คลินิกรักษาสิว โดยแพทย์โรคผิวหนังโดยเฉพาะ
สิวเป็นไต คืออะไร? เกิดจากสาเหตใด มีวิธีรักษาอย่างไรให้ได้ผล
สิวเป็นไตคือสิวอักเสบที่อุดตันอยู่ใต้ผิวหนัง ไม่มีหัวสิว เกิดจากการอุดตันของรูขุมขุน ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาผิวที่หลายคนคุ้นเคยและสามารถเผชิญในหลากหลายช่วงวัย สร้างความเจ็บปวดและความไม่มั่นใจอย่างมาก เนื่องจากรักษายากและมักทิ้งรอยแผลเป็นที่ชัดเจน
สำหรับใครที่กำลังต่อสู้กับสิวเป็นไตและมองหาวิธีจัดการ บทความนี้จะพูดถึง “สิว” ที่มีลักษณะแข็งเป็นไต ทั้งสาเหตุ วิธีรักษา และการป้องกัน เพื่อให้จัดการปัญหาสิวเป็นไตได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่กลับมากวนใจอีกต่อไป
สิวไต เกิดจากสาเหตุอะไร
สิวเป็นไตเกิดจากการอุดตันของรูขุมขน หรือ ปัจจัยอื่นร่วมได้ เนื่องจากปัจจัยภายนอกและภายในสามารถกระตุ้นให้เกิดการอักเสบลงลึกในชั้นผิวหนังจนรูขุมขนอุดตัน โดยสาเหตุหลัก ๆ มีดังนี้:
- ความเครียด
ความเครียดสามารถกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนแอนโดรเจน (androgens) ซึ่งสามารถเพิ่มการผลิตน้ำมันในผิวหนัง ทำให้รูขุมขนอุดตันและเกิดสิว - สภาวะอากาศ
สภาวะอากาศที่มีความชื้นสูงหรืออากาศร้อนสามารถทำให้ผิวหนังมันมากขึ้น ซึ่งสามารถทำให้รูขุมขนอุดตันและเกิดสิวได้ - รูขุมขนอุดตัน
การอุดตันของรูขุมขนจากเซลล์ผิวที่ตายแล้วหรือแบคทีเรียนั้น ทำให้เกิดการอักเสบและกลายเป็นก้อนได้ - การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
เช่น ฮอร์โมนในช่วงวัยรุ่น, ประจำเดือน หรือการตั้งครรภ์ - อาหารที่รับประทาน
ของหวานหรืออาหารที่มีน้ำมันเยอะ ทำให้กระตุ้นการเกิดสิวชนิดก้อนและการอุดตันได้ - พันธุกรรม
สภาพผิวหนังสามารถส่งต่อทางกรรมพันธุ์ได้ ดังนั้นหากพ่อหรือแม่ของเราเคยมีสิวเป็นไต อาจส่งผลให้เราประสบปัญหาสิวเหล่านี้ได้ - ผลข้างเคียงของยาบางชนิด
เช่น สเตียรอยด์ หรือยารักษาโรคพาร์คินสัน อาจมีผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดสิวชนิดก้อนได้
สิวเป็นไต คืออะไร
สิวเป็นไต หรือบางครั้งถูกเรียกว่า “สิวชนิดก้อน” (Nodular Acne) คือสิวที่มีการอักเสบเกิดขึ้นในชั้นผิวหนัง หรือรูขุมขนที่ลึกลงไปข้างใต้โดยมีระดับความรุนแรงที่สูง ซึ่งสาเหตุอาจจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยภายนอกเช่น มลภาวะ หรือปัจจัยภายในร่างกายที่อาจจะมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหรือปัจจัยทางพันธุกรรม
สิวเป็นไต มีลักษณะอย่างไร
สิวเป็นไต คือสิวที่ไม่มีหัว มีลักษณะเป็นตุ่มขนาดใหญ่และแข็ง ซึ่งเมื่อสัมผัสจะรู้สึกแน่นและเจ็บ โดยจะไม่มีหนองอยู่ภายใน แต่มีการอักเสบลึกลงไปในชั้นผิวหนัง ทำให้พื้นที่รอบๆ สิวมักมีสีแดงหรือสีม่วงจากการอักเสบ สิวชนิดนี้มักจะเจ็บปวดมาก โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสและสามารถคงอยู่ในผิวหนังได้นานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน หลังจากที่หายไปแล้วก็อาจทิ้งรอยแผลเป็นเนื่องจากการอักเสบที่ลึกและรุนแรง
สิวไตมักเกิดขึ้นที่บริเวณใด
สิวเป็นไตมักเกิดบนใบหน้าและบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก เช่นจมูก หน้าผาก แต่ก็สามารถพบได้บ้างที่แผ่นหลัง หน้าอก ขาหนีบหรือบริเวณอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ไปกระตุ้นให้เกิดสิว ดังสิวเป็นไตที่เกิดขึ้นในบริเวณดังต่อไปนี้
- บริเวณที่คาง
- บริเวณที่คอ
- บริเวณใต้ผิวหนัง
- บริเวณที่หน้าผาก
- บริเวณที่แก้ม
- บริเวณที่จมูก
- บริเวณที่กรอบหน้า
- บริเวณที่ปาก
- บริเวณที่หู
- บริเวณที่หน้าอก
- บริเวณที่หลัง
- บริเวณที่แขน
- บริเวณที่ก้น
วิธีรักษาสิวเป็นไต มีวิธีอะไรบ้าง
สิวเป็นไตนั้นสามารถรักษาให้หายโดยรักษาจากภายนอก และ ภายใน เช่น การใช้ยาทา กินยาลดผิวหนังอักเสบ การฉีดยาลดอักเสบที่สิว หรือการเลเซอร์สิวเป็นไตตามคำแนะนำของแพทย์
- การใช้ยาทาภายนอก
สิวเป็นไต ใช้อะไรดี? ในกรณีที่สิวไม่รุนแรงมาก จะใช้ยาทาภายนอกเพื่อช่วยลดการอักเสบและป้องกันการเกิดสิวใหม่ หรือเร่งผลัดเซลล์ผิว ลดการอุดตันของรูขุมขน โดยยาทาที่นิยมใช้ ได้แก่ Clindamycin, Benzoyl Peroxide - การใช้ยารับประทาน
จะมีประสิทธิภาพที่สูงกว่า ส่วนใหญ่มักใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานเพื่อลดการอักเสบและการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย เช่น Doxycycline, Minocycline, Azithromycin และยาบางชนิดอาจจะช่วยควบคุมระดับฮอร์โมนในร่างกายให้พอดี เช่น ยาคุม ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนการใช้ยา - รักษาด้วยการฉีดสิว
สิวเป็นไต ฉีดยาให้หายได้ไหม? คำตอบก็คือได้ และสามารถทำให้หายไปได้ภายใน 24-48 ชั่วโมง โดยแพทย์จะทำการฉีดสารสเตียรอยด์เข้าไปในสิวด้วยเข็มขนาดเล็กมาก ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบและลดขนาดของสิวอย่างรวดเร็วทันใจ - เลเซอร์รักษาสิว
การเลเซอร์แสงไปที่บริเวณสิว จะช่วยลดการอักเสบและฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว โดยจะทำให้สิวค่อย ๆ หายไป และวิธีการนี้ยังทำให้ลดอัตราการเกิดสิวเป็นไต และสิวอื่นในอนาคตอีกด้วย - ปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อรักษา
สำหรับผู้ที่ประสบพบเจอกับปัญหาสิวเป็นไตมาอย่างยาวนาน หรือเป็นช่วงต้นที่ต้องการได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วและมีความปลอดภัยสูง สามารถเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ผิวหนัง และเข้ารับการทำหัตถการ ทรีตเมนต์หรือการฉีดสิวกับแพทย์ผิวหนังโดยเฉพาะ จะช่วยให้การรักษาเหมาะสมกับสภาพผิวของแต่ละบุคคลและเป็นผลดีต่อสุขภาพผิวในระยะยาว โดยส่วนมากแพทย์มักจะทำการรักษาดังนี้
การดูแลผิวหน้าเมื่อมีสิวไต ควรทำอย่างไร?
การดูแลผิวหน้าที่มีสิวเป็นไต (Nodular Acne) เป็นสิ่งสำคัญเพื่อช่วยลดการอักเสบและป้องกันการเกิดแผลเป็น โดยมีวิธีดังนี้
- ล้างหน้าอย่างถูกต้อง ช่วยขจัดสิ่งสกปรก น้ำมันส่วนเกิน และเซลล์ผิวที่ตายแล้วที่อาจทำให้รูขุมขนอุดตัน การล้างหน้าที่ถูกวิธีจะช่วยลดการอักเสบและป้องกันการเกิดสิวใหม่
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสหน้า เพราะการสัมผัสหน้า สามารถนำแบคทีเรียและสิ่งสกปรกจากมือเข้าสู่ผิวหน้า นำไปสู่การทำให้อักเสบแย่ลงและเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- รักษาความสะอาด ทั้งเสื้อผ้า ชุดเครื่องนอน ของใช้ที่ใช่เป็นประจำเพื่อลดความสกปรกที่จะเสี่ยงมาสัมผัสกับใบหน้า หรือบริเวณผิวที่เกิดสิว
- ทาครีมกันแดด ลดการระคายเคืองให้ผิวจากแสงแดด ป้องกันการอักเสบซ้ำ
- หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีแรง เพราะผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีแรงสามารถทำให้ผิวระคายเคืองและทำให้กระบวนการฟื้นฟูถดถอยลอง
วิธีการป้องกัน
- เลือกผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนและปราศจากน้ำมัน (Oil-Free) และล้างหน้าอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าหรือบริเวณสิวเป็นไต
- รักษาความสะอาดอยู่เสมอทั้งเสื้อผ้าที่สวมใส่ หรือ ของใช้ส่วนตัว
- ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่หลากหลายและปริมาณมากเกินไปจนทำให้ผิวหนังเกิดการอุดตัน
- ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและระบบการไหลเวียนของเลือดดี จะส่งผลให้ระดับฮอร์โมนจะคงที่และทำให้อัตราการเกิดสิวเป็นไตน้อยลง
สิวเป็นไตอาจเป็นปัญหาผิวที่สร้างความไม่สบายใจให้กับหลายคน เนื่องจากสร้างความเจ็บปวด รักษาหายยาก และมักทิ้งรอยแผลเป็น อย่างไรก็ตาม การเข้าใจลักษณะและสาเหตุของสิวชนิดนี้เป็นก้าวแรกที่สำคัญในการรักษาผิวให้กลับมาเนียนใสอีกครั้ง รวมถึงการดูแลสุขภาพและการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันเพื่อให้มีผิวสวย สุขภาพดี และกลับมามั่นใจได้อีกครั้ง
สิวเป็นไต อันตรายไหม
สิวเป็นไตไม่ถือว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยรวม แต่ด้วยอาการของสิวเป็นไตมักสร้างความรำคาญและผลกระทบต่อความไม่มั่นใจในตัวเองได้
Q&A สิวเป็นไต
Q: สิวเป็นไต รักษากี่วันหาย?
A: สิวเป็นไตรักษาให้หายได้ภายใน 1- 30 วัน ขึ้นอยู่กับสาเหตุและการรักษา หากต้องการให้หายอย่างรวดเร็วนั้น วิธีการเข้ารับการรักษาโดยการฉีดยาสเตียรอยด์โดยแพทย์ผิวหนังจะไวที่สุด โดยสิวเป็นไตจะหยุดการอักเสบและหายไปภายใน 1-2วัน
Q: สิวไตจะมีอาการคันร่วมด้วยเพราะสาเหตุอะไร?
A: โดยปกติแล้ว สิวเป็นไตจะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดเมื่อถูกสัมผัส แต่มักจะไม่ค่อยมีอาการคันร่วมด้วย ในบางรายอาจรู้สึกระคายเคืองหรือรู้สึกตึงบนผิวหนังที่บริเวณสิว
Q: สิวไตกดเองได้ไหม?
A: ไม่ควรกดสิวชนิดต่าง ๆ ด้วยตนเอง เนื่องจากอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือการอักเสบที่รุนแรงขึ้น หากสิวมีอาการรุนแรงหรือต้องการกำจัดสิวออก ควรเข้ารับการปรึกษาและรักษาโดยแพทย์ผิวหนังผู้เชี่ยวชาญ
Q: สิวไตหายเองได้ไหม?
A: สิวเป็นไตสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องเข้ารับการทำหัตถการจากแพทย์ แต่จำเป็นต้องรักษาความสะอาดของผิวหน้า หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า พักผ่อนให้เพียงพอ และใช้ยารักษาสิวอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของเภสัชกรหรือแพทย์ เพื่อเร่งฟื้นฟูผิวและลดอาการอักเสบ
Q: สิวเป็นไต เจ็บ เพราะสาเหตุอะไร?
A: อาการเจ็บเกิดได้ เพราะสิวเป็นไตนั้นมีการอักเสบลึกในชั้นผิวหนัง ซึ่งทำให้เกิดแรงดันและอาการบวมในบริเวณนั้น ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บปวด
Q: สิวเป็นไตแข็ง ๆ รักษายังไง?
A: ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังผู้เชี่ยวชาญ โดยส่วนมากหากมีลักษณะสิวที่แข็งนั้นเกิดจากการอุดตันที่สะสมมาสักระยะหนึ่ง จึงควรรับหัตถการจากแพทย์เช่น ฉีดยาลดอักเสบ หรือเลเซอร์รักษาเพื่อทำการสลายโดยเร็ว แนะนำว่าไม่ควรทำการบีบสิวด้วยตนเองเพราะจะทำให้อักเสบมากกว่าเดิมด้วยการกระตุ้น และยังทำให้เกิดความเจ็บปวดที่บริเวณนั้นเพิ่มขึ้นอีกด้วย
แหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับข้อมูลสิวเป็นไต
clevelandclinic. Last reviewed on 05/02/2022.
https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/22888-nodular-acne
Medically reviewed by Cynthia Cobb, DNP, APRN, WHNP-BC, FAANP — Written by Kristeen Cherney — Updated on March 6, 2022.
https://www.healthline.com/health/beauty-skin-care/nodular-acne
By Angela Palmer Updated on June 02, 2024. Medically reviewed by William Truswell, MD.
https://www.verywellhealth.com/nodular-acne-15817
บทความโดย
ลลิษาคลินิก : คลินิกรักษาสิว ดูแลโดยแพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านผิวหนัง (ตจวิทยา) ที่พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลปัญหาผิว
ใครที่กำลังเผชิญปัญหาผิวหน้า เป็นสิว ทำให้รู้สึกไม่มั่นใจ สามารถเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้มากประสบการณ์ด้านผิวหนังที่ลลิษาคลินิกได้ ฟรี!! ที่ตั้งคลินิก เซ็นทรัลพระราม 9 ชั้น 9 (ติดบันไดเลื่อน)