คลินิกรักษาสิว โดยแพทย์โรคผิวหนังโดยเฉพาะ
กลากเกลื้อน คืออะไร? สาเหตุเกิดจาก มีวิธีป้องกันและรักษาอย่างไร

ปัญหาผิวหนังที่พบได้บ่อย “กลาก เกลื้อน” ที่ทำให้หลายคนหนักใจ ทั้งอาการคัน รอยด่าง และกังวลว่าจะรักษาหายหรือไม่? บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจถึงสาเหตุและอาการของกลากเกลื้อน พร้อมแนะนำวิธีรักษาที่ได้ผล ทั้งการใช้ยาและวิธีดูแลตัวเอง ที่สำคัญ ยังมีเคล็ดลับในการป้องกัน เพื่อไม่ให้ปัญหานี้กลับมากวนใจอีก!
กลาก คืออะไร
กลาก (Ringworm หรือ Tinea) เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อราในกลุ่ม เดอร์มาโตไฟต์ (Dermatophytes) โดยเชื้อราเหล่านี้สามารถเจริญเติบโตได้ในเคราติน (keratin) เคราตินเป็นโปรตีนที่พบในผิวหนังชั้นนอก เส้นผม และเล็บ ดังนั้นกลากจึงสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายส่วนของร่างกาย เช่น ผิวหนังทั่วไป หนังศีรษะ เท้า และเล็บ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง เชื้อสามารถแพร่กระจายในวงกว้างและติดต่อไปสู่คนอื่นได้อีก
สาเหตุ กลาก เกิดจากอะไร
กลากมีสาเหตุมาจาก เชื้อรา Dermatophytes เช่น Trichophyton, Microsporum และ Epidermophyton โดยเชื้อเหล่านี้มักเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอับชื้น เช่น บริเวณข้อพับ รักแร้ หรือง่ามเท้าที่มีเหงื่อออกมาก ทั้งนี้สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสโดยตรง ทั้งจากคนสู่คน สัตว์เลี้ยง เช่น หมา แมว หรือติดต่อผ่านของใช้ เช่น หวี เสื้อผ้า ผ้าขนหนูก็มักเป็นอีกวิธีแพร่เชื้อได้
ลักษณะและอาการของกลาก
อาการของโรคกลากจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบริเวณที่ติดเชื้อและความรุนแรงของโรค โดยลักษณะทั่วไปและอาการที่พบบ่อย ได้แก่
- มีผื่นวงแดง: ที่ขอบนูนเล็ก ๆ และมักมี ศูนย์กลางสีผิวปกติหรือดูดีขึ้นกว่าขอบ
- อาการคัน: มักมีอาการคันร่วมด้วย อาจคันมากหรือน้อยแตกต่างกันไป
- มีขอบชัดเจน: ลักษณะเป็นวงกลม (Ring-like lesion) โดยผื่นจะค่อย ๆ ขยายตัวออกเป็นวงกลมหรือวงแหวน มีขอบเขตชัดเจน ขอบผื่นมักจะนูนแดงเล็กน้อย และมีขุยหรือสะเก็ดสีขาวที่ขอบ
- มีตกสะเก็ดหรือหนังลอก: ที่บริเวณรอบๆ ผื่น อาจพบผิวหนังลอกเป็นแผ่น โดยเฉพาะในบริเวณที่อับชื้น เช่น ระหว่างนิ้วเท้า (ฮ่องกงฟุต) หรือในรอยพับต่าง ๆ ของร่างกาย
- หากเป็น กลากที่ศีรษะ (Tinea Capitis) หรือนิ้วเท้า (Tinea Pedis): จะมีอาการเพิ่มเติม เช่น ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ หรือนิ้วเท้าลอกเป็นขุย
เกลื้อน คืออะไร
เกลื้อน (Tinea versicolor หรือ Pityriasis versicolor) เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อราในกลุ่ม Malassezia furfur (หรืออีกชื่อคือ Pityrosporum ovale) ซึ่งเป็นเชื้อราที่ปกติอาศัยอยู่บนผิวหนังของคนเราอยู่แล้ว โดยเฉพาะบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก เช่น หน้าอก หลัง คอ และต้นแขน โดยทั่วไปเชื้อนี้จะไม่ก่อโรค หากมีปัจจัยส่งเสริม เช่น ความอับชื้น เหงื่อออกมาก หรือน้ำมันบนผิวหนังถูกผลิตมากผิดปกติ เชื้อราก็มักจะเจริญเติบโตกว่าปกติและส่งผลให้เกิดเกลื้อนได้
สาเหตุ เกลื้อน เกิดจากอะไร
เกลื้อนมีสาเหตุมาจาก เชื้อรา Malassezia furfur ที่เติบโตกว่าปกติ โดยมีปัจจัยกระตุ้น เช่น
- อากาศร้อนและชื้น
- เหงื่อออกมาก เช่น เวลาออกกำลังกายในหน้าร้อน
- ผิวหนังมีความมันสูง
- ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือใช้ยากดภูมิคุ้มกัน
- การดูแลความสะอาดผิดวิธี เช่น ไม่อาบน้ำให้เพียงพอหรือสวมใส่เสื้อผ้าที่อับชื้น
ลักษณะและอาการของเกลื้อน
ลักษณะและอาการของเกลื้อนค่อนข้างจำเพาะ โดยทั่วไปมักพบอาการดังนี้
- มีวงด่าง ที่มีสีผิดปกติ เช่น ขาว น้ำตาล หรือน้ำตาลแดง
- มีขอบไม่ชัดเจน และมักขึ้นเป็นหลาย ๆ จุด
- มีขุยละเอียด ที่สามารถขูดออกได้เมื่อใช้เล็บเกาเบา ๆ
- โดยทั่วไปมักพบเกลื้อนได้ บริเวณหน้าอก หลัง คอ และไหล่
- มักไม่มีอาการคัน หากมี ก็มักเป็นเพียงคันเล็ก ๆ เท่านั้น
สรุปกลาก VS เกลื้อน ต่างกันอย่างไร

3920_ea18a9-11> |
กลาก 3920_2756f1-20> |
เกลื้อน 3920_9bdfa8-63> |
สาเหตุ 3920_dc002e-1a> |
เชื้อรา Dermatophytes (เช่น Trichophyton, Microsporum) 3920_a6c104-60> |
เชื้อรา Malassezia furfur ที่มีอยู่แล้วตามผิวหนัง 3920_020683-32> |
ลักษณะและอาการ 3920_69c1c7-f0> |
เป็นวงแดง คัน ขอบนูน ศูนย์กลางสีจางหรือมีตกสะเก็ด 3920_c68951-0e> |
เป็นดวงสีขาว น้ำตาล หรือน้ำตาลแดง ไม่ค่อยคัน หากคันก็เล็กน้อย |
บริเวณที่พบได้บ่อย 3920_2b0e21-7c> |
พบได้ทั่วไป ทั้งศีรษะ ตัว เท้า 3920_ee7180-18> |
พบได้บ่อยที่หน้าอก หลัง คอ และไหล่ 3920_cdfd08-31> |
ปัจจัยส่งเสริม 3920_3a2e1f-89> |
ติดต่อได้จากคนหรือสัตว์เลี้ยง 3920_9adffc-22> |
เป็นเชื้อราที่มีอยู่แล้ว หากมีความอับชื้น เหงื่อออก หรือน้ำมันผิดปกติ จะเจริญเติบโตกว่าปกติ |
การติดต่อ 3920_3df36a-95> |
ติดต่อได้ (จากคนสู่คน, สัตว์เลี้ยง, สิ่งของใช้) |
ไม่ติดต่อ 3920_64d706-93> |
กลาก เกลื้อน และโรคเชื้อราบนผิวหนัง ต่างกันอย่างไร
โรคเชื้อราที่ผิวหนัง คือโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา โดยมีหลายประเภท เช่น กลาก, เกลื้อน, เชื้อราที่เล็บ, เชื้อราที่เท้า (ฮ่องกงฟุต), เชื้อราในร่มผ้า (สังคัง) ส่วน กลาก เป็นเชื้อราที่ติดต่อได้ แต่ เกลื้อน เป็นเชื้อราอยู่แล้วตามร่างกาย และไม่ติดต่อ
กลาก เกลื้อน รักษายังไง
การรักษากลากและเกลื้อนมี หลักการคล้ายกันคือใช้ยาต้านเชื้อรา แต่อาจมีความแตกต่างเล็กน้อยขึ้นอยู่กับ ชนิดของเชื้อราและความรุนแรงของโรค ที่สำคัญคือควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา อย่าเพิ่งซื้อยามาทาเอง โดยไม่รู้ว่าเป็นโรคอะไรจริง ๆ เพราะอาจส่งผลให้โรคลุกลามหรือมีผลข้างเคียงได้
วิธีรักษากลาก

กลากเกิดจากเชื้อรา Dermatophytes ซึ่งมักก่อให้เกิดอาการคันและมีลักษณะเป็นวงแหวนชัดเจน การรักษาแบ่งเป็น
- ใช้ยาทาเชื้อรา (Topical Antifungals):ใช้สำหรับกลากทั่วไปหรือมีพื้นที่เล็กๆ เช่น Clotrimazole, Miconazole, Ketoconazole, Terbinafine โดยทาวันละ 1–2 ครั้ง อย่างต่อเนื่อง 2–4 สัปดาห์ แม้รอยจะดูหายในระยะแรก เพื่อให้เชื้อราหมดไปจริง ๆ
- ยารับประทาน (Oral Antifungals): หากเป็นหลายจุดหรือเป็นวงกว้าง แพทย์อาจให้ ยารับประทานสำหรับกลากเป็นบริเวณกว้าง รุนแรง เรื้อรัง ที่หนังศีรษะ หรือติดเชื้อเล็บ เช่น Griseofulvin, Itraconazole, Fluconazole, Terbinafine
- ดูแลความสะอาดและความแห้ง: ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น หวีหรือผ้าขนหนูกับผู้อื่น
วิธีรักษาเกลื้อน

เกลื้อนเกิดจากเชื้อรา Malassezia ซึ่งเป็นเชื้อที่อยู่บนผิวหนังตามธรรมชาติ และมักทำให้เกิดผื่นด่างสีต่าง ๆ การรักษาเน้นที่การควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อ
- ใช้ยาทาเชื้อรา: เช่น คีโทโคนาโซล (Ketoconazole), โคลไตรมาโซล (Clotrimazole), ซีลีเนียมซัลไฟด์ (Selenium Sulfide) โดยทาทั้งบริเวณที่เป็นและรอบ ๆ อย่างสม่ำเสมอ 1–2 ครั้งต่อวัน อย่างน้อย 2–4 สัปดาห์
- ยารับประทาน: หากเป็นหลายจุดหรือเป็นซ้ำบ่อย ๆ หรือไม่ตอบสนองต่อยาทา แพทย์อาจให้ ยารับประทาน เช่น Fluconazole, Itraconazole
- ดูแลความสะอาดและความอับชื้น: เช่น อย่าให้เหงื่อออกมากเกินไป และสวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี
วิธีรักษากลากและเกลื้อนมีทั้ง ยาทาและยารับประทาน โดยขึ้นอยู่กับความรุนแรงและบริเวณที่เป็น หากดูแลตัวเองได้ถูกต้อง รักษาได้ต่อเนื่อง และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ โรคเชื้อราที่ผิวหนังเหล่านี้ก็สามารถหายได้อย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม หากมีข้อสงสัย ไม่แน่ใจว่าตัวเองเป็นอะไรหรือใช้ยาอะไรแล้วไม่ได้ผล อย่าลังเลที่จะมาปรึกษาหมอ เพื่อให้ได้วิธีรักษาที่ถูกต้องและปลอดภัย
โรคกลาก โรคเกลื้อน กี่วันหาย
โรคกลาก หากเป็นเพียงวงเล็ก ๆ โดยทั่วไปใช้ ยาทา 2–4 สัปดาห์ ก็มักจะเริ่มหายในที่สุด หากเป็นมากหรือหลายจุด อาจจำเป็นต้องใช้ ยารับประทาน 2–6 สัปดาห์
สำหรับโรคเกลื้อน หากเป็นเล็ก ๆ ใช้ยาทาหรือแชมพูฆ่าเชื้อรา 1–2 สัปดาห์ ก็มักจะหายในไม่ช้า หากเป็นวงกว้างหรือกลับเป็นซ้ำบ่อย ๆ อาจใช้ยารับประทาน 1–2 สัปดาห์ สิ่งสำคัญคืออย่าเพิ่งหยุดยาเร็ว ควรใช้ยาให้ครบตามระยะเวลาที่แพทย์แนะนำ เพื่อให้เชื้อราหมดจริง ๆ
การป้องกันไม่ให้เกิดกลาก เกลื้อน

สิ่งสำคัญในการป้องกันกลากและเกลื้อนคือ การรักษาความสะอาดและสุขอนามัยที่ดี รวมถึง การหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเชื้อรา ดังนี้
- รักษาความสะอาดร่างกายในทุก ๆ วัน โดยเฉพาะบริเวณซอกพับและข้ออับชื้น
- เช็ดตัวให้แห้งสนิทหลังอาบน้ำ อย่าให้มีความอับชื้นตกค้าง
- สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี ไม่รัดแน่น เพื่อป้องกันความอับชื้น
- หลีกเลี่ยงการใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น หวี ผ้าขนหนูกับผู้อื่น
- หากมีสัตว์เลี้ยง อย่าให้มีโรคเชื้อรา ควรตรวจสอบและรักษา หากพบว่าสัตว์เลี้ยงเป็นโรค
สรุป
โรคกลากและเกลื้อน เป็นโรคเชื้อราที่พบได้บ่อยและสามารถรักษาให้หายในที่สุด หากดูแลตัวเองได้ถูกต้อง ใช้ยาได้ต่อเนื่อง และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ ที่สำคัญคือ อย่าปล่อยทิ้งไว้เพราะอาจนำไปสู่การลุกลามหรือกลับมาเป็นซ้ำอีก
ใครที่กำลังประสบปัญหาโรคกลากหรือเกลื้อน และต้องการคำปรึกษาและการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ ลลิษาคลินิก มีทีมแพทย์พร้อมให้การดูแลและวินิจฉัยอย่างแม่นยำ เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับสภาพผิวและปัญหาของคนไข้ ช่วยให้ผิวกลับมามีสุขภาพดีได้อย่างรวดเร็ว
แหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับข้อมูลกลากเกลื้อน
Cleveland Clinic. (n.d.). Tinea Versicolor: Causes, Symptoms, Treatment & Prevention. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/17719-tinea-versicolor
DermNet NZ. (n.d.). Tinea corporis.
https://dermnetnz.org/topics/tinea-corporis
บทความโดย
ลลิษาคลินิก : คลินิกรักษาสิว ดูแลโดยแพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านผิวหนัง (ตจวิทยา) ที่พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลปัญหาผิว
ใครที่กำลังเผชิญปัญหาผิวหน้า เป็นสิว ทำให้รู้สึกไม่มั่นใจ สามารถเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้มากประสบการณ์ด้านผิวหนังที่ลลิษาคลินิกได้ ฟรี!! ทุกสาขา