิว สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ผ่าน LINE Official

FAQ (คำถามที่พบบ่อย)

สิวซีสต์ รักษาเองได้ไหม?

สามารถหายได้เองตามธรรมชาติ แต่จำเป็นต้องใช้เวลานาน ทำให้คนไข้ส่วนใหญ่รู้สึกเจ็บปวดและกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังมักทิ้งรอยแผลเป็นไว้บนผิวหนังอีกด้วย จึงควรพบแพทย์ผิวหนังเพื่อการรักษาที่เหมาะสม เนื่องจากเป็นสิวอักเสบรุนแรง การปล่อยให้สิวซีสต์หายเองตามธรรมชาติอาจทำให้เกิดแผลเป็นหรือการอักเสบที่รุนแรงขึ้นได้

สิวซีสต์เกิดขึ้นซ้ำ ๆ เพราะอะไร? แก้ไขอย่างไรดี?

เกิดซ้ำ ๆ ได้จากหลายปัจจัย เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน, การทำความสะอาดผิวไม่ดี, การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสมกับผิว และพันธุกรรม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและดูแลอย่างถูกวิธีจะช่วยลดการเกิดสิวซีสต์ซ้ำได้

สิวซีสต์สามารถหายเองได้ไหม?

สิวซีสต์ใช้เวลานานกว่าจะหายเองตามธรรมชาติ เนื่องจากเป็นสิวอักเสบรุนแรงที่เกิดลึกในชั้นผิวหนัง หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาจใช้เวลานานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนจึงจะยุบ และอาจทิ้งรอยแผลเป็นหรือหลุมสิวถาวรได้
การรักษาสิวซีสต์ควรปรึกษาแพทย์เพื่อใช้วิธีที่เหมาะสม เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาแต้มสิว หรือการฉีดสิว ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบและทำให้สิวซีสต์หายเร็วขึ้น

สิวซีสต์สามารถกดเองได้ไหม?

กดสิวเอง

ไม่ควรกดสิวซีสต์เอง เพราะการกดอาจทำให้สิวติดเชื้อ ลุกลาม และทิ้งรอยแผลเป็นหรือหลุมสิว ควรให้แพทย์ดูแลและรักษาอย่างเหมาะสม เช่น การฉีดยาหรือการใช้ยาทาเพื่อลดอาการอักเสบ

สิวซีสต์แตก ต้องทำยังไง?

หากสิวซีสต์แตก ควรทำความสะอาดแผลด้วยน้ำเกลือหรือน้ำยาฆ่าเชื้อ ห้ามสัมผัสหรือขยี้แผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อ หลังจากนั้นควรปิดแผลด้วยผ้าก๊อซหรือปลาสเตอร์สะอาด และพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะหรือการดูแลเฉพาะจุด

เป็นสิวซีสต์อย่างไรควรต้องไปหาหมอ?

ควรปรึกษาแพทย์ที่คลินิกรักษาสิวหากสิวซีสต์มีขนาดใหญ่ เจ็บปวดเรื้อรัง ลุกลามเป็นบริเวณกว้าง หรือทิ้งรอยแผลเป็นหลังหาย แม้รักษาเองแล้วแต่ก็ยังไม่ดีขึ้น การพบแพทย์ช่วยวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม เช่น การใช้ยาเฉพาะจุด ยาปฏิชีวนะ หรือฉีดยา เพื่อลดอาการอักเสบและป้องกันการเกิดสิวซีสต์ซ้ำ

แหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับข้อมูลสิวซีสต์

clevelandclinic. Cystic Acne: What Is It, Symptoms, Causes and Treatment. 08/25/2021.
https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/21737-cystic-acne

webmd. Cystic Acne: Definition, Causes, Treatment, and Prevention. June 14, 2024Written by WebMD Editorial Contributors.
https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/cystic-acne

healthline. Cystic Acne: Identification, Causes, and More.by Kristeen Cherney.on March 8, 2019.
https://www.healthline.com/health/beauty-skin-care/cystic-acne

บทความโดย

ลลิษาคลินิก : คลินิกรักษาสิว ดูแลโดยแพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านผิวหนัง (ตจวิทยา) ที่พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลปัญหาผิว

ใครที่กำลังเผชิญปัญหาผิวหน้า เป็นสิว ทำให้รู้สึกไม่มั่นใจ สามารถเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้มากประสบการณ์ด้านผิวหนังที่ลลิษาคลินิกได้ ฟรี!! ที่ตั้งคลินิก เซ็นทรัลพระราม 9 ชั้น 9 (ติดบันไดเลื่อน)