สิวฮอร์โมน ในผู้ชายและหญิง รักษาได้ไม่ยาก แค่รู้สาเหตุและการป้องกัน

สิวฮอร์โมน คืออะไร รักษาอย่างไร โดยแพทย์ผิวหนัง

สิวฮอร์โมน (Hormonal Acne) เป็นปัญหาผิวที่พบได้บ่อยในทั้งผู้ชายและผู้หญิง มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศภายในร่างกายที่ส่งผลต่อการทำงานของต่อมไขมันและการอักเสบของผิวหนัง สิวประเภทนี้สามารถทำให้รู้สึกไม่มั่นใจและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ที่ประสบปัญหา บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจสิวฮอร์โมน วิธีสังเกต และวิธีการรักษาที่เหมาะสม  

สิวฮอร์โมน คืออะไร 

สิวฮอร์โมน (Hormonal Acne) คือสิวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งทำให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากขึ้น และส่งผลให้เกิดการอุดตันของรูขุมขน สิวฮอร์โมนมักเกิดบริเวณใบหน้า โดยเฉพาะบริเวณแก้ม คาง และกราม ซึ่งสิวฮอร์โมนสามารถมีลักษณะเป็นสิวหัวดำ สิวหัวขาว สิวอักเสบ หรือสิวซีสต์ก็ได้ 

วิธีสังเกตสิวฮอร์โมนง่าย ๆ

สิวฮอร์โมน มีลักษณะคล้ายสิวชนิดอื่นๆทั่วไป แต่สิวฮอร์โมนมักเป็นตุ่มใหญ่ และเกิดขึ้นเป็นประจำซ้ำๆในช่วงเวลาที่ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงช่วงเดิมๆ เช่น ช่วงมีประจำเดือนหรือช่วงวัยรุ่น ช่วงที่เครียดสะสมมาก ช่วงที่กินยาฮอร์โมนบางชนิด สิวประเภทนี้มักมีขนาดใหญ่และอักเสบมากกว่าสิวทั่วไป 

จะรู้ได้ยังไงว่าเป็นสิวฮอร์โมน 

การสังเกตว่าตนเองเป็นสิวฮอร์โมนสามารถทำได้โดยดูว่ามีสิวเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงหรือไม่ และลักษณะของสิวนั้นมีขนาดใหญ่และอักเสบหรือไม่ ละตำแหน่งที่พบ เช่น ใบหน้า คอ หน้าอก และหลัง หากมีอาการเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่เหมาะสม 

สิวฮอร์โมน เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง

สาเหตุของการเกิดสิวฮอร์โมน

สิวฮอร์โมนเกิดจากสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยเกิดจากปริมาณฮอร์โมนที่ไม่สมดุลภายในร่างกาย เช่น ในช่วงมีประจำเดือนหรือ วัยรุ่นซึ่งฮอร์โมนเพศชาย แอนโดรเจน (Androgens) และ ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) ที่เพิ่มขึ้นทำให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากขึ้น  ส่วนปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดสิวฮอร์โมนอื่นๆ  

  • แสงแดด ฝุ่นควันและมลภาวะ  
  • ความเครียด: ส่งผลให้ฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มขึ้น 
  • การใช้ยาบางชนิด: เช่น ยาคุมกำเนิดหรือสเตียรอยด์ 
  • การรับประทานอาหาร: อาหารที่มีน้ำตาลสูงหรือผลิตภัณฑ์นม 
  • การอักเสบของรูขุมขนและการสะสมของน้ำมันส่วนเกิน: การอุดตันของรูขุมขนทำให้เกิดการอักเสบ 

บริเวณที่มักเกิดสิวฮอร์โมน 

สิวฮอร์โมนมักเกิดบริเวณใบหน้า เช่น แก้ม คาง และกราม นอกจากนี้ยังสามารถเกิดบริเวณหลังและหน้าอกได้ 

สิวฮอร์โมน กี่วันหาย 

สิวฮอร์โมนมักจะใช้เวลาหลายวันถึงหลายสัปดาห์ในการยุบ ปกติจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามระยะเวลาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสิวและวิธีการรักษาและการดูแลผิวหนัง  

ป้องกันอย่างไร ไม่ให้สิวฮอร์โมนขึ้น 

การป้องการสิวฮอร์โมน
  • ดูแลความสะอาดของผิว: ล้างหน้าวันละสองครั้งด้วยคลีนเซอร์ที่อ่อนโยนและผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม 
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า: การสัมผัสใบหน้าบ่อยๆ สามารถทำให้แบคทีเรียและสิ่งสกปรกเข้าสู่รูขุมขน 
  • ลดความเครียด: การฝึกเทคนิคการผ่อนคลายเช่นโยคะหรือการทำสมาธิ 
  • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม: เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีน้ำมันและเหมาะสำหรับผิวเป็นสิว 
  • ดื่มน้ำให้มาก และนอนหลับให้เพียงพอ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน 

เป็นสิวฮอร์โมนมีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง ?

สิวฮอร์โมนรักษาอย่างไร

การใช้ยาทาภายนอก

  • เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ Benzoly peroxide 2.5%-5% ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย 
  • เรตินอยด์ retinoids 0.01%-0.1% ซึ่งช่วยลดการอักเสบและ ช่วยผลักเซลล์ผิวเพื่อลดการอุดตันของรูขุมขน 
  • ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ (Clindamycin 1%) 

หากสิวที่เป็นมีความรุนแรงระดับปานกลางหรือรุนแรงอาจต้องมีการรักษาด้วยยารับประทานด้วยควรเข้าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง

ใช้ยาที่แพทย์สั่ง: เช่น ยาปฏิชีวนะหรือยาลดฮอร์โมน หากการรักษาภายนอกไม่ได้ผล ซึ่งการใช้ยารับประทานควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเพื่อความปลอดภัยและถูกต้องเนื่องจากมียาหลายชนิด สำหรับผู้หญิง ยาคุมกำเนิดช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน มีสี่ชนิดที่ได้รับการอนุมัติจาก FDA สำหรับการรักษาสิว เช่น norgestimate-ethinyl estradiol (Ortho Tri-Cyclen) และ drospirenone/ethinyl estradiol (Yaz) 

การรักษาด้วยวิธีการทางการแพทย์อื่นๆ 

  • การรักษาด้วยเลเซอร์และการบำบัดด้วยแสง: ช่วยลดการอักเสบและฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และลดความเสี่ยงที่จะเกิดรอยดำ หรือ หลุมสิว จากสิวได้ 
  • การฉีดสิว เป็นการฉีดยาเพื่อลดการอักเสบของสิวที่อักเสบรุนแรงหรือมีลักษณะ เป็นก้อนแข็งอยู่ใต้ผิวหนัง ((อ่านเพิ่มเติมในบทความฉีดสิว) 

เป็นสิวฮอร์โมนต้องดูแลตัวเองอย่างไร 

  • รักษาความสะอาดของผิวหนัง: ล้างหน้าเช้าเย็นด้วยผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม 
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า: ลดการสัมผัสใบหน้าเพื่อลดการแพร่กระจายของแบคทีเรีย 
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีน้ำมัน: เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีน้ำมันและเหมาะสำหรับผิวเป็นสิว 

สิวฮอร์โมนผู้ชาย 

สิวฮอร์โมนในผู้ชายมักเกิดในช่วงวัยรุ่นและเกิดจากฮอร์โมนเพศชายที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากขึ้น ผู้ชายที่เป็นสิวฮอร์โมนควรดูแลความสะอาดของผิวหน้าและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาพผิว ควรหลีกเลี่ยงการโกนที่อาจทำให้ผิวระคายเคือง 

สิวฮอร์โมนหากเป็นในผู้ชาย ควรทำอย่างไร? 

ผู้ชายที่เป็นสิวฮอร์โมนควรดูแลความสะอาดของผิวหน้าและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และการลดความเครียดก็สามารถช่วยลดสิวได้ 

สิวฮอร์โมนผู้หญิง 

สิวฮอร์โมนในผู้หญิงมักเกิดขึ้นในช่วงที่ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง เช่น ก่อนมีประจำเดือน ผู้หญิงที่เป็นสิวฮอร์โมนสามารถใช้ยาคุมกำเนิดหรือยาต้านฮอร์โมนแอนโดรเจนเพื่อลดสิว หรือยาลดฮอร์โมนตามที่แพทย์แนะนำ ควรดูแลความสะอาดของผิวหน้าและเลือกใช้เครื่องสำอางที่ไม่อุดตันรูขุมขน 

สิวฮอร์โมนหากเป็นในผู้หญิง ควรทำอย่างไร? 

ผู้หญิงที่เป็นสิวฮอร์โมนควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาที่เหมาะสม การใช้ยาคุมกำเนิดหรือยาต้านฮอร์โมนแอนโดรเจนสามารถช่วยลดสิวได้ 

สิวฮอร์โมน รักษาแบบธรรมชาติ ได้ไหม 

การรักษาสิวฮอร์โมนด้วยวิธีธรรมชาติ

การรักษาแบบธรรมชาติสามารถช่วยบรรเทาอาการได้ สามารถทำได้หากเป็นสิวฮอร์โมนที่ไม่รุนแรงหรือมีปริมาณน้อย เช่น  

  • ลดการจับ แกะ ขัดนวดหัวสิวโดยไม่จำเป็น  
  • ใช้น้ำมันทีทรี ลดการเกิดสิว หรือใช้สารที่มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบอื่นๆ อย่างไรก็ตามการใช้สมุนไพรบางชนิดควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนเพื่อความปลอดภัย 
  • หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางต่าง ๆที่อาจทำให้เกิดการอุดตัน และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน 
  • ทำความสะอาดใบหน้าที่เหมาะสม 
  • การปรับอาหารที่มีน้ำมันต่ำ 

คำถามที่พบบ่อย 

เป็นสิวฮอร์โมนมีโอกาสหายไหม 

สิวฮอร์โมนหายยากแต่สามารถหายได้หากได้รับการรักษาที่เหมาะสมและดูแลผิวอย่างถูกวิธี ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะต้องเป็นการรักษาโดยแพทย์เนื่องจากอาจจะต้องมีการทานยาปรับฮอร์โมนในคนไข้บางราย 

สิวฮอร์โมนยุบเองได้ไหม 

สิวฮอร์โมนบางครั้งสามารถยุบเองได้ แต่อาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานาน ซึ่งการเข้ารับการรักษาที่ถูกวิธีจะช่วยให้สิวยุบเร็วขึ้นและช่วยลดการเกิดแผลเป็นในอนาคตได้ 

สรุป 

สิวฮอร์โมนเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ส่งผลให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากขึ้นและเกิดการอุดตันของรูขุมขน การดูแลรักษาผิวหน้าและการปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมจะช่วยให้สิวยุบเร็วขึ้นและลดการเกิดแผลเป็น 

แหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับข้อมูลสิวฮฮร์โมน

Zaenglein, A. L., Pathy, A. L., Schlosser, B. J., et al. (2016). Guidelines of care for the management of acne vulgaris. Journal of the American Academy of Dermatology, 74(5), 945-973.e33. 
https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0190962215026146

Thiboutot D. (2004). “Hormonal therapies for acne”. Journal of the American Academy of Dermatology.
https://www.ingentaconnect.com/contentone/fmc/scms/2008/00000027/00000003/art00005

Zaenglein AL, Thiboutot DM. (2006). “Expert committee recommendations for acne management”. Pediatrics.

https://publications.aap.org/pediatrics/article-abstract/118/3/1188/69419/Expert-Committee-Recommendations-for-Acne

บทความโดย

ลลิษาคลินิก : คลินิกรักษาสิว ดูแลโดยแพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านผิวหนัง (ตจวิทยา) ที่พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลปัญหาผิว

ใครที่กำลังเผชิญปัญหาผิวหน้า เป็นสิว ทำให้รู้สึกไม่มั่นใจ สามารถเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้มากประสบการณ์ด้านผิวหนังที่ลลิษาคลินิกได้ ฟรี!! ที่ตั้งคลินิก เซ็นทรัลพระราม 9 ชั้น 9 (ติดบันไดเลื่อน)