14 ตำแหน่งสิวบอกโรค ได้จริงไหม ? พร้อมข้อแนะนำการดูแล

ตำแหน่งสิวบอกโรค ได้จริงไหม

สิวไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อความมั่นใจเท่านั้น แต่ตำแหน่งของสิวสามารถบ่งบอกถึงสัญญาณบางอย่างเกี่ยวกับสุขภาพของเราได้อีกด้วย โดยมีการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่าสิวนั้นมีความเชื่อมโยงกับอวัยวะภายในของร่างกาย

การเข้าใจตำแหน่งที่สิวเกิดขึ้นสามารถช่วยให้ท่านหาวิธีการดูแลและรักษาที่เหมาะสมได้มากขึ้น ก่อนที่เราจะไปรู้ถึงสิวขึ้นตรงไหนบ่งบอกปัญหาสุขภาพอะไรบ้าง พวกเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าทำไมตำแหน่งสิวถึงบอกโรคได้ และสิวเกิดจากอะไรทำไมตำแหน่งสิวบอกโรคได้

หลายคนอาจเคยเห็นบทความออนไลน์ที่กล่าวว่า “ตำแหน่งสิวบอกโรคได้” ซึ่งเป็นแนวคิดที่มาจากศาสตร์การแพทย์แผนโบราณที่สืบทอดกันมา โดยเชื่อว่าตำแหน่งของสิวที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ในบริเวณเดิม สามารถบอกถึงความผิดปกติของอวัยวะภายในได้ อย่างไรก็ตาม ในมุมมองการแพทย์สมัยใหม่ ข้อสมมติฐานนี้ยังไม่มีหลักฐานยืนยันที่ชัดเจน

สิวเกิดจากสาเหตุอะไร ?

ตำแหน่งสิวเกี่ยวข้องกับโรคอย่างไร

ในมุมมองทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ การเกิดสิวส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการอุดตันของระบบต่อมไขมันในรูขุมขน แบคทีเรีย ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง หากมีปัจจัยกระตุ้นเพิ่มเติม เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย สิวก็อาจเกิดการอักเสบขึ้นมาได้

14 ตำแหน่งสิวบอกโรคปัญหาสุขภาพ อะไรบ้าง

14 ตำแหน่งสิวบอกโรค

สิวที่ขึ้นบนใบหน้ามักเป็นเรื่องที่กวนใจใครหลายคน แต่นอกจากจะสร้างความกังวลใจแล้ว หลายคนเชื่อว่าสิวอาจส่งสัญญาณถึงปัญหาสุขภาพในร่างกายได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นสิวบนใบหน้าหรือตำแหน่งอื่น ๆ บนร่างกาย ที่อาจสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพ มาดูกันว่า 14 ตำแหน่งที่สิวเกิดขึ้นสามารถบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพอะไรได้บ้าง

1. ตำแหน่งสิว บริเวณที่คอ

สิวที่คอ

สิวที่บริเวณคอ มักเกิดจากการที่ต่อมไขมันที่อยู่บริเวณคอผลิตไขมันมากเกินไป ทำให้เกิดการอุดตันของรูขุมขน จึงทำให้เกิดสิวอักเสบตามมาโดยไม่รู้ตัว

ตำแหน่งสิวที่ขึ้นบริเวณคอ อาจบ่งบอกได้ถึงปัญหาความไม่สมดุลในร่างกายได้ โดยเฉพาะในวัยรุ่นและผู้หญิงในช่วงมีประจำเดือน แต่ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าสิวที่คอเกี่ยวข้องกับโรคร้ายแรงแต่อย่างใด

2. ตำแหน่งสิว บริเวณที่หลัง

สิวที่หลัง

สิวที่บริเวณหลัง มักเกิดจากการเกิดจากการอุดตันของรูขุมขน ซึ่งเกิดจากการสะสมของผิวหนังที่ตายแล้ว เหงื่อ หรือสิ่งสกปรก เมื่อสิ่งเหล่านี้อุดตันรูขุมขน ทำให้เกิดการอักเสบและส่งผลให้เกิดสิวขึ้นได้
ตำแหน่งสิวที่ขึ้นบริเวณหลัง อาจบ่งบอกได้ถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ หรืออยู่ในช่วงที่มีประจำเดือน หรือช่วงวัยรุ่น หรือปัญหาความเครียด ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดสิวได้ เพราะเมื่อคุณรู้สึกเครียดหรือกังวล ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนที่เรียกว่า Cortisol ซึ่งจะกระตุ้นการทำงานของต่อมไขมัน

3. ตำแหน่งสิว บริเวณที่หูซ้ายและขวา และหลังหู

สิวที่หู

สิวที่บริเวณหู หลังหู ซ้ายและขวา มักเกิดจากการเกิดจากมักเกิดจากการล้างแชมพูไม่สะอาด การแพ้ผลิตภัณฑ์บำรุงผม หรือสิ่งสกปรกจากโทรศัพท์หรือหูฟัง เหงื่อสะสม หรือความเครียด

ตำแหน่งสิวที่ขึ้นบริเวณหู หลังหู ซ้ายและขวา อาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพของไต การที่สิวขึ้นบริเวณนี้อาจหมายถึงการที่ไตทำงานหนักหรือร่างกายขาดน้ำ ดังนั้น การดื่มน้ำให้เพียงพอและการลดอาหารที่มีความเค็มหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอาจช่วยลดการเกิดสิวบริเวณใบหูได้

4. ตำแหน่งสิว ขึ้นที่บริเวณคาง ใต้คาง

สิวที่คาง

สิวที่บริเวณคาง ใต้คาง มักเกิดจากฮอร์โมนและระบบสืบพันธุ์ จึงเรียกว่า “สิวฮอร์โมน” ซึ่งมักปรากฏช่วงก่อนรอบเดือนของผู้หญิง

ตำแหน่งสิวที่ขึ้นบริเวณคาง ใต้คาง อาจบ่งบอกถึงการทำงานผิดปกติของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ซึ่งอาจเกิดจากการทานอาหารรสจัดบ่อย ๆ หรือทานอาหารไม่ตรงเวลา พฤติกรรมเหล่านี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดแผลในกระเพาะและลำไส้

5. ตำแหน่งสิว ขึ้นที่บริเวณคิ้ว ระหว่างคิ้ว

สิวที่คิ้ว

สิวที่บริเวณคิ้ว ระหว่างคิ้วซ้ำ ๆ มักเกิดจากการอุดตันเนื่องจากการแต่งหน้าในชีวิตประจำวัน หรือการล้างหน้าที่หน้าไม่สะอาด ทำให้เกิดการสะสมของสิ่งสกปรก
ตำแหน่งสิวที่ขึ้นบริเวณคิ้ว ระหว่างคิ้ว อาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพตับ ที่ไม่สามารถล้างสารพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือการย่อยแลคโตส รวมถึงการทานอาหารรสจัดและการกินอาหารมื้อดึกบ่อย ๆ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวม

6. ตำแหน่งสิว ขึ้นที่บริเวณปาก รอบ ๆ ข้างริมฝีปาก มุมด้านซ้ายขวา และ เหนือริมฝีปาก

สิวที่ปาก

สิวที่ขึ้นบริเวณปาก มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือสิ่งสกปรกบนใบหน้า หรือการสวมหน้ากากอนามัยนานเกินไป

ตำแหน่งสิวที่ขึ้นบริเวณปาก บ่งบอกได้ถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย โดยเฉพาะในผู้หญิงที่อยู่ในช่วงประจำเดือน

7. ตำแหน่งสิว บริเวณหน้าผาก

สิวที่หน้าผาก

สิวที่ขึ้นบริเวณหน้าผาก มักเกิดจากการอุดตันของรูขุมขนเนื่องจากไขมันสะสม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงวัยรุ่นหรือมีรอบเดือน

ตำแหน่งสิวที่ขึ้นบริเวณหน้าผาก ยังเป็นสัญญาณเตือนถึงปัญหาในระบบการย่อยอาหาร กระเพาะปัสสาวะ และต่อมหมวกไต การรับประทานอาหารที่ไม่ดี รวมถึงความเครียดและการนอนหลับไม่เพียงพอ ซึ่งล้วนสามารถกระตุ้นการเกิดสิวในบริเวณนี้ได้

อ่านบทความเพิ่มเติม : สิวที่หน้าผาก เกิดจากอะไร สาเหตุปัญหา เป็นสิวที่หน้าผากไม่หายสักที

8. ตำแหน่งสิว บริเวณแก้มทั้งสองข้าง

สิวขึ้นแก้ม

สิวที่บริเวณแก้มทั้งสองข้าง เกิดจากการอุดตันของรูขุมขน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การสัมผัสใบหน้าบ่อยเกินไป หรือการรับประทานอาหารที่ไขมันหรือน้ำตาลสูง รวมถึงปัจจัยภายนอก เช่น มลพิษหรือผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ไม่เหมาะสม

ตำแหน่งสิวที่ขึ้นบริเวณแก้มทั้งสองข้าง ยังเป็นสัญญาณเตือนบ่งบอกปัญหาของระบบไซนัสและปอด โดยเฉพาะในผู้ที่สูบบุหรี่ แพ้ควันบุหรี่ หรือมีอาการหวัดเรื้อรัง

9. ตำแหน่งสิว บริเวณที่จมูก ใต้จมูก ข้างจมูก

สิวที่จมูก

สิวที่บริเวณจมูก ใต้จมูก ข้างจมูก มักเกิดจากความเครียดและการสะสมของความมัน โดยเฉพาะในผู้ที่มีผิวมัน ซึ่งมักจะมีความมันสะสมในบริเวณ T-zone ได้แก่ หน้าผาก จมูก และคาง
ตำแหน่งสิวที่ขึ้นบริเวณจมูก ใต้จมูก ข้างจมูก ยังเป็นสัญญาณเตือนบ่งบอกถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและระบบสืบพันธุ์ รวมถึงความดันโลหิตสูง และอาจบ่งบอกถึงผลกระทบจากฮอร์โมน เช่น ในช่วงมีประจำเดือน เข้าสู่วัยทอง หรือการใช้ยาคุมกำเนิด

10. ตำแหน่งสิวบริเวณ หน้าอก

สิวที่หน้าอก

สิวที่บริเวณหน้าอก เกิดจากการอุดตันของรูขุมขน การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกาย การเสียดสีหรืออับชื้นจากการใส่เสื้อผ้าชิ้นแน่น เหงื่อและความชื้น ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวบริเวณหน้าอกได้

ตำแหน่งสิวที่ขึ้นบริเวณหน้าอก สามารถบ่งบอกถึงปัญหาการทำงานของระบบสมองและหัวใจได้ นอกจากนี้ยังอาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพทางกายอื่น ๆ ที่เกิดจากความเครียด เช่น ความดันโลหิตสูงหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ

11. ตำแหน่งสิวบริเวณที่ ท้ายทอย

สิวที่ท้ายทอย

สิวที่บริเวณท้ายทอย มักเกิดจากการสะสมของไขมัน สิ่งสกปรก และเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว การใช้แชมพูหรือครีมที่ไม่เหมาะสม รวมถึงการสวมหมวกหรือผ้าคลุมศีรษะที่แน่นเกินไป

ตำแหน่งสิวที่ขึ้นบริเวณท้ายทอย บ่งบอกถึงปัญหาความเครียดหรือความไม่สมดุลในระบบภูมิคุ้มกัน และอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคผิวหนังบางชนิด เช่น โรคสิวหรือโรคเชื้อรา

12. ตำแหน่งสิว บริเวณรอบดวงตาซ้ายและขวา

สิวที่บริเวณรอบดวงตาซ้ายและขวา มักเกิดจากสิ่งสกปรกที่แว่นตาส่งผลทำให้เกิดการระคายเคืองและสิว อาการภูมิแพ้ หรือการดื่มน้ำไม่เพียงพอ

ตำแหน่งสิวที่ขึ้นบริเวณรอบดวงตาซ้ายและขวา ยังเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาการไหลเวียนของน้ำเหลืองที่ไม่ดีและการทำงานของไตที่ผิดปกติ หากไตทำงานไม่ดีหรือร่างกายขาดน้ำ อาจทำให้เกิดการสะสมของสารพิษในร่างกาย

13. ตำแหน่งสิว บริเวณขมับ

สิวที่ขมับ

สิวที่บริเวณขมับ มักเกิดจากการมีเหงื่อสะสมในบริเวณขมับ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย รวมถึงการใส่หมวกที่แน่นหรือปิดคลุมศีรษะอาจทำให้เกิดความอับชื้นและการสะสมของน้ำมันในบริเวณขมับ ซึ่งสามารถนำไปสู่การเกิดสิว

ตำแหน่งสิวที่ขึ้นบริเวณขมับบ่อย หรือรุนแรง อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความไม่สมดุลในระบบการทำงานของตับ หรือหากมีอาการรุนแรงมากขึ้น อาจหมายถึงโรคผิวหนังอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดการอักเสบและสิวได้

14. ตำแหน่งสิว บริเวณไรผม

สิวบริเวณไรผม

สิวที่บริเวณไรผม มักเกิดจากการอุดตันของผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม เช่น ครีมนวดผมและทรีทเมนต์ รวมถึงความมันส่วนเกินที่สะสมบริเวณหนังศีรษะ

ตำแหน่งสิวที่ขึ้นบริเวณไรผม ยังสามารถบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับความเครียด เนื่องจากความเครียดสามารถกระตุ้นการผลิตน้ำมันและทำให้เกิดสิวในบริเวณนี้ได้ด้วย

ตำแหน่งสิวในผู้หญิง บอกอะไร

สิวในผู้หญิง

ตำแหน่งของสิวในผู้หญิงสามารถบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้หลายอย่าง เช่น สิวที่คางอาจแสดงถึงความไม่สมดุลของฮอร์โมนในช่วงมีประจำเดือนหรือภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) ขณะที่สิวที่แก้มอาจเกิดจากการสัมผัสสิ่งสกปรกหรือปัญหาภูมิแพ้ สิวที่หน้าผากมักเกี่ยวข้องกับความเครียดหรือปัญหาการย่อยอาหาร การสังเกตตำแหน่งของสิวเป็นอีกหนึ่งวิธีในการสำรวจและเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้

ตำแหน่งสิวในชาย บอกอะไร

สิวในผู้ชาย

ตำแหน่งของสิวในผู้ชายสามารถบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้ เช่น สิวที่จมูกอาจชี้ถึงปัญหาหัวใจหรือระดับคอเลสเตอรอลสูง สิวที่คางและกรามสามารถแสดงถึงความไม่สมดุลของฮอร์โมนหรือเหงื่อที่มากเกินไป รวมถึงเป็นสัญญาณของการทำความสะอาดผิวที่ไม่เพียงพอหรือการสูบบุหรี่ที่ส่งผลโดยตรงต่อสภาพผิว การสังเกตตำแหน่งสิวจึงสามารถช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพและการรักษาความสะอาดได้

แนงทางและวิธีการรักษาสิว

วิธีการดูแลรักษา

ไม่ว่าสิวที่จะเกิดขึ้นบริเวณไหน ทั้งจากปัจจัยภายในหรือภายนอกร่างกาย เราควรเลือกวิธีรักษาให้เหมาะสม เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด เช่น การดื่มน้ำให้เพียงต่อร่างกายในแต่ละวัน ลดการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ ดูแลการทำความสะอาดผิวหน้าให้สะอาดและเลือกผลิตภัณฑ์บำรุงผิวให้เหมาะกับตนเอง รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้สุขภาพผิวดีขึ้นได้อีกด้วย

การเลือกใช้ยาทาหรือโฟมล้างหน้าที่มีส่วนผสมของ BHA (Salicylic Acid) หรือ AHA (Alpha Hydroxy Acid) ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาสิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ควรทดลองใช้ในปริมาณน้อยก่อนเพื่อดูว่าผิวตอบสนองอย่างไร และควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังหรือผู้เชี่ยวชาญหากสิวมีอาการรุนแรงหรือไม่ดีขึ้น

สรุป

สิวที่เกิดขึ้นบริเวณต่าง ๆ บนร่างกาย บางตำแหน่งหลายคนมีความเชื่อว่าอาจเป็นสัญญาณเตือนที่บ่งบอกปัญหาสุขภาพภายในตามความเชื่อของแพทย์แผนจีน ที่เชื่อว่าตำแหน่งของสิวสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพ อย่างไรก็ตาม เราสามารถป้องกันการเกิดสิวได้ด้วยการ พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด หมั่นดูแลสุขภาพ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้มีสุขภาพที่ดี และลดปัญหาสิวได้อีกเช่นกัน

แหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับข้อมูลตำแหน่งสิวบอกโรค

Morgan Rabach (June 22, 2020). What That Acne Spot on Your Face Means, According to Science. Healthline. https://www.healthline.com/health/beauty-skin-care/pimple-acne-face-map

Synergywellness (November 11, 2022). Acne Face Mapping: What Can It Tell About Your Health? https://synergywellnesscenter.com/blog/face-mapping-for-acne/

บทความโดย

ลลิษาคลินิก : คลินิกรักษาสิว ดูแลโดยแพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านผิวหนัง (ตจวิทยา) ที่พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลปัญหาผิว

ใครที่กำลังเผชิญปัญหาผิวหน้า เป็นสิว ทำให้รู้สึกไม่มั่นใจ สามารถเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้มากประสบการณ์ด้านผิวหนังที่ลลิษาคลินิกได้ ฟรี!! ที่ตั้งคลินิก เซ็นทรัลพระราม 9 ชั้น 9 (ติดบันไดเลื่อน)