คลินิกรักษาสิว โดยแพทย์โรคผิวหนังโดยเฉพาะ
สิวขึ้นคาง เกิดจากอะไร? เป็นสิวที่คาง ซ้ำๆ มีวิธีป้องกันและรักษาอย่างไรบ้าง

สิวขึ้นคางเป็นปัญหาผิวพรรณที่หลายคนต้องพบเจอ และมักจะทำให้เกิดความกังวลใจ โดยเฉพาะเมื่อเกิดขึ้นในช่วงที่ต้องออกงานสำคัญหรือถ่ายรูป การรักษาสิวที่คางไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องใช้วิธีที่เหมาะสมและปลอดภัย เพื่อให้สิวหายเร็วและลดโอกาสการเกิดซ้ำ
ในบทความนี้ หมอตาลจะมาแนะนำวิธีรักษาสิวที่คางที่ได้ผลเร็ว และปลอดภัย พร้อมกับเคล็ดลับการป้องกันไม่ให้สิวกลับมาอีกครั้ง
สิวขึ้นคาง คืออะไร
สิวที่คาง (Acne on the chin) คือสิวที่เกิดขึ้นบริเวณคาง จัดอยู่ในกลุ่มโรคสิว (Acne Vulgaris) ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้ง สิวอุดตันหัวขาว, สิวอุดตันหัวดำ, สิวอักเสบ, สิวหัวหนอง หรือแม้แต่สิวฮอร์โมน ที่มักเกิดจากความแปรปรวนของฮอร์โมนในร่างกาย มักเกิดบริเวณคางและลามไปถึงกรอบหน้า เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเป็นตุ่มนูนบนผิวหนัง



สิวขึ้นคาง เกิดจากสาเหตุอะไร?
สิวขึ้นคางสามารถเกิดจากหลายสาเหตุ โดยสามารถแบ่งสาเหตุออกเป็น ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ดังนี้
ปัจจัยภายใน
- เกิดจากฮอร์โมนแปรปรวน
ฮอร์โมนเพศชาย เช่น เทสโทสเทอโรน (Testosterone) และแอนโดรเจน (Androgen) กระตุ้นต่อมไขมันให้ผลิตน้ำมันมากขึ้น ทำให้รูขุมขนอุดตัน เกิดสิวที่คาง โดยเฉพาะช่วงก่อนมีประจำเดือนหรือในผู้ที่มีภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล เช่น PCOS (ถุงน้ำรังไข่) - เกิดจากการอุดตันของรูขุมขน
ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากเกินไป ทำให้รูขุมขนอุดตันหากมีเซลล์ผิวที่ตายแล้วสะสมร่วมด้วย หากล้างหน้าไม่สะอาด หรือใช้เครื่องสำอางและสกินแคร์ที่อุดตันผิว ก็จะทำให้เกิดสิวอุดตันและสิวอักเสบ - เกิดจากพฤติกรรมการกิน
อาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวาน น้ำอัดลม และ ผลิตภัณฑ์จากนมวัว อาจกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมน ทำให้สิวขึ้นมากขึ้น นอกจากนี้ อาหารมันและของทอดยังทำให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้น - เกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอและความเครียด
การนอนดึกและความเครียดทำให้ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลสูงขึ้น กระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากขึ้น ทำให้เกิดสิวหรือทำให้สิวที่มีอยู่แย่ลง
ปัจจัยภายนอก
- เกิดจากการสัมผัสหน้าและคางบ่อย ๆ
การจับ แกะ เกาใบหน้า ทำให้เชื้อแบคทีเรียสะสม อาจทำให้เกิดสิวอุดตันหรือสิวอักเสบ - เกิดจากมลภาวะและสิ่งสกปรก
ฝุ่น ควัน และมลภาวะในแต่ละวัน หากล้างหน้าไม่สะอาดอาจทำให้รูขุมขนอุดตันและเกิดสิว โดยเฉพาะคนที่ต้องเผชิญกับมลภาวะบ่อย ๆ - เกิดจากสกินแคร์และเครื่องสำอางที่ไม่เหมาะกับผิว
ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมก่อให้เกิดการอุดตัน หรือสารระคายเคือง อาจทำให้เกิดสิวได้ - เกิดจากการใช้หน้ากากอนามัยเป็นเวลานาน
หน้ากากหมักหมมแบคทีเรียและเหงื่อ อาจทำให้เกิดสิวที่คาง หรือที่เรียกว่า “สิวมาสก์” - เกิดจากของใช้ที่สัมผัสใบหน้าโดยตรง
โทรศัพท์มือถือ หมอน ผ้าเช็ดหน้า หากไม่สะอาด อาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคที่ทำให้เกิดสิวที่คางได้
ประเภทสิวที่มักจะขึ้นที่คาง มีประเภทอะไรบ้าง?

สิวที่คาง สามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภท ตามลักษณะและอาการที่เกิดขึ้น ได้แก่
- สิวที่คางไม่มีหัว
สิวไม่มีหัวที่คาง สิวชนิดนี้จะไม่มีหัวให้เห็น เนื่องจากการอุดตันเกิดในชั้นลึกของผิวหนัง มักจะมีลักษณะเป็นตุ่มนูนแดง (Papule) อาจเกิดจากการอุดตันของรูขุมขนและการสะสมของเซลล์ผิว - สิวอักเสบที่คาง
สิวอักเสบที่คาง มักพัฒนาจากสิวอุดตันที่มีการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ผนังรูขุมขนแตก ซึ่งสามารถเกิดเป็นสิวหัวหนอง (Pustule) หรือมีอาการปวดร่วมด้วย ความรุนแรงของสิวอักเสบจะแตกต่างกันตามแต่ละบุคคล - สิวอุดตันที่คาง
สิวอุดตันที่คางเกิดจากการจับตัวของสิ่งตกค้างใต้ผิวหนัง โดยสามารถแบ่งออกเป็นสิวอุดตันหัวเปิด (สิวหัวดำ) และสิวอุดตันหัวปิด (สิวหัวขาว) หากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม อาจพัฒนาเป็นสิวอักเสบได้ - สิวผดที่คาง
สิวผดที่คางมีลักษณะเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ โดยทั่วไปจะไม่มีหัว สิวชนิดนี้มักเกิดกับคนที่มีผิวแพ้ง่าย โดยเฉพาะในสภาพอากาศร้อน เหงื่อออกเยอะ หรือเมื่อสัมผัสกับฝุ่นละออง มลภาวะ หรือการสวมใส่หน้ากากอนามัย อ่าน วิธีรักษาสิวผด เพิ่ม - สิวเสี้ยนที่คาง
สิววเสี้ยนที่คาง สิวเสี้ยนมักเกิดในคนที่มีรูขุมขนกว้าง โดยเส้นขนจำนวนมากจะสะสมไขมันและเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ทำให้เกิดสิวเสี้ยนที่คาง ลักษณะของสิวเสี้ยนคือจุดดำเล็ก ๆ หรือหนามแหลม ๆ ยื่นออกจากรูขุมขน คล้ายกับสิวหัวดำ อ่าน วิธีรักษาสิวเสี้ยน เพิ่มเติม
วิธีรักษาสิวขึ้นคาง

การรักษาสิวที่คางสามารถทำได้ทั้งวิธีที่ทำเองที่บ้านและวิธีทางการแพทย์ ขึ้นอยู่กับลักษณะและความรุนแรงของสิวที่เกิดขึ้น โดยสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่ม หมอได้อธิบายไว้ดังนี้ค่ะ
วิธีรักษาสิวที่คางด้วยตัวเอง
- งดสัมผัสหรือแกะสิว: หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือบีบสิว เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบและรอยแผลเป็นเพิ่มขึ้นจากการกระทำที่ไม่ระมัดระวัง
- ล้างหน้าด้วยผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน: ล้างหน้าวันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น เพื่อไม่ให้ผิวหน้าแห้งหรือผลิตน้ำมันมากเกินไป ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดสิว
- ทำความสะอาดเครื่องสำอางและผิวหน้า: เช็ดเครื่องสำอางที่ตกค้างออกอย่างสะอาด เพื่อป้อ งกันการอุดตันของรูขุมขนที่อาจทำให้เกิดสิว
- รักษาความสะอาดของเครื่องนอนและเครื่องใช้ส่วนตัว: เปลี่ยนปลอกหมอน ผ้าเช็ดหน้า และชุดนอนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมของสิ่งสกปรกที่อาจทำให้สิวขึ้น
- ใช้เจลแต้มสิว: เลือกใช้เจลที่มีสารโฮโดรคอลลอยด์ เพื่อดูดซับสิ่งสกปรกและไขมันที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดสิว และลดการอักเสบของสิว
- ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต: นอนหลับให้เพียงพอ ลดความเครียด ดื่มน้ำมาก ๆ และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงหรือของทอด เพื่อช่วยลดการเกิดสิว
วิธีรักษาสิวที่คางที่แพทย์ผิวหนังแนะนำ

- รักษาด้วยการใช้ยาทารักษาสิว
เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) ที่มีส่วนช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียสาเหตุของการเกิดสิวและช่วยลดการอักเสบของสิว ส่วนกรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) มีส่วนช่วยขจัดเซลล์ผิวเก่าที่ตายแล้วและลดการอุดตันในรูขุมขน ซึ่งทั้งสองตัวช่วยลดการเกิดสิวใหม่และรักษาสิวที่เกิดขึ้นแล้วได้ดี - รักษาด้วยการรับประทานยารักษาสิว
ยาปฏิชีวนะ เช่น ด็อกซี่ซัยคลิน (Doxycycline) หรือ เตตราซัยคลิน (Tetracycline) ช่วยลดการอักเสบและฆ่าเชื้อแบคทีเรียในผิวหนัง หากสิวไม่ตอบสนองต่อยาทาทั่วไป อาจต้องใช้ยาไอโสเตรติโนอิน (Isotretinoin) ซึ่งเป็นยาที่ช่วยลดการผลิตน้ำมันจากต่อมไขมันที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดสิว - รักษาด้วยการฉีดเมโสหน้าใส (Meso Facial)
การฉีดเมโสหน้าใสช่วยฟื้นฟูผิวและลดการอักเสบจากสิว โดยการใช้สารที่ช่วยกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวและขจัดสารพิษในผิวหน้า เทคนิคนี้ยังช่วยในการรักษาสิวผดและปรับสภาพผิวให้กระจ่างใสขึ้น โดยเห็นผลตั้งแต่ 3 วันหลังการทำ - รักษาด้วยกดสิวที่คาง
การกดสิวโดยแพทย์ช่วยเอาสิวอุดตันออกจากรูขุมขนได้อย่างปลอดภัยและถูกวิธี ซึ่งจะลดการเกิดการอักเสบที่อาจเกิดจากการบีบสิวเองที่บ้าน การกดสิวแบบมืออาชีพช่วยให้หัวสิวถูกเอาออกได้หมดโดยไม่ทิ้งรอยหรือแผลเป็น - รักษาด้วยฉีดสิวที่คาง
การฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เป็นวิธีที่ช่วยลดการอักเสบในสิวอักเสบอย่างรวดเร็ว โดยสามารถทำให้สิวยุบลงและลดอาการบวมแดงได้อย่างเห็นผล ช่วยลดความเสี่ยงจากแผลเป็นและการเกิดหลุมสิวที่อาจเกิดจากสิวที่อักเสบ - รักษาด้วยการทำเลเซอร์
การทำเลเซอร์ช่วยลดการเกิดสิวและรักษารอยแผลจากสิวได้ โดยพลังงานจากเลเซอร์จะช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ซึ่งช่วยให้ผิวหน้ากระจ่างใสและเรียบเนียนขึ้น เลเซอร์ยังช่วยขจัดสิวอุดตันและทำให้รอยดำจากสิวจางลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สิวขึ้นคางหายเองได้หรือไม่?
สิวขึ้นที่คางสามารถหายได้เองหากเป็นสิวที่มีอาการไม่รุนแรง เช่น สิวอุดตันที่ไม่อักเสบมาก หรือสิวที่เกิดจากฮอร์โมนชั่วคราว เช่น ในช่วงประจำเดือน ซึ่งในกรณีนี้การดูแลรักษาผิวหน้าให้สะอาดและหลีกเลี่ยงการสัมผัสสิวอาจช่วยให้สิวหายได้เอง
อย่างไรก็ตาม หากเป็นสิวที่มีอาการอักเสบ บวมแดง หรือเกิดขึ้นเรื้อรัง อาจต้องใช้การรักษาเพิ่มเติม เช่น การใช้ยาแต้มสิว หรือการปรึกษาแพทย์เพื่อการรักษาที่เหมาะสม เพราะหากปล่อยไว้อาจทำให้สิวลุกลามหรือมีแผลเป็นตามมา
วิธีป้องกัน

- เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าที่อ่อนโยน: เลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง และล้างหน้าให้สะอาดทั้งเช้าและเย็น
- ใช้สกินแคร์ที่เหมาะกับปัญหาผิว: เลือกสกินแคร์ที่ช่วยบำรุงและทำให้ผิวแข็งแรง
- หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางที่อุดตันรูขุมขน: ใช้เครื่องสำอางที่ไม่ทำให้เกิดการอุดตัน และควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่า “Non-comedogenic”
- ทากันแดดเป็นประจำ: เพื่อปกป้องผิวจากการถูกทำร้ายจากแสงแดดและป้องกันปัญหาผิวต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
- ดื่มน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอ: การดื่มน้ำให้เพียงพอและการนอนหลับที่เพียงพอช่วยให้ผิวแข็งแรงและสุขภาพดี
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์: ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจทำให้เกิดสิวที่คาง เช่น ของทอด นม และของหวาน
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์: การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์สามารถส่งผลเสียต่อผิว ทำให้เกิดสิวได้
- ไม่ใส่แมสก์ซ้ำ: ควรเปลี่ยนแมสก์ทุกวัน และหลีกเลี่ยงการใส่แมสก์ซ้ำเพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อโรคและการระคายเคืองต่อผิว
สรุป
การดูแลสุขภาพผิวหน้าที่ดีและการรักษาสิวที่คางเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันไม่ให้สิวเกิดขึ้นบ่อย ๆ การล้างหน้าสะอาด ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาพผิว และการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นการเกิดสิว เช่น ความเครียดหรือการใช้เครื่องสำอางที่อาจทำให้เกิดการอุดตัน สามารถช่วยลดการเกิดสิวที่คางได้
อย่างไรก็ตาม หากสิวขึ้นที่คางเกิดขึ้นเรื้อรังหรือมีอาการรุนแรง หมอแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผิวหนังเฉพาะทางเพื่อรับคำแนะนำการรักษาที่เหมาะสม และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาผิวหนังที่หนักขึ้นหรือทิ้งรอยแผลเป็นในอนาคต
แหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับข้อมูลสิวขึ้นคาง
medicalnewstoday.Medically reviewed by Cynthia Cobb, DNP, APRN, WHNP-BC, FAANP.Written by Jenna Fletcher. 6, 2023
https://www.medicalnewstoday.com/articles/325991
healthline.Medically reviewed by Cynthia Cobb, DNP, APRN, WHNP-BC, FAANP. Written by Corinne O’Keefe Osborn.April 10, 2023.
https://www.healthline.com/health/pimple-on-chin#prevention
บทความโดย
ลลิษาคลินิก : คลินิกรักษาสิว ดูแลโดยแพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านผิวหนัง (ตจวิทยา) ที่พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลปัญหาผิว
ใครที่กำลังเผชิญปัญหาผิวหน้า เป็นสิว ทำให้รู้สึกไม่มั่นใจ สามารถเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้มากประสบการณ์ด้านผิวหนังที่ลลิษาคลินิกได้ ฟรี!! ที่ตั้งคลินิก เซ็นทรัลพระราม 9 ชั้น 9 (ติดบันไดเลื่อน) และ เซ็นทรัลปิ่นเกล้า ชั้น 4