รู้จัก! สิวเม็ดข้าวสาร เกิดจากอะไร พร้อมเผยวิธีรักษาและวิธีป้องกันง่าย ๆ

ความรู้เรื่องสิวข้าว โดยแพทย์ผิวหนัง

สิวข้าวสาร

สิวเม็ดข้าวสาร หรือที่รู้จักอีกชื่อ สิวข้าวสาร เป็นภาวะทางผิวหนังที่พบได้ทั่วไปทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก ส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณใบหน้า โดยเฉพาะรอบดวงตาและแก้ม สิวข้าวสารมักมีลักษณะเป็นตุ่มเล็กๆ สีขาวคล้ายข้าวสาร ไม่เจ็บหรือคัน และไม่สามารถบีบออกได้เหมือนสิวหัวขาวทั่วไป ด้วยเหตุนี้เลยทำให้หลาย ๆ คนนั้นรู้สึกไม่สบายใจและไม่มั่นใจในผิวหน้าของตนเอง

สิวเม็ดข้าวสาร คืออะไร? ลักษณะแบบไหน? 

สิวเม็ดข้าวสาร (Milia) คือตุ่มเล็ก ๆ สีขาวที่เกิดขึ้นใต้ชั้นผิวหนังเกิดจากการสะสมของเคราตินและเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วอยู่ใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดตุ่มเล็กๆ สีขาวซึ่งมักจะไม่เจ็บหรือคัน สิวประเภทนี้มักเกิดขึ้นบริเวณใบหน้า โดยเฉพาะรอบดวงตาและแก้ม

ดูยังไงว่าเป็นสิวข้าวสาร?

สิวข้าวสารมีลักษณะเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีขาว ขนาดเล็กกว่า 1 มิลลิเมตร มักเกิดขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ โดยเฉพาะบริเวณหน้าผาก คาง รอบดวงตาและแก้ม

สาเหตุของการเกิดสิวเม็ดข้าวสาร

สิวข้าวสาร สิวเม็ดข้าวสาร เกิดจาก

สิวเม็ดข้าวสารเกิดจากความผิดปกติของผิวหนังที่ทำให้มีการสะสมของเคราตินและเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วใต้ผิวหนังจนเป็นตุ่มนูน ทำให้เกิดตุ่มเล็กๆ สีขาว 

โดยมีปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดสิวข้าวสารได้แก่ 

  • การบาดเจ็บเล็กน้อยของผิวหนัง เช่น เสียดสีบ่อยจากการขัดผิวแรง ผิวอักเสบ แผลไหม้
  • การใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ไม่เหมาะสม
  • การใช้ยาบางอย่าง เช่น ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ ยาไฮโดรควิโนน 
  • การสัมผัสกับแสงแดดเป็นเวลานาน 
  • โรคทางกาย หรือ มะเร็งบางชนิดที่เพิ่มโอกาสสิวข้าวสาร

วิธีรักษาสิวเม็ดข้าวสาร มีอย่างไรบ้าง 

สิวข้าวสาร วิธีรักษา

การรักษาสิวเม็ดข้าวสาร สามารถทำได้หลายวิธีซึ่งมีวิธีหลัก ๆ ดังนี้

  1. เลือกรักษาด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ผลัดเซลล์ผิว
    วิธีนี้เป็นวิธีรักษาพื้นฐานง่าย ๆ ที่ทำเองจากที่บ้านได้ ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมสำคัญอย่าง AHA และ BHA ซึ่งสองส่วนผสมนี้สามารถช่วยผลัดเซลล์ผิวได้อย่างอ่อนโยนและดี นอกจากสองส่วนผสมนี้แล้วยังมีเรตินอลและกรดซาลิไซลิกที่ช่วยลกการอุดตันของรูขุมขนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. การใช้เลเซอร์รักษา
    การใช้เลเซอร์รักษาเป็นวิธีที่ช่วยรักษาสิวเม็ดข้าวสารได้ แต่ควรทำกับแพทย์เท่านั้น โดยการทำจะมีขั้นตอนในการทายาชา กับใช้ลำแสงเลเซอร์ยิงเข้าไปยังหัวสิว และหลังทำบางรายอาจมีการใช้ยาทาต่อเนื่องเพื่อป้องกันการติดเชื้อบริเวณแผล
  3. ทำทรีตเมนต์
    การทำทรีตเมนต์ที่คลินิก เช่นการผลัดเซลล์ผิว หรือฉายแสง ก็เป็นอีกทางเลือกสำหรับการรักษาได้

สรุปการรักษาแล้วหากรักษาด้วยตนเองแล้วไม่ดีขึ้นรู้สึกว่าไม่เห็นผลหรือมีอาการรุณแรงขึ้น แนะนำให้เข้าปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินผิวและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม สามารถเข้ามาปรึกษากับแพทย์ได้ที่ ลลิษา คลินิก

สิวเม็ดข้าวสารมักจะพบได้ในบริเวณใดบ้าง

สิวข้าวสาร ชอบขึ้นจุดไหน

มักเกิดขึ้นในบริเวณทที่มีผิวบางและเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพได้เร็ว ซึ่งจากการสังเกตมามักพบได้ในตำแหน่งดังนี้

  • รอบดวงตา
  • ลำคอ และคาง   
  • แก้ม
  • หน้าอก
  • หน้าท้อง
  • รักแร้  

สิวเม็ดข้าวสารเหมือนกับสิวหินหรือไม่ 

สิวข้าวสาร Vs สิวหิน

สิวเม็ดข้าวสารและสิวหินเป็นภาวะที่แตกต่างกัน โดยสิวข้าวสารเกิดจากการสะสมของเคราตินและเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วใต้ผิวหนัง ส่วน สิวหิน เป็นผลมาจากการอุดตันของต่อมไขมันใต้ผิวหนัง 

ตารางสรุปความแตกต่าง

สิวข้าวสารสิวหิน
ลักษณะตุ่มนูนเล็ก ๆ และแข็งขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร สีขาวคล้ายเม็ดข้าวสารตุ่มสีขาวขุ่น คล้ายสิวผด
ช่วงวัยที่เกิดเกิดได้ทุกวัย และหายได้เองมักพบช่วงวัยรุ่น และค่อยๆขยายตัวตามอายุที่เพิ่มขึ้นได้

แนวทางวิธีการป้องกัน 

  1. ผลัดเซลล์ผิวสม่ำเสมอ: เลือกใช้ AHA,BHA หรือสครับที่เหมาะสม แต่ไม่ควรขัดถูผิวหนังรุนแรงเกินไปเพราะอาจก่อให้เกิดการอักเสบและอุดตันได้
  2. ล้างหน้าให้สะอาด: ใช้คลีนเซอร์ที่อ่อนโยนเพื่อขจัดสิ่งสกปรกและเซลล์ผิวที่ตายแล้ว เพื่อลดการอุดตันของรูขุมขุน
  3. ให้ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหรือดูแลผิวที่ไม่อุดตัน: หลีกเลี่ยงครีมหรือเครื่องสำอางที่มีซิลิโคนหรือน้ำมันหนัก ๆ ที่อาจทำให้รูขุมขนเกิดจากอุดตันได้
  4. ใช้ครีมกันแดดเป็นประจำวันทุกวัน: เหตุผลที่ว่าทำไมต้องทาครีมกันแดด เพราะว่าแสงแดดทำให้ผิวเสื่อมสภาพและส่งผลให้เกิดสิวเม็ดข้าวสารได้ง่ายกว่าเดิม ซึ่งควรเลือกใช้ครีมกันแดดที่เนื้อบางเบาและไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน
  5. หลีกเลี่ยงการสัมผัสหน้าบ่อย ๆ :เพราะว่ามือของเราเองนั้นอาจมีเชื้อโรคและสิ่งสกปรก ซึ่งหากสัมผัสหน้าตนเองด้วยมือที่สกปรก อาจทำให้เกิดการอุดตันของผิวได้เช่นกัน
  6. เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อผิว: ควรหลีกเลี่ยงอาหารมัน ของทอด และน้ำตาลสูง เพราะอาหารบางชนิดอาจกระตุ้นให้เกิดการอุดตันของรูขุมขนได้ (สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บทความ: อาหารที่ให้เกิดสิว)
  7. รักษาความชุ่มชื้นให้กับผิว: ใช้มอยเจอร์ไรเซอร์ที่เหมาะกับสภาพผิว เพื่อให้ผิวสมดุลและลดการเกิดสิวเม็ดข้าวสาร

การดูแลผิวทั้งภายนอกและภายในเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันปัญหาผิวหนังต่าง ๆ การปฏิบัติตามการแนะนำเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอและพอดี จะช่วยผิวของคุณมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้

สิวเม็ดข้าวสารอันตรายไหม?

ไม่เป็นอัตราย แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นอันตรายใด ๆ แล้ว แต่หากปล่อยทิ้งไว้อาจเพิ่มจำนวนที่ยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งส่งผลทำให้ผิวหน้าดูไม่เรียบเนียน และอาจกลายเป็นอุปสรรคความกังวลใจในการแต่งหน้าของสาว ๆ ได้

ดูแลผิวยังไงดีเมื่อเป็นสิวเม็ดข้าวสาร

ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือบีบสิว เพราะจะทำให้เกิดการอักเสบและกลายเป็นรอยแผลเป็นในภาพหลังได้ และควรพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้พอดีเพื่อช่วยให้ผิวแข็งแรง

FAQ คำถามที่พบบ่อย

อยากหายขาดจากสิวเม็ดข้าวสาร ควรทำอย่างไร

การรักษาสิวเม็ดข้าวสารควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง และด้วยสิวชนิดนี้สามารถกลับมาจากปัจจัยกระตุ้นและสภาพผิวที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและการรักษาที่ตรงกับสภาพผิวของตนเอง และแก้ไขที่สาเหตุเพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีก

สิวเม็ดข้าวสารสามารถหายเองได้ไหม?

 สิวเม็ดข้าวสารสามารถหายเองได้ในบางกรณี แต่จะต้องใช้ระยะเวลาที่นานและอาจก่อให้เกิดแผลเป็นขึ้นได้ ดังนั้นหากต้องการกำจัดสิวข้าวสารอย่างรวดเร็วควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเพื่อหาวิธีการรักษาให้เหมาะสมกับปัญหาที่คนไข้แต่ละคนมี 

เลเซอร์รักษาสิวเม็ดข้าวสารปลอดภัยไหม?

ปลอดภัยหากทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

สรุป

สิวเม็ดข้าวสารเป็นปัญหาผิวที่พบได้บ่อย แม้ว่าจะไม่มีอันตรายใด ๆ แต่สิวชนิดนี้ก็อาจส่งผลต่อความมั่นใจของผู้ทีมีปัญหานี้ การดูแลผิวได้อย่างเหมาะสมเช่นการทำความสะอาดผิวหน้า เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม และป้องกันแสงแดด สามารถที่จะช่วยลดการเกิดลงได้ ซึ่งหากมีอาการเรื้อรังแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อประเมินสาเหตุและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับคนไข้ต่อไป

แหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับข้อมูลสิวเม็ดข้าวสาร

Poonam Sachdev. March 21, 2024. What to Know About Milia
https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/what-to-know-about-milia

Daniel Porter. May. 18, 2021. What Are Milia?
https://www.aao.org/eye-health/diseases/what-are-milia

David R Berk , Susan J Bayliss.2008 Sep 25.Milia: a review and classification
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18819726/

บทความโดย

ลลิษาคลินิก : คลินิกรักษาสิว ดูแลโดยแพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านผิวหนัง (ตจวิทยา) ที่พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลปัญหาผิว

ใครที่กำลังเผชิญปัญหาผิวหน้า เป็นสิว ทำให้รู้สึกไม่มั่นใจ สามารถเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้มากประสบการณ์ด้านผิวหนังที่ลลิษาคลินิกได้ ฟรี!! ที่ตั้งคลินิก เซ็นทรัลพระราม 9 ชั้น 9 (ติดบันไดเลื่อน)