สิวประจำเดือน คืออะไร มีลักษณะเป็นแบบไหน รักษาอย่างไร กี่วันถึงหาย

สิวประเดือนลักษณะอย่างไร ป้องกันและรักษาอย่างไรดี

สิวประจำเดือนปัญหาผิวที่ผู้หญิงหลายคนต้องพบเจอในช่วงก่อนและระหว่างการมีประจำเดือน ซึ่งมักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ทำให้เกิดการผลิตน้ำมันส่วนเกินในผิวหนัง และทำให้รูขุมขนอุดตัน จนเกิดเป็นสิวที่ไม่พึง​​ประสงค์ แต่ทุกท่านไม่ต้องกังวลไป ในบทความนี้เราจะมาแชร์เคล็ดลับที่จะช่วยป้องกันและรักษาสิวประจำเดือนได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว

สิวประจำเดือน คืออะไร

สิวประจำเดือน (Period Acne) คือสิวฮอร์โมนประเภทหนึ่ง ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย โดยเฉพาะในช่วงก่อนและระหว่างการมีประจำเดือน ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้นในช่วงก่อนมีประจำเดือน ซึ่งส่งผลต่อการผลิตน้ำมันของผิว
สิวประเภทนี้มักจะขึ้นในบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก เช่น คาง หน้าผาก และจมูก ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นและลดลงในช่วงวัยหมดประจำเดือน

สิวประจำเดือน เกิดจากสาเหตุอะไร

สิวประจำเดือนเกิดจากอะไร

สิวประจำเดือน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายในช่วงที่มีประจำเดือน เพราะในช่วงก่อนมีรอบเดือนประมาณ 1 สัปดาห์ ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) โปรเจสเตอโรน (Progesterone) รวมถึงเทสโทสเทอโรน (Testosterone) ก็มีส่วนในการกระตุ้นให้ต่อมไขมันใต้ผิวหนังผลิตน้ำมันส่วนเกินออกมา เมื่อน้ำมันที่ผลิตมากขึ้นอาจทำให้รูขุมขนอุดตัน ซึ่งส่งผลทำให้รูขุมขนอักเสบและเกิดสิวขึ้นทั่วใบหน้า

อาการและลักษณะของสิวประจำเดือนเป็นแบบไหน

สิวประจำเดือนมักแตกต่างจากสิวทั่วไปที่เกิดในช่วงเวลาอื่น โดยสิวชนิดนี้มักปรากฏบริเวณครึ่งล่างของใบหน้า เช่น คาง แก้ม กราม และลำคอ หรือในบางกรณีอาจเกิดในบริเวณ T-zone สิวในช่วงนี้มักเป็นตุ่มแดงอักเสบมากกว่าสิวหัวหนอง

สิวประจำเดือนเป็นสิวประเภทไหนได้บ้าง

สิวประจำเดือนเป็นสิวประเภทไหนบ้าง

สิวประจำเดือนสามารถเกิดได้ทั้งในรูปแบบของสิวอุดตันและสิวอักเสบขึ้นปะปนกัน โดยลักษณะของสิวที่พบบ่อยมีดังนี้

  1. สิวเมนส์ไม่มีหัว
  2. สิวอักเสบ
  3. สิวหัวดำ
  4. สิวหัวขาว
  5. สิวหัวหนอง
  6. สิวหัวช้าง
  7. สิวผด

สิวประจำเดือน มักจะเกิดขึ้นตรงไหนบ้าง

สิวประจำเดือนมักจะขึ้นตรงไหน

สิวประจำเดือน มักจะเกิดขึ้นในบริเวณที่มีต่อมไขมันใต้ผิวหนังมาก เช่น

  • สิวที่หน้าผาก : เป็นบริเวณที่มีต่อมไขมันจำนวนมาก ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการอุดตันได้ง่าย
  • สิวที่แก้ม : เนื่องจากฮอร์โมนที่กระตุ้นการผลิตน้ำมันในผิวหนังทำให้เกิดการอุดตันในรูขุมขนจนเปิดสิวบริเวณนี้ขึ้น
  • จมูกและข้างจมูก : เป็นพื้นที่ที่มีต่อมไขมันจำนวนมาก จึงเป็นจุดที่มักเกิดสิว
  • สิวที่คาง : เนื่องจากมีต่อมไขมันเยอะกว่าผิวหนังบริเวณอื่น
  • สิวกรอบหน้า : บริเวณคาง กราม และข้างแก้มเป็นจุดที่ฮอร์โมนมีผลกระทบชัดเจนมากที่สุด

สิวประจําเดือน กี่วันหาย

ระยะเวลาในการหายของสิวประจำเดือนจะแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสิวและวิธีการรักษาที่ใช้ โดยทั่วไปแล้วสิวประจำเดือนมักจะขึ้นก่อนประจำเดือนมาประมาณ 1 สัปดาห์ และสามารถหายไปภายใน 1-2 สัปดาห์หลังจากประจำเดือนมาแล้ว

วิธีรักษาสิวประจำเดือน

วิธีรักษาสิวประจำเดือน
  • ทำความสะอาดผิวหน้าอย่างอ่อนโยน
    การล้างหน้าด้วยคลีนเซอร์ที่เหมาะสมกับสภาพผิวจะช่วยขจัดความมันและสิ่งสกปรกที่อุดตันในรูขุมขน ช่วยป้องกันการเกิดสิว และอย่าลืมล้างหน้าทุกเช้า-เย็นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดการสะสมของแบคทีเรียและเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ช่วยให้ผิวแข็งแรงและสุขภาพดีอยู่เสมอ
  • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับคนเป็นสิว
    ควรเลือกใช้ครีมรักษาสิวที่มีส่วนผสมของ Salicylic Acid หรือ Benzoyl Peroxide จะช่วยลดอาการบวมและอักเสบ ทำให้สิวยุบและแห้งเร็วขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการบีบ แกะสิว
    การสัมผัสหน้าและการบีบสิว อาจทำให้สิวแย่ลงและเกิดรอยแผลเป็น ควรปล่อยให้สิวหายเองตามธรรมชาติหรือใช้ยาทารักษาที่เหมาะสม
  • นอนหลับให้เพียงพอ
    การนอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อวันช่วยรักษาสมดุลของร่างกายและป้องกันไม่ให้ฮอร์โมนแปรปรวน ซึ่งสามารถลดโอกาสการเกิดสิวในช่วงที่มีประจำเดือนได้
  • ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อผิว
    การทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน A, C และ E จะช่วยเสริมสร้างผิวให้แข็งแรงและลดการอักเสบของสิว เช่น ผัก ผลไม้ และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันหรือน้ำตาลสูง เพราะอาจกระตุ้นการเกิดสิวได้
  • ยาปรับฮอร์โมน
    หากสิวประจำเดือนรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อพิจารณาการใช้ยาที่ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน

วิธีการป้องกัน

วิธีป้องกันสิวประจำเดือน

ในช่วงที่มีประจำเดือน ผิวมักจะอ่อนแอและแพ้ง่าย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ไม่สมดุล ซึ่งอาจทำให้สิวเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าปกติ วันนี้เรามีเคล็ดลับการดูแลผิวในช่วงนี้ที่สามารถทำได้เป็นประจำ ดังนี้

  • พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาล แป้ง และไขมันสูง ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดสิวและทำให้เกิดการอักเสบในร่างกายมากขึ้น
  • ออกกำลังกายเบา ๆ เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดี และเพิ่มการหลังฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน (Endorphins)
  • หลีกเลี่ยงการใช้สกินแคร์บำรุงผิวที่มีเนื้อเหนอะหนะ เพราะจะยิ่งทำให้รูขุมขนเกิดการอุดตันและเพิ่มโอกาสในการเกิดสิว

ดูแลผิวดีแล้ว ทำไมถึงยังเป็นสิวประจำเดือน?

หลายคนอาจเคยประสบปัญหานี้ แม้จะทุ่มเทกับการดูแลผิวหน้าด้วยสกินแคร์หลายตัวแต่ผิวกลับยังมีปัญหาสิวเห่อในช่วงมีประจำเดือนอยู่บ่อย ๆ ซึ่งอาจเกิดจากการที่เกราะป้องกันผิวยังไม่แข็งแรงพอ การรักษาสมดุลของผิวจึงสำคัญไม่แพ้การบำรุงผิว การดูแลผิวด้วยสกินแคร์เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ แต่ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ เช่น ฮอร์โมน, อาหาร, ความเครียด หรือสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่กระตุ้นให้เกิดสิว

คำถามที่พบบ่อย Q&A

สิวประจําเดือนขึ้นตอนไหน

สิวประจำเดือนมักจะเกิดขึ้นประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน เนื่องจากในช่วงนี้ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ ออกมาสูงและมีการแปรปรวนอย่างรวดเร็ว และอาจเป็นจนกว่ารอบเดือนจะหมดไปและฮอร์โมนกลับมาสมดุล

สิวประจำเดือนอันตรายไหม

สิวประจำเดือนไม่อันตราย แต่สามารถสร้างความรำคาญและลดความมั่นใจได้ หากดูแลไม่ถูกวิธี เช่น การบีบหรือแกะสิว อาจทำให้เกิดการอักเสบรุนแรง จนเกิดเป็นรอยแผลเป็น หรือรอยแดง รอยดำตามมาได้

สิวประจำเดือนขึ้นก่อนเมนส์มากี่วัน

สิวประจำเดือน มักขึ้น ประมาณ 7-10 วันก่อนมีประจำเดือน เนื่องจากระดับฮอร์โมน โปรเจสเตอโรน และ เทสโทสเตอโรน เพิ่มสูงขึ้นในช่วงนี้

สรุป

สิวประจำเดือนเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย โดยมักจะเกิดในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ช่วงก่อนและระหว่างการมีประจำ ดังนั้น การปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังจะช่วยให้ได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมและผลลัพธ์ที่ดีกว่า แต่อย่างไรก็ตาม การดูแลตัวเองควบคู่ไปกับการรักษาจากแพทย์ยังก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยลดความรุนแรงของสิวประจำเดือนและลดโอกาสในการเกิดสิวประจำเดือนในอนาคตได้

แหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับข้อมูลสิวประจำเดือน

Medically reviewed by Sara Perkins, MD — Written by Adrienne Santos-Longhurst — Updated on June 26, 2023.
https://www.healthline.com/health/period-acne

clevelandclinic. July 26, 2023. Why You Get Acne Around Your Period.
https://health.clevelandclinic.org/period-acne

Reviewed by Kate Shkodzik, MD, Obstetrician and gynecologist. Updated 15 February 2021.
https://flo.health/menstrual-cycle/health/period/period-acne

บทความโดย

ลลิษาคลินิก : คลินิกรักษาสิว ดูแลโดยแพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านผิวหนัง (ตจวิทยา) ที่พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลปัญหาผิว

ใครที่กำลังเผชิญปัญหาผิวหน้า เป็นสิว ทำให้รู้สึกไม่มั่นใจ สามารถเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้มากประสบการณ์ด้านผิวหนังที่ลลิษาคลินิกได้ ฟรี!! ที่ตั้งคลินิก เซ็นทรัลพระราม 9 ชั้น 9 (ติดบันไดเลื่อน)