คลินิกรักษาสิว โดยแพทย์โรคผิวหนังโดยเฉพาะ
สิวขึ้นจมูก เกิดจากอะไร? เคล็ด(ไม่)ลับการป้องกันและรักษา

สิวขึ้นจมูก ปัญหากวนใจที่หลายคนต้องเจอ! จนอาจทำให้รู้สึกไม่มั่นใจได้ เพราะจมูกเป็นจุดกลางใบหน้าที่ทุกคนมักมองเห็นได้ชัดเจน แต่ไม่ต้องกังวล! เพราะเรามีเคล็ด(ไม่)ลับดูแลผิวให้แข็งแรง ป้องกันสิว และช่วยให้ผิวเรียบเนียนขึ้น มาดูกันเลยว่าต้องทำอย่างไร
สิวขึ้นจมูก คืออะไร? ลักษณะแบบไหน?

สิวขึ้นจมูกคือการที่สิวเกิดขึ้นบริเวณจมูกหรือข้างจมูก ซึ่งเป็นจุดที่มีต่อมไขมันเยอะและเกิดการอุดตันได้ง่าย โดยสิวที่ขึ้นบริเวณจมูกมักมีลักษณะเป็น ตุ่มแดง อักเสบ และอาจมีหัวหนองร่วมด้วย ทำให้ผิวบริเวณจมูกดูไม่เรียบเนียน ซึ่งเกิดจากการอุดตันของรูขุมขนและการสะสมของแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังอาจรู้สึกเจ็บหรือระคายเคืองหากสิวมีการอักเสบรุนแรง
สาเหตุสิวขึ้นจมูกเกิดจากอะไร?
สิวขึ้นที่จมูกสามารถเกิดขึ้นได้จากทั้งปัจจัยภายใน และ ภายนอก ซึ่งส่งผลให้รูขุมขนอุดตันและเกิดการอักเสบ มาดูกันว่ามีสาเหตุอะไรบ้าง
ปัจจัยภายใน
- ฮอร์โมนไม่สมดุล โดยเฉพาะช่วงวัยรุ่นหรือก่อนมีประจำเดือน ฮอร์โมนจะกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากขึ้น ทำให้เกิด สิวฮอร์โมน
- ความเครียด ระดับความเครียดสูงส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนที่กระตุ้นต่อมไขมัน ทำให้ผิวหน้ามันขึ้นและเกิดสิวอุดตัน
- รูขุมขนอุดตันจากเส้นขน ในรูขุมขน 1 รู อาจมีขนขึ้นมากถึง 5 – 25 เส้น หากเกิดการอุดตันร่วมกับน้ำมันและสิ่งสกปรก อาจทำให้เกิด สิวเสี้ยน บริเวณจมูก
ปัจจัยภายนอก
- เชื้อแบคทีเรีย เมื่อผิวหน้ามันมากขึ้น เชื้อแบคทีเรียจะเจริญเติบโตได้ดี และหากรวมตัวกับสิ่งสกปรก ก็จะทำให้เกิด สิวอักเสบ
- ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มีสารระคายเคือง เช่น พาราเบน ซิลิโคน หรือสเตียรอยด์ อาจกระตุ้นให้รูขุมขนอุดตันและเกิดสิว
- เหงื่อและสิ่งสกปรก หากเหงื่อสะสมและไม่ได้ทำความสะอาดผิวอย่างถูกต้อง อาจทำให้รูขุมขนอุดตันและเกิด สิวอุดตันหรือสิวเสี้ยน
- การศัลยกรรมเสริมจมูก สิวขึ้นจมูกหลังเสริมจมูกอาจเกิดจาก การระคายเคืองของผิว จากการผ่าตัด ความมันและสิ่งสกปรกสะสมจากเฝือกจมูก หรือการสัมผัสบ่อย ๆ นอกจากนี้ การแพ้ยา ครีมบำรุง หรือความเครียดหลังผ่าตัดก็อาจเป็นปัจจัยกระตุ้นได้
ประเภทสิวขึ้นที่จมูก มีกี่ประเภท? อะไรบ้าง?

สิวที่จมูกสามารถเกิดขึ้นได้หลายประเภท โดยแต่ละชนิดมีลักษณะและสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนี้
- สิวหัวขาวที่จมูก: เป็นสิวอุดตันหัวปิด ไม่มีหัวสิวโผล่ขึ้นมาให้เห็น สังเกตได้ยากเพราะมีสีเดียวกับผิว แต่เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเป็นตุ่มเล็ก ๆ ใต้ผิว เกิดจากการสะสมของไขมันและเซลล์ผิวที่ตายแล้วในรูขุมขน
- สิวหัวดำที่จมูก : เป็นสิวอุดตันหัวเปิด มีลักษณะเป็นจุดดำที่หัวสิว เกิดจากไขมันและเคราตินในรูขุมขนทำปฏิกิริยากับอากาศจนเปลี่ยนเป็นสีดำ มักพบได้บ่อยบริเวณจมูกและข้างจมูก
- สิวไตที่จมูก : เป็นตุ่มนูนสีแดง ไม่มีหัวสิว อาจมีอาการบวมแดงรอบๆ และรู้สึกเจ็บเมื่อสัมผัส เกิดจากการอักเสบของรูขุมขนจากแบคทีเรียและไขมันสะสมบริเวณจมูก
- สิวหัวช้างที่จมูก : เป็นสิวอักเสบขนาดใหญ่ ลึกลงไปใต้ผิวหนัง มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง เจ็บมาก และใช้เวลานานกว่าจะหาย มักเกิดจากการอักเสบของรูขุมขนขั้นรุนแรง
- สิวหนองที่จมูก : เป็นสิวอักเสบที่มีหัวหนองสีขาวหรือเหลือง และมีอาการแดงรอบๆ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมกับการอุดตันของไขมันและเซลล์ผิว
- สิวซีสต์ที่จมูก : เป็นสิวอักเสบขนาดใหญ่ มีหนองลึกใต้ผิวหนังและมักเจ็บมาก จัดเป็นสิวที่รุนแรงที่สุด และอาจทิ้งรอยแผลเป็นไว้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
- สิวเสี้ยนที่จมูก : มีลักษณะเป็นจุดดำเล็กๆ คล้ายสิวหัวดำ แต่เกิดจากการอุดตันของขนหลายเส้นรวมกับเคราตินในรูขุมขน ทำให้ผิวบริเวณจมูกดูไม่เรียบเนียน
- สิวอักเสบไม่มีหัว : สิวประเภทนี้เป็นตุ่มนูนแดงใต้ผิวหนัง ไม่มีหัวสิวให้เห็น แต่เจ็บมาก เกิดจากการอุดตันของไขมัน เชื้อแบคทีเรีย และเคราตินในรูขุมขน มักพบในบริเวณจมูกเพราะมีต่อมไขมันเยอะ และใช้เวลาหายประมาณ 7-14 วัน หากรุนแรงอาจนานกว่านั้น ไม่ควรบีบสิวจุดนี้ เพราะจะทำให้การอักเสบแย่ลง
วิธีการรักษาสิวขึ้นที่จมูก

การรักษาสิวที่จมูกให้ได้ผลดีต้องเลือกวิธีที่เหมาะสมกับประเภทของสิว เพื่อป้องกันการอักเสบและลดโอกาสเกิดรอยสิวในอนาคต โดยสามารถดูแลและรักษาได้หลายวิธี ดังนี้
1. ยารักษาสิว
การใช้ยาทาแต้มสิวเป็นวิธีพื้นฐานที่ช่วยลดการอุดตัน ลดการอักเสบ และควบคุมความมันบนใบหน้า โดยมียาหลายชนิดที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น Retinol, AHA, BHA, Salicylic acid หรือ Benzoyl Peroxide สามารถช่วยลดการอุดตันและอักเสบของสิวได้ ส่วนยารับประทานอาจใช้ในกรณีที่เป็นสิวเรื้อรังหรือเกิดจากฮอร์โมน เช่น ยาปฏิชีวนะ Zinc วิตามินอี หรือยาคุมกำเนิด อาจใช้ในกรณีที่สิวเกิดจากฮอร์โมน
2. แผ่นแปะสิว
เป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับ สิวหนองและสิวอักเสบหัวเปิด เพราะช่วยดูดซับของเหลวภายในสิว ทำให้สิวแห้งและยุบตัวเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการสัมผัสหรือแกะสิวโดยไม่ตั้งใจ ลดโอกาสเกิดรอยแผลเป็นและการติดเชื้อ
3. กดสิว
การกดสิวเป็นวิธีที่ช่วยนำหัวสิวอุดตันออกจากรูขุมขนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะสิวหัวดำและสิวหัวขาว แต่ไม่ควรกดเอง เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบและทิ้งรอยดำหรือแผลเป็น ควรให้ผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์เป็นผู้ทำการกดสิว โดยใช้เครื่องมือที่สะอาดและถูกต้อง แต่สิวที่ไม่ควรกดคือ สิวอักเสบและสิวไม่มีหัว อ่านบทความเพิ่มเติม: กดสิว ดีไหม?
4. ฉีดสิว
การฉีดสิวเหมาะสำหรับ สิวอักเสบขนาดใหญ่ เช่น สิวไตหรือสิวหัวช้าง โดยแพทย์จะฉีดยาสเตียรอยด์ (Triamcinolone) เข้าไปในสิวโดยตรง ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบ ทำให้สิวยุบลงภายใน 2-3 วัน ข้อดีของการฉีดสิวคือเห็นผลเร็ว สิวยุบไว ไม่ต้องรอนาน และลดโอกาสเกิดแผลเป็นจากสิวอักเสบ อ่านบทคาวมเพิ่มเติม: ฉีดสิวเหมาะกับใครบ้าง?
5. เลเซอร์สิว
เลเซอร์รักษาสิวช่วยกำจัดหัวสิว ลดการอุดตัน และลดรอยแดงจากสิว โดยใช้การปล่อยพลังงานเพื่อเปิดหัวสิวและทำลายเชื้อแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของสิว ข้อดีของการทำเลเซอร์สิวคือ ลดสิวอุดตัน สิวอักเสบ และรอยสิวโดยไม่ต้องสัมผัสผิวโดยตรง แต่มีข้อควรระวัง เพราะการทำเลเซอร์สิวบริเวณจมูกอาจมีอาการแดงหรือระคายเคืองหลังทำ ต้องดูแลผิวเป็นพิเศษ อ่านบทคาวเพิ่มเติม เลเซอร์สิว กี่วันหาย
6. ฉายแสงรักษาสิว
การใช้แสงบำบัดเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาสิว โดยใช้คลื่นแสงสีฟ้าหรือแสงสีแดงเพื่อช่วยลดการอักเสบของสิว ควบคุมความมัน และฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของการเกิดสิวได้ ข้อดีคือ ไม่ทำให้ผิวบาง ปลอดภัย และช่วยลดการอักเสบได้ดี แต่อาจต้องทำต่อเนื่องกันหลายครั้ง
สิวที่จมูกสามารถบีบได้ไหม?

หลายคนอาจชอบบีบสิวเพราะรู้สึกว่าสะดวกและช่วยกำจัดสิวได้ทันที แต่จริง ๆ แล้ว การบีบสิวที่จมูกอาจเป็นอันตรายมากกว่าที่คิด โดยเฉพาะสิวอักเสบหรือสิวที่อยู่ในจุดอันตรายบนใบหน้า ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรง ซึ่งอาจจะมีผลเสียตามมาดังนี้
- ทำให้สิวอักเสบรุนแรงขึ้น ทำให้ใช้เวลารักษานานกว่าเดิม
- เสี่ยงเกิดรอยแผลเป็นหรือหลุมสิว ซึ่งรักษาได้ยาก
- กระตุ้นให้เกิดสิวใหม่ ทำให้ผิวอ่อนแอลง
- เสี่ยงต่อการติดเชื้อ อาจลุกลามไปยังบริเวณอื่นหรือกระทบต่อดวงตาและสมอง
- ทำให้จมูกบวมและอักเสบ โดยเฉพาะหากเป็นสิวหัวช้าง
ทางที่ดี ควรใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลสิว เช่น แผ่นแปะดูดสิว ยาทาสิว หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญแทนการบีบ เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
บอกต่อ! วิธีป้องกันสิวขึ้นจมูก

- ล้างหน้าวันละ 2 ครั้ง ด้วยผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนและช่วยลดการอุดตัน เช่น Benzoyl Peroxide หรือ Salicylic Acid
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าหรือบีบสิวเพื่อลดการแพร่กระจายของแบคทีเรีย
- ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ปราศจากน้ำมัน (oil-free) และไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน (non-comedogenic)
- เปลี่ยนปลอกหมอนและหน้ากากอนามัยเป็นประจำ เพื่อลดการสะสมของแบคทีเรีย
- รับประทานอาหารที่ดีต่อผิว ดื่มน้ำมาก ๆ และพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อลดความเครียด
สิวขึ้นจมูกอันตรายไหม?
สิวที่ขึ้นจมูกส่วนใหญ่ไม่อันตราย แต่หากเป็นสิวอักเสบรุนแรงหรือเกิดในบริเวณที่เส้นเลือดเชื่อมโยงไปยังสมอง หากสิวเกิดการติดเชื้อรุนแรงและลุกลาม อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอาจเสี่ยงติดเชื้อและลุกลามไปยังสมองได้ ควรหลีกเลี่ยงการบีบสิว รักษาความสะอาด และหากมีอาการบวมแดงรุนแรงหรือไม่หาย ควรรีบพบแพทย์เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
คำถามที่พบบ่อย
1.สิวขึ้นจมูกซ้ำ ๆ ? เพราะอะไร แก้อย่างไรดี
พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้สิวขึ้นซ้ำ ได้แก่ ล้างหน้าไม่สะอาด ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดการอุดตัน เช่น ซิลิโคนหรือออยล์หนัก ๆ รวมถึงการสัมผัสหรือบีบสิว เพราะอาจทำให้เชื้อแบคทีเรียแพร่กระจาย
2.สิวขึ้นจมูกหายเองได้ไหม? กี่วันถึงจะหาย?
สิวที่จมูกสามารถหายเองได้ในกรณีที่เป็นสิวอุดตันหรือสิวที่ไม่รุนแรง โดยส่วนใหญ่จะใช้เวลา 7-14 วัน ขึ้นอยู่กับประเภทและการดูแลผิว แต่ถ้าหากเป็นสิวอักเสบหรือมีการติดเชื้อ การรักษาอาจใช้เวลานานกว่าและควรได้รับการดูแลจากแพทย์เพื่อป้องกันการลุกลามหรือเกิดแผลเป็น
3.เจ็บสิวที่จมูกเพราะอะไร? แก้อย่างไรดี?
สิวที่จมูกมักจะเจ็บเพราะมีการอักเสบลึกใต้ผิวหนัง ซึ่งเกิดจากการอุดตันของไขมัน เชื้อแบคทีเรีย และเซลล์ผิวที่ตายแล้ว จึงทำให้เกิดอาการเจ็บและบวม สามารถบรรเทาได้โดยการประคบเย็
4.สิวขึ้นจมูกเกี่ยวข้องกับความเครียดจริงไหม?

เกี่ยวข้องอย่างแน่นอน เพราะความเครียดสามารถกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนที่ชื่อว่า คอร์ติซอล ซึ่งจะทำให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากขึ้น ส่งผลให้รูขุมขนอุดตันและเกิดสิวได้ โดยเฉพาะบริเวณที่มีต่อมไขมันหนา เช่น จมูก
5.มีสิวขึ้นที่จมูกสามารถเสริมจมูกได้หรือไม่?
สามารถเสริมจมูกได้ แม้ว่าจะมีสิวขึ้นที่จมูก แต่อาจต้องรอให้สิวยุบลงก่อนการทำหัตถการ โดยปกติแล้วการเสริมจมูก ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับสิว แต่การทำในช่วงที่มีสิวอักเสบหรือรุนแรงอาจทำให้เกิดการติดเชื้อหรือการอักเสบเพิ่มขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเพื่อให้คำแนะนำที่เหมาะสม
สรุป
สิวขึ้นจมูกเกิดจากการอุดตันของรูขุมขน ไขมันส่วนเกิน และแบคทีเรีย การดูแลและรักษาสิวที่จมูกควรเริ่มจากการทำความสะอาดผิวอย่างถูกวิธี หลีกเลี่ยงการบีบสิว และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาพผิวเพื่อลดการเกิดสิวใหม่ หากมีปัญหาสิวเรื้อรัง แนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่ ลลิษาคลินิก เพื่อรับการดูแลและรักษาให้เหมาะสมกับสภาพผิวของคนไข้
แหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับข้อมูลสิวที่จมูก
Nose Acne: Causes, Treatment, and More. Medically reviewed by Debra Rose Wilson, Ph.D., MSN, R.N., IBCLC, AHN-BC, CHT. Written by Kristeen Cherney. April 25, 2023
https://www.healthline.com/health/beauty-skin-care/nose-acne
Nose acne: Causes, treatment, and remedies. Medically reviewed by Cynthia Cobb, DNP, APRN, WHNP-BC, FAANP. Written by Jenna Fletcher. July 21, 2023
https://www.medicalnewstoday.com/articles/320972
บทความโดย
ลลิษาคลินิก : คลินิกรักษาสิว ดูแลโดยแพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านผิวหนัง (ตจวิทยา) ที่พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลปัญหาผิว
ใครที่กำลังเผชิญปัญหาผิวหน้า เป็นสิว ทำให้รู้สึกไม่มั่นใจ สามารถเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้มากประสบการณ์ด้านผิวหนังที่ลลิษาคลินิกได้ ฟรี!! ที่ตั้งคลินิก เซ็นทรัลพระราม 9 ชั้น 9 (ติดบันไดเลื่อน)