คลินิกรักษาสิว โดยแพทย์โรคผิวหนังโดยเฉพาะ
สิว (Acne) สาเหตุ เกิดจากอะไร มีกี่ประเภท มีวิธีรักษาและป้องกันอย่างไร
สิวเป็นปัญหาที่หลายคนต้องเผชิญกันอยู่บ่อย ๆ จนรู้สึกรำคาญและไม่มั่นใจ สิวไม่เพียงแต่ทำให้ผิวหน้าดูไม่น่ามอง แต่ยังส่งผลกระทบต่อความมั่นใจในตัวเองอีกด้วย แต่คุณอาจยังไม่รู้ว่าพฤติกรรมบางอย่างที่ทำอยู่ทุกวันหรือปัจจัยจากภายในร่างกาย อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวขึ้นนั่นเอง
บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจสาเหตุของสิวและแนะนำวิธีรักษาที่เห็นผลเร็ว ให้ผิวของคุณกลับมาใสไร้สิวได้ในเวลารวดเร็ว
สิว (Acne) คืออะไร
สิว (Acne หรือ Acne Vulgaris) คือ ความผิดปกติของรูขุมขนและต่อมไขมันที่เกิดจากการอุดตันไขมันและเซลล์ผิวที่ตายแล้วในรูขุมขน โดยอาจมีการพัฒนาเป็นสิวอุดตันหรือสิวอักเสบได้ หากมีการติดเชื้อแบคทีเรียเพิ่มเติม โดยส่วนมากมักพบที่บริเวณใบหน้า คอ และลำตัวส่วนบน โดยเฉพาะในวัยรุ่นที่มีฮอร์โมนเพิ่มขึ้น โดยสิวอาจเกิดขึ้นได้จนถึงวัยผู้ใหญ่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ฮอร์โมน การดูแลผิว หรือพันธุกรรม
สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดสิว
สิวเกิดจากการที่รูขุมขนของเรามีต่อมไขมันอยู่ข้าง ๆ และการที่ต่อมไขมันผลิตน้ำมันออกมา เพื่อที่จะไปเลี้ยงผิว แต่ไม่สามารถขับออกจากรูขุมขนได้ ทำให้เกิดการอุดตันที่รูขุมขนจนเกิดเป็นสิว โดยอาจมีปัจจัยทั้งภายนอกและภายในของร่างกายที่ช่วยทำให้เกิดสิวได้ง่ายขึ้น
สาเหตุที่ทำให้เกิดสิว เกิดได้จากทั้งปัจจัยภายในและภายนอก โดยมีปัจจัยสาเหตุดังนี้
ปัจจัยภายในที่ทำให้เกิดสิว
- การอุดตันของรูขุมขน: เซลล์ผิวที่ตายแล้วและน้ำมันจากต่อมไขมันสะสมจนปิดกั้นรูขุมขน ทำให้เกิดสิวอุดตัน
- การผลิตน้ำมันจากต่อมไขมันผิดปกติ: ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากเกินไปหรือไม่สมดุล ส่งผลให้ไขมันสะสมในรูขุมขน
- เชื้อแบคทีเรีย: เชื้อ Cutibacterium acnes เจริญเติบโตในรูขุมขนที่อุดตัน ทำให้เกิดการอักเสบและกระตุ้นให้เกิดสิว
- การอักเสบของรูขุมขน: การสะสมของเซลล์ผิว ไขมัน และแบคทีเรียกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ส่งผลให้สิวกลายเป็นตุ่มบวมแดงและเจ็บ
ปัจจัยภายนอกที่ทำให้เกิดสิว
- ความเครียด
- การพักผ่อนไม่เพียงพอ
- การรับประทานบางชนิด
- การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสม มีส่วนทำให้เกิดการกระตุ้นการเกิดสิวได้
สิวมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
สิวมีหลายชนิด แต่สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ
สิวอักเสบ
- สิวอักเสบ คือ สิวที่มีลักษณะเป็นตุ่มนูนแดงเล็ก ๆ เมื่อแตะแล้วจะรู้สึกเจ็บ โดยส่วนมากจะเกิดจากสิวอุดตันหัวขาวที่ถูกเชื้อแบคทีเรียกระตุ้น
- สิวหัวหนอง คือ สิวที่มีลักษณะเป็นตุ่มบวมแดงขนาดใหญ่และมีหนองอยู่ด้านบนของสิว
- สิวหัวช้าง หรือ สิวซีสต์ คือ สิวที่มีลักษณะเป็นก้อนนูนแดง โดยจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ มีความแข็ง และข้างในมีหนองอยู่
- สิวฮอร์โมน เป็นสิวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงหรือความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย มักเกิดบริเวณหน้าผาก กราม และคาง
สิวไม่อักเสบ
- สิวอุดตัน เป็นสิวที่มีลักษณะเป็นตุ่มนูนออกมาบนผิวหนัง ทำให้ใบหน้าดูไม่เรียบเนียน โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- สิวหัวดำ หรือ สิวอุดตันหัวเปิด คือ สิวที่มีลักษณะเป็นหัวดำ แข็ง และสามารถมองเห็นหัวสิวได้จากภายนอก
- สิวหัวขาว หรือ สิวอุดตันหัวปิด คือ สิวที่มีลักษณะเป็นหัวขาว เล็ก และไม่สามารถมองเห็นหัวสิวได้จากภายนอก
- สิวเสี้ยน คือ สิวที่เกิดจากการอุดตันของรูขุมขนซึ่งมีการสะสมของน้ำมัน และเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว
- สิวผด คือ สิวที่มีลักษณะเป็นผื่นเล็ก ๆ สีแดง ซึ่งเป็นสิวที่พบได้มากเวลามีอากาศร้อนหรือเหงื่อออก
- สิวหิน หรือ สิวเม็ดข้าวสาร (Milia) คือสิวที่มีลักษณะเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีขาวหรือสีเหลืองอ่อน มีลักษณะแข็งคล้ายเม็ดข้าวสารใต้ผิวหนัง มักเกิดบริเวณผิวหน้า รอบดวงตา หรือหน้าผาก
บริเวณและตำแหน่งที่สิวมักจะขึ้นบ่อย
ตำแหน่งสิวแต่ละที่ส่วนมากมักขึ้นในบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก เช่น ใบหน้า บริเวณ T-Zone ได้แก่ หน้าผาก, จมูก, และคาง รวมถึงส่วนอื่น ๆ บนร่างกาย เช่น หลัง, หน้าอก และไหล่ สาเหตุสำคัญมาจากความมันส่วนเกิน เหงื่อ การอุดตันรูขุมขน และฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง พฤติกรรมที่กระตุ้นให้เกิดสิว เช่น การสัมผัสหน้า การใช้ผลิตภัณฑ์ที่อุดตันรูขุมขน หรือสวมเสื้อผ้าที่รัดแน่นไม่ระบายอากาศ
(อ่านข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งสิวเพิ่มเติม: สิวบอกโรค ได้จริงไหม ?)
วิธีรักษาสิว
การรักษาสิวสามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธีหลัก คือ การรักษาแบบธรรมชาติ และ การรักษาโดยแพทย์ผิวหนัง ซึ่งควรเลือกให้เหมาะสมกับระดับความรุนแรงของสิวแต่ละบุคคล ดังนี้
วิธีรักษาสิวแบบธรรมชาติ
วิธีการรักษาสิวแบบธรรมชาตินั้นมีความปลอดภัย และได้รับความนิยมสูง เห็นผลค่อนข้างชัดเจน โดยขอยก 5 ตัวอย่างตัวช่วยธรรมชาติในการลดการอักเสบและป้องกันการเกิดสิว
- น้ำผึ้ง: ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียและช่วยสมานแผล ใช้ทาบริเวณที่เป็นสิวเพื่อช่วยลดการอักเสบและฆ่าเชื้อ
- ว่านหางจระเข้: ช่วยในการปลอบประโลมผิว ลดการอักเสบ และเร่งการฟื้นฟูผิว
- ชาเขียว: มีสารต้านอนุมูลอิสระและมีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบ โดยการใช้ชาเขียวในรูปแบบสเปรย์หรือทาบนผิวสามารถช่วยลดสิวได้เป็นอย่างดี
- น้ำมันทีทรี (Tea Tree Oil): น้ำมันทีทรีช่วยในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและช่วยลดการอักเสบ สามารถใช้ทาบริเวณที่เป็นสิวได้โดยตรง
- มะนาว: มีกรดซิตริกที่ช่วยในการผลัดเซลล์ผิวและลดการเกิดสิว
วิธีรักษาสิวด้วยยาทาและยารับประทาน
- ยาทา
ยาทา คือ ยาที่มีส่วนผสมช่วยลดการอักเสบและควบคุมการผลิตน้ำมัน เช่น เบนซอยล์เพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide), กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid), และเรตินอยด์ (Retinoids) มักใช้ในการรักษาสิวอุดตันและสิวอักเสบ โดยเฉพาะในระยะสั้น ช่วยให้สิวแห้งและหายเร็วขึ้น พร้อมทั้งลดความเสี่ยงในการเกิดสิวใหม่ - ยารับประทาน
เช่น ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) หรือไอโซเตรติโนอิน (Isotretinoin) เหมาะสำหรับสิวที่รุนแรงหรือสิวที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาวิธีอื่น ๆ โดยช่วยลดการอักเสบและควบคุมการผลิตน้ำมันในผิวหนัง ทำให้สิวหายเร็วและลดการเกิดซ้ำ
หัตถการโดยแพทย์ผิวหนัง
- กดสิว คือ การใช้เครื่องมือดันหัวสิวออก เหมาะสำหรับผู้ที่มีสิวอุดตัน
- ฉีดสิว คือ การฉีดสารสเตียรอยด์ในกรณีสิวอักเสบหรือสิวหัวช้าง ช่วยลดการอักเสบและอาการบวมได้อย่างรวดเร็ว เป็นวิธีที่ใช้ในกรณีที่ต้องการผลลัพธ์อย่างรวดเร็ว ภายใน 2-3 วัน (อ่านข้อมูลเพิ่มเติม: ฉีดสิว คืออะไร?)
- เลเซอร์รักษาสิว คือ การใช้เลเซอร์ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ลดการอักเสบ ลดน้ำมันส่วนเกิน และปรับสภาพผิว โดยเหมาะสำหรับผู้ที่มีสิวอักเสบหรือรอยสิว
สิว มีวิธีการตรวจวินิจฉัยอย่างไร?
การวินิจฉัยสิวทำได้โดยการตรวจลักษณะของสิว เช่น สิวอุดตัน สิวอักเสบ หรือสิวซีสต์ และสอบถามประวัติสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลผิว และปัจจัยกระตุ้น เช่น อาหาร ความเครียด หรือการใช้ยา ในกรณีที่สิวรุนแรง แพทย์อาจตรวจเลือดหรือฮอร์โมนเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง ลลิษาคลินิก มีแพทย์ผิวหนังเฉพาะทางและเครื่องมือที่ทันสมัย พร้อมให้คำปรึกษาและวางแผนการรักษาอย่างปลอดภัย เพื่อให้ผิวคุณกลับมาสวยและสุขภาพดีอีกครั้ง
อ่านบทความเพิ่มเติม : ตรวจเชื้อสิว เหมาะกับใคร ราคาเท่าไหร่ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
มีวิธีการป้องกันอย่างไรบ้าง?
การป้องกันการเกิดสิวสามารถทำได้ดังนี้
- ล้างหน้าวันละ 2 ครั้งด้วยผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสและบีบสิว
- เลือกใช้เครื่องสำอางที่ไม่อุดตันรูขุมขน (Non-Comedogenic)
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารมันและของหวาน
- ดื่มน้ำและนอนหลับให้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงความเครียด
- เปลี่ยนปลอกหมอนและทำความสะอาดโทรศัพท์มือถือเป็นประจำ
เมื่อเป็นสิวควรดูแลผิวตัวเองอย่างไรดี
เมื่อเป็นสิวควรดูแลผิวเป็นพิเศษ โดยการล้างหน้าวันละ 2 ครั้งด้วยผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน ไม่บีบหรือแกะสิวเพื่อป้องกันการติดเชื้อและรอยแผลเป็น ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดสิวและไม่อุดตันรูขุมขน หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าและการใช้เครื่องสำอางที่มีน้ำมันมาก นอกจากนี้ ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังหากสิวไม่ดีขึ้นหรือเป็นสิวรุนแรงเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม
สิวอันตรายไหม?
สิวโดยทั่วไปไม่อันตราย แต่หากไม่ดูแลหรือรักษาอย่างถูกวิธี อาจทำให้เกิดการอักเสบหรือติดเชื้อ จนกลายเป็นสิวซีสต์หรือสิวหัวหนองที่มีความเจ็บปวดและเสี่ยงต่อการเกิดรอยแผลเป็น นอกจากนี้ สิวบางประเภทอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาฮอร์โมนหรือสุขภาพที่ต้องการการรักษาจากแพทย์
Q&A เรื่องสิว
ทำไมสิวจึงไม่หายง่าย ๆ ?
บางครั้งการที่สิวหายช้าหรือเป็นเรื้อรัง อาจเกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่ส่งผลทำร้ายผิว หรือจากการรักษาที่ไม่เหมาะสม การไม่ดูแลรักษาผิวอย่างถูกวิธีอาจทำให้สิวยังคงอยู่หรือไม่หายไปในระยะเวลาที่ควรจะเป็น
เป็นสิวแบบไหนจึงควรทานยา?
ควรทานยาเมื่อเป็นสิวที่มีความรุนแรง เช่น สิวอักเสบรุนแรง สิวซีสต์ หรือสิวที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาภายนอก ซึ่งอาจทำให้เกิดการอักเสบและเจ็บปวด หากสิวมีผลต่อจิตใจหรือความมั่นใจก็สามารถพิจารณาการใช้ยาได้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกยาที่เหมาะสมกับประเภทของสิว
ผิวไม่แข็งแรง เป็นสิวง่าย ดูแลอย่างไร?
หากผิวไม่แข็งแรงและเป็นสิวง่าย ควรใช้ผลิตภัณฑ์อ่อนโยนที่ไม่ทำให้ผิวแห้งหรือระคายเคืองและให้ความชุ่มชื้น หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าและเลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่อุดตันรูขุมขน ควรใช้ครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ
สิวสามารถหายเองได้หรือไม่?
สิวบางประเภท เช่น สิวอุดตันเล็กน้อย อาจหายเองได้หากรักษาความสะอาดผิวหน้าและไม่สัมผัสหรือแกะสิว เพราะโดยปกติร่างกายจะมีการผลัดเซลล์ผิวและสามารถขจัดสิวได้เองในบางกรณี แต่สิวที่มีอาการอักเสบหรือสิวหัวหนองมักไม่หายเองและอาจทำให้เกิดการติดเชื้อหรือแผลเป็น การรักษาที่เหมาะสมโดยแพทย์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
ทำไมบางคนถึงเป็นสิวมากกว่าคนอื่น?
การเกิดสิวมีปัจจัยหลายอย่าง ทั้งพันธุกรรม ฮอร์โมน การดูแลผิว และพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การกินอาหารมัน ๆ หรือความเครียด ทำให้บางคนมีแนวโน้มในการเกิดสิวมากกว่าคนอื่น
ทานวิตามิน ช่วยลดสิวจริงไหม?
การทานวิตามินมีส่วนช่วยทำให้การเกิดสิวลดน้อยลงได้ เนื่องจากการทานวิตามินจะเข้าไปช่วยลดความมันของผิว ลดการผลิตน้ำมันของต่อมไขมัน อีกทั้งอาหารเสริมวิตามินบางตัวยังมีสารช่วยต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นหนึ่งในตัวการที่ทำให้เกิดสิวได้
รอยสิวกี่วันหาย?
รอยสิวจะหายได้ภายใน 1-3 เดือน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสิวและการดูแลผิวหลังจากสิวหายไป บางครั้งอาจมีรอยแดงหรือรอยดำอยู่ หากดูแลอย่างถูกวิธี เช่น การใช้ครีมกันแดดและผลิตภัณฑ์ที่ช่วยฟื้นฟูผิว จะสามารถจางลงได้ภายใน 1-2 เดือน
กดสิวกับเลเซอร์รักษาสิวต่างกันอย่างไร?
การกดสิวและการทำเลเซอร์ล้วนเป็นวิธีที่รักษาสิวที่มีประสิทธิภาพ แต่มีความแตกต่างกัน โดยการกดสิวใช้เครื่องมือในการดันหัวสิวออก เหมาะสำหรับผู้ที่มีสิวอุดตัน ส่วนการเลเซอร์เป็นการใช้เลเซอร์ในการลดการอักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ลดน้ำมันส่วนเกิน และช่วยปรับสภาพผิว เหมาะสำหรับผู้ที่มีสิวอักเสบหรือรอยสิว
เลเซอร์สิวกี่ครั้ง สิวถึงจะหาย?
การเลเซอร์สิวนั้นช่วยทำให้สิวจางลงตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ และเมื่อมีการทำอย่างต่อเนื่อง 3-5 ครั้งขึ้น จะช่วยสร้างผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ และรอยสิวจางลงจนสภาพผิวกลับมาเรียบเนียนดังเดิม
มีอาการสิวเห่อขึ้นเต็มหน้า ทำอย่างไรดี?
หากสิวเห่อขึ้นเต็มหน้า ควรหยุดใช้ผลิตภัณฑ์ที่อาจทำให้ผิวระคายเคืองหรืออุดตัน และรักษาความสะอาดผิวหน้าโดยการล้างหน้าอย่างอ่อนโยน ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดการอักเสบ เช่น เจลหรือครีมที่มีเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์หรือกรดซาลิไซลิก หากอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม
แหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับข้อมูลสิว
Mayo Clinic. By Mayo Clinic Staff. July 20, 2024
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/acne/symptoms-causes/syc-20368047
niams. Last Reviewed: July 2023.
https://www.niams.nih.gov/health-topics/acne
clevelandclinic. Last reviewed on 01/04/2023.Medically Reviewed.
https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/12233-acne
บทความโดย
ลลิษาคลินิก : คลินิกรักษาสิว ดูแลโดยแพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านผิวหนัง (ตจวิทยา) ที่พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลปัญหาผิว
ใครที่กำลังเผชิญปัญหาผิวหน้า เป็นสิว ทำให้รู้สึกไม่มั่นใจ สามารถเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้มากประสบการณ์ด้านผิวหนังที่ลลิษาคลินิกได้ ฟรี!! ที่ตั้งคลินิก เซ็นทรัลพระราม 9 ชั้น 9 (ติดบันไดเลื่อน)