สิวที่หู เกิดจากอะไร? เผยสาเหตุและวิธีแก้ไขแบบตรงจุด

สิวที่หู เกิดจากอะไร เผยสาเหตุที่แท้จริง และวิธีแก้ไขแบบตรงจุด

สิวที่หูปัญหาผิวที่กวนใจของใครหลาย ๆ คน ใครจะคิดว่าหูของเราจะเกิดสิวได้เหมือนใบหน้า ปัญหาสิวที่หูไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะหลายคนกำลังประสบพบเจอกับปัญหาผิวชนิดนี้ แล้วสิวที่หูเกิดจากอะไรกันแน่? ทำไมถึงรักษายากกว่าสิวที่ใบหน้า? ไม่ว่าจะเป็นสิวอักเสบ สิวหัวหนอง หรือสิวอุดตัน สิวที่หูก็สร้างความรำคาญและส่งผลต่อความมั่นใจได้ไม่น้อย

บทความนี้จะมาเผยเคล็ดลับในการจัดการกับสิวที่หูอย่างตรงจุด ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิว การดูแลผิวหูอย่างถูกวิธี

หาสาเหตุสิวที่หูเกิดจากอะไร

สิวที่หูเกิดจาก

สิวขึ้นที่หูเกิดจากหลายปัจจัย ที่ทำให้รูขุมขนบริเวณหูอุดตัน ซึ่งไม่ต่างจากการเกิดสิวบริเวณใบหน้าหรือตามจุดอื่น ๆ ซึ่งมีปัจจัยหลักที่เป็นตัวส่งเสริมดังนี้

ปัจจัยภายนอก

  • หมวกและผ้าพันหัวที่คับ การสวมหมวกหรือผ้าพันหัวที่รัดแน่น ทำให้เหงื่อและความมันสะสมบริเวณหูและหนังศีรษะ อุดตันรูขุมขน และเกิดสิวตามมาได้
  • หูฟังสกปรก หูฟังเป็นแหล่งสะสมแบคทีเรียชั้นดี การใช้หูฟังที่ไม่สะอาดเป็นประจำ อาจทำให้แบคทีเรียเข้าสู่รูหูและเกิดสิวได้
  • นิ้วมือสกปรก การใช้มือที่ไม่สะอาดขยี้หู อาจนำพาแบคทีเรียเข้าสู่รูหู และเป็นสาเหตุของการเกิดสิว
  • ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม สารเคมีในผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม เช่น แชมพู ครีมนวด อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองและสิวที่หูได้

ปัจจัยภายใน

  • ฮอร์โมน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ในช่วงวัยรุ่น หรือช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศ อาจทำให้ต่อมไขมันทำงานมากขึ้น และเกิดสิวตามมาได้
  • ความเครียด ความเครียดทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานของต่อมไขมัน และทำให้เกิดสิวได้
  • พันธุกรรม การมีประวัติครอบครัวเป็นสิว อาจทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นสิวได้มากขึ้น

ปัจจัยอื่น ๆ

  • การแพ้ การแพ้อาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์ดูแลผิว อาจทำให้เกิดสิวที่หูได้
  • โรคผิวหนัง โรคผิวหนังบางชนิด เช่น โรคสะเก็ดเงิน อาจทำให้เกิดสิวที่หูได้

สิวขึ้นที่หูคืออะไร เป็นลักษณะแบบไหน

สิวที่หู คือ สิวที่เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย และอาจสร้างความรำคาญใจไม่น้อย เพราะนอกจากจะทำให้รู้สึกคันยิบ ๆ แล้ว ยังอาจส่งผลต่อความมั่นใจในการแต่งตัวอีกด้วย สิวที่หูมักเกิดขึ้นได้ทั้งในช่องหูและบริเวณใบหู โดยมีสาเหตุหลักมาจากการอุดตันของรูขุมขน จากเชื้อแบคทีเรีย และการผลิตน้ำมันส่วนเกิน ทำให้เกิดเป็นเม็ดสิวเกิดขึ้น ซึ่งสิวที่หูมีลักษณะคล้ายกับสิวที่เกิดขึ้นบริเวณใบหน้า อาจพบได้หลายรูปแบบทั้งแบบที่มีการอักเสบและไม่อักเสบ

วิธีรักษาสิวที่หู ให้หมดปัญหากวนใจ

วิธีรักษาสิวที่หู

การรักษาสิวที่หูนั้นไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด เพราะหลักการรักษาก็คล้ายคลึงกับการรักษาสิวในบริเวณอื่น ๆ นั่นเอง โดยมีวิธีการดังนี้

  1. รักษาด้วยการกดสิว
    เหมาะสำหรับสิวอุดตัน เช่น สิวหัวขาว สิวหัวดำ วิธีนี้จะใช้เครื่องมือเฉพาะทางในการกดสิว เพื่อนำหัวสิวออกมาจากใต้ผิวหนัง ทำให้สิวยุบลงได้เร็วขึ้น แต่ควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะหากกดไม่ถูกวิธีอาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นหรือติดเชื้อได้
  2. รักษาด้วยการฉีดสิว
    เหมาะสำหรับสิวอักเสบ เช่น สิวหนอง สิวอักเสบขนาดใหญ่ วิธีนี้จะใช้สารสเตียรอยด์ฉีดเข้าไปในสิว เพื่อลดการอักเสบและทำให้สิวยุบลงเร็วขึ้น โดยจะเห็นผลประมาณ 2-3 วัน
    อ่านบทความการฉีดสิวเพิ่มเติม: สิวแบบไหนที่ เหมาะกับการฉีดสิว
  3. รักษาด้วยการกินยา
    หากต้องการใช้ยารักษาสิวสำหรับทา ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมต่อไปนี้
    เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) ใช้เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียและลดการอักเสบ เหมาะสำหรับสิวระดับปานกลาง
    เตรทติโนอิน (Tretinoin) เป็นอนุพันธ์ของวิตามินเอ ช่วยป้องกันการอุดตันในรูขุมขน
    กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) ช่วยในการผลัดเซลล์ผิวและลดการอุดตัน
  4. รักษาด้วยการทายา
    ยาปฏิชีวนะ เช่น มิโนไซคลีน (Minocycline) หรือ ด็อกซีไซคลิน (Doxycycline) ใช้เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว
    ยาคุมกำเนิด สามารถช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย ลดการเกิดสิวได้
  5. แผ่นแปะสิว
    แผ่นแปะสิวมีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำมันและแบคทีเรีย ช่วยลดการอักเสบ ป้องกันการสัมผัส ทำให้สิวยุบตัวเร็วขึ้น และลดรอยแดง นอกจากนี้ยังใช้งานง่าย เพียงแค่แปะลงบนสิวก็สามารถดูแลได้ทันที อย่างไรก็ตาม แผ่นแปะสิวเหมาะสำหรับสิวอักเสบมากกว่าสิวอุดตันหรือสิวหัวดำ และควรเลือกชนิดที่เหมาะสมกับสภาพผิว การใช้แผ่นแปะสิวควบคู่กับการดูแลผิวที่ถูกวิธีจะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
  6. ปรึกษาแพทย์ผิวหนัง
    ถ้าคนไข้มีสิวที่หู แม้จะดูแลความสะอาดเป็นอย่างดีแล้ว แต่สิวยังคงไม่หาย หรือทำให้คนไข้รำคาญใจมาก ควรไปพบแพทย์ผิวหนัง เพราะแพทย์ผิวหนังจะเป็นผู้เชี่ยวชาญที่สามารถวินิจฉัยหาสาเหตุของสิวที่หูได้อย่างถูกต้อง และแนะนำวิธีการรักษาสิวที่เหมาะสมกับคนไข้ที่สุด
    การไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด จะช่วยป้องกันไม่ให้สิวลุกลาม และลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้

ชนิดสิวที่ขึ้นบ่อยบริเวณหู

ชนิดสิวที่ขึ้นบริเวณหู

สิวที่หูอาจดูเหมือนเป็นปัญหาเล็กน้อย แต่ก็สร้างความรำคาญและส่งผลต่อความมั่นใจได้ไม่น้อย มารู้จักกับชนิดของสิวที่พบได้บ่อยบริเวณหู ดังนี้

  • สิวอุดตันสิวที่หู ซึ่งเกิดจากการสะสมของเซลล์ผิวที่ตายแล้วและน้ำมันในรูขุมขน ทำให้เกิดตุ่มนูนที่อาจพัฒนาเป็นสิวอักเสบได้
  • สิวหัวดำสิวที่หู เป็นสิวอุดตันที่มีหัวเปิด โดยน้ำมันและเซลล์ผิวที่ตายแล้วสัมผัสกับออกซิเจน ทำให้เปลี่ยนสีเป็นดำ
  • สิวตุ่มแดงสิวที่หู เป็นสิวอักเสบที่ไม่มีหัว มักทำให้รู้สึกเจ็บเมื่อสัมผัส
  • สิวหัวหนองสิวที่หู จะมีลักษณะเป็นตุ่มนูนมีหนองสีขาวตรงกลาง และมีผิวสีแดงรอบ ๆ
  • สิวอักเสบสิวที่หู เป็นก้อนขนาดใหญ่ใต้ผิวหนัง อาจทำให้รู้สึกเจ็บปวด
  • สิวหัวช้างสิวที่หู เป็นสิวอักเสบที่อยู่ชั้นผิวหนังด้านล่าง มีลักษณะเป็นก้อนนูนแดง
  • สิวเสี้ยนสิวที่หู เป็นรูปแบบหนึ่งของสิวอุดตันที่มักพบในบริเวณที่มีรูขุมขนมาก
  • สิวยีสต์สิวที่หู ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อมรูขุมขนจากเชื้อราประเภทยีสต์ มักทำให้เกิดตุ่มแดงและมีอาการคัน

วิธีการป้องกัน มีวิธีอะไรบ้าง

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสิวที่หู หรือลดปัญหาสิวซ้ำ ๆ นั้น เราสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

  1. การรักษาความสะอาดของหู
    การรักษาความสะอาดหูเป็นประจำเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันปัญหาหูต่าง ๆ เช่น การอักเสบ การติดเชื้อ และการสะสมของขี้หูมากเกินไป ควรเช็ดทำความสะอาดบริเวณใบหูและรอบ ๆ หูด้วยผ้าสะอาดชุบน้ำอุ่นบิดหมาด ๆ อย่างสม่ำเสมอ สำหรับภายในหู ไม่ควรใช้สำลีหรือวัตถุอุปกรณ์แคะหูในการแชะลึกเข้าไป เพราะอาจผลักดันขี้หูให้เข้าไปอุดตันมากขึ้น
  2. ทำความสะอาดของใช้ส่วนตัว
    การทำความสะอาดของใช้ส่วนตัวที่สัมผัสกับหูเป็นขั้นตอนสำคัญในการป้องกันการเกิดสิว ไม่ว่าจะเป็นหูฟัง หมวก หมอน ต่างหู หรือแม้แต่โทรศัพท์มือถือ หากไม่ได้รับการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ ก็จะกลายเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรีย ไรฝุ่น และสิ่งสกปรกต่าง ๆ ซึ่งเมื่อสัมผัสกับผิวหนังบริเวณใบหูและรูหู ก็อาจก่อให้เกิดสิวอุดตันหรือการติดเชื้อได้
  3. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม
    การเลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวก็สำคัญไม่แพ้กัน ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิว ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง และปราศจากสารที่อุดตันรูขุมขน เช่น พาราเบน ซิลิโคน น้ำมัน และสีสังเคราะห์ ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับผิวที่มีสิวมักจะมีคำว่า “non-comedogenic” หรือ “oil-free” ระบุอยู่บนฉลาก

เมื่อมีสิวที่หูควรดูแลผิวอย่างไรดี

ดูแลผิวอย่างไรเมื่อเป็นสิวที่หู
  • ล้างหูให้สะอาด ใช้น้ำสะอาดและสบู่อ่อน ๆ ทำความสะอาดรอบใบหูและภายในหูอย่างน้อยวันละครั้ง เพื่อลดการสะสมของแบคทีเรียและสิ่งสกปรกที่อาจทำให้เกิดสิว
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัส หลีกเลี่ยงการจับหรือสัมผัสบริเวณที่เป็นสิว เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดการอักเสบมากขึ้น
  • ไม่บีบหรือแกะสิว การบีบหรือแกะสิวอาจทำให้เกิดการติดเชื้อและแผลเป็นได้
  • รับประทานอาหารที่ดี ควรเลือกอาหารที่มีไขมันต่ำ เช่น ผัก ผลไม้ และธัญพืช เพื่อช่วยลดความมันในร่างกาย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสิวที่หู (FAQs)

สิวที่หู เจ็บและปวดมาก เพราะสาเหตุอะไร แก้ยังไงดี?

สิวที่หู สาเหตุหลักมาจากการอุดตันของรูขุมขนที่เกิดจากเซลล์ผิวหนังและน้ำมันส่วนเกิน รวมถึงการสะสมของแบคทีเรีย การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือการแพ้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว การรักษาสิวที่หูทำได้โดยการทำความสะอาดหูอย่างสม่ำเสมอด้วยสบู่อ่อน ๆ หลีกเลี่ยงการบีบหรือเกาสิว และอาจใช้ยาที่แพทย์สั่ง

สิวที่หูอันตรายไหม?

สิวที่หูโดยทั่วไปไม่ถือว่าเป็นอันตราย แต่สามารถสร้างความไม่สบายตัวและเจ็บปวดได้ โดยเฉพาะเมื่อมีการอักเสบหรือเกิดหนอง ซึ่งอาจทำให้รู้สึกเจ็บเมื่อสัมผัสหรือเคลื่อนไหว

มีตุ่มที่ติ่งหูคืออะไร? ใช่สิวหรือไม่?

สิวที่ติ่งหูก้อนแข็ง ๆ ที่ติ่งหู อาจเป็นก้อนไขมันอุดตันหรือสิวที่เกิดจากการสะสมของสิ่งสกปรก เชื้อแบคทีเรีย หรืออาจเกิดจากการแพ้ต่างหูก็ได้ ปกติแล้วสิวหรือก้อนไขมันเหล่านี้มักจะยุบหายไปเองได้ แต่ถ้าไม่หายไปนาน อาจต้องพบแพทย์เพื่อตรวจสอบเพิ่มเติม

สิวที่หูบีบได้ไหม?

สิวที่หู บีบไม่ได้ เพราะการบีบสิวจะทำให้แบคทีเรียเข้าสู่รูขุมขนมากขึ้น ทำให้สิวอักเสบรุนแรงขึ้น เกิดหนอง และอาจทิ้งรอยแผลเป็นได้ หากสิวที่หูของคนไข้มีอาการรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม

สิวที่หูหายเองได้ไหม

สิวในหูส่วนใหญ่มักหายได้เอง แต่ถ้าอยากให้หายเร็วขึ้น สามารถใช้ครีมปฏิชีวนะหรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ทาบริเวณที่เป็นสิวได้ สิวอาจเกิดขึ้นได้ทั้งที่ใบหู หลังหู หรือแม้แต่ในช่องหู แม้จะดูน่ารำคาญและอาจเจ็บได้เล็กน้อย แต่โดยทั่วไปแล้วสิวจะหายไปเองได้

สรุป

สิวที่หูเป็นปัญหาที่เกิดจากหลายปัจจัย ทั้งจากความไม่สะอาด การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสม การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และความเครียด การดูแลรักษาที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เริ่มจากการรักษาความสะอาดของหูและอุปกรณ์ส่วนตัว หลีกเลี่ยงการแกะหรือบีบสิว และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผิว หากสิวยังคงเป็นปัญหาอย่างต่อเนื่อง การปรึกษาแพทย์ผิวหนังเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง การป้องกันและดูแลอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ผิวบริเวณหูสะอาดและปราศจากสิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่ลลิษาคลินิกมีทีมแพทย์ผิวหนังผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษาและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับสภาพผิวของคุณ โดยเฉพาะปัญหาสิวที่หู ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่อ่อนโยน หรือการรักษาด้วยเลเซอร์ เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้คุณมีผิวที่สะอาดและสุขภาพดี

แหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับข้อมูลสิวที่หู

verywellhealth. Pimples in the Ear: Symptoms, Causes, and Treatment. Kristin Hayes, RN.September 16, 2024. Leah Ansell, MD Medically reviewed .
https://www.verywellhealth.com/what-to-do-with-a-pimple-in-ear-4171778

healthline. Pimple in Ear: How It Happens and How to Treat It. Sarika Ramachandran, MD Medically reviewed — Elizabeth Connor Written.— April 25, 2023
https://www.healthline.com/health/beauty-skin-care/pimple-in-ear

By Laura Schober .April 25, 2024.health. Brendan Camp, MD. Why Pimples Form in the Ear.
https://www.health.com/pimple-in-ear-8559313

บทความโดย

ลลิษาคลินิก : คลินิกรักษาสิว ดูแลโดยแพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านผิวหนัง (ตจวิทยา) ที่พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลปัญหาผิว

ใครที่กำลังเผชิญปัญหาผิวหน้า เป็นสิว ทำให้รู้สึกไม่มั่นใจ สามารถเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้มากประสบการณ์ด้านผิวหนังที่ลลิษาคลินิกได้ ฟรี!! ที่ตั้งคลินิก เซ็นทรัลพระราม 9 ชั้น 9 (ติดบันไดเลื่อน)